วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระลีลาวัดถ้ำหีบ เนื้อชิน สุโขทัย

 

พระลีลาวัดถ้ำหีบ เนื้อชิน สุโขทัย

พระลีลากรุ “วัดถ้ำหีบ” พบอยู่ในถ้ำวัดหีบเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2493 ต่อมาได้พบอีกภายหลัง ที่กรุวัดเขาพระบาทใหญ่ กรุวัดเขาพระบาทน้อย กรุวัดเขาเจดีย์งาม และกรุวัดเขาตะพาน เป็นพระพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินเผา

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ปางลีลาที่สวยงามมากที่สุด ประทับยืนบนอาสนะชั้นเดียวหนา พระพักตร์รูปผลมะตูม หันพระวรกายก้าวย่างไปทางซ้าย หันพระพักตร์ตรง ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระกรรณทอดอ่อนช้อย แนบพระปราง พระเกศาและพระเมาลีเป็นเม็ดกลม พระเกศเปลวเพลิงยอดแหลม พระศอเป็นลอนสองเส้น พระอุระนูนหนา ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดยาวถึงพระอุทร ชายจีวรคลุมถึงข้อพระบาท ปรากฏรอยผ้ารัดประคดเป็นริ้วสองเส้น พระกรขวาทอดลงอ่อนช้อยคล้ายงวงไอยรา พระพาหาซ้ายทอดลง หักพระกัประ พระกรยกขึ้น หงายพระหัตถ์ไปข้างหน้าแนบพระอุระ พระโสณีเรียวกลม พระบาทซ้ายประทับวางเต็มบนพื้น พระบาทขวาปลายนิ้วพระบาทแตะพื้น ส้นพระบาทยกเฉียง งอพระชงฆ์พองาม องค์พระประทับลีลาในกรอบนูนรูปใบข้าว และมีปีกยื่นออกไปเล็กน้อยสำหรับเนื้อดินเผา   

1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์เนื้อชิน ใช้ตะกั่วและดีบุก หลอมละลายผสมด้วยกัน เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ใช้ผ้าเนื้อหยาบมัดเป็นตุ้มกดคลึง ก่อนที่โลหะผสมจะเย็นแข็งตัว แคะออกจากแม่พิมพ์ ปาดขอบข้างออกให้พอดีกับกรอบหน้า ด้านหลังแอ่นเป็นท้องกระทะ มีลายผ้าเนื้อหยาบประปราย ผิวปรอทขาววับ(ความจริงเป็นดีบุก) เมื่ออกจากกรุใหม่ๆ จับต้องไม่ระมัดระวัง น้ำมัน-เหงื่อและขี้ไคลในมือจะเคลือบติดบนผิว ทำความสะอาดไม่เป็นและเก็บรักษาไม่ถูกต้อง ทำให้ผิวขาววับเปลี่ยนไป กลายเป็นผิวดำในที่สุดไม่กลับคืน
ขนาด กว้างฐาน 2.2 ซม. สูง 8.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์ยุคสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 อายุ 800 ปี เป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ เป็นพระเครื่องสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยช่างศิลป์หลวงสร้างถวาย เข้าพิธีพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญา ทรงมีพระประสงค์แจกจ่ายให้บรรดาข้าราช บริพารทั้งทหาร พลเรือนและประชาชน เป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษกและฉลองพระราชธานีของพระองค์เป็นมโหฬาร ส่วนอีกจำนวนหนึ่งโปรดให้บรรจุไว้ในกรุต่างๆ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
ปีพ.ศ.2493 ชาวจีนอายุกลางคนอาชีพขายมูลค้างค้าว ขึ้นไปสถานที่ตั้งวัดโบราณบนภูเขาเรียกว่า “วัดถ้ำหีบ” มีค้างคาวอาศัยในถ้ำจำนวนมาก เมื่อเข้าไปในถ้ำเก็บมูลค้างคาว ได้พบไหดินเผาใบเขื่องหลายใบวางอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบรรจุพระพิมพ์เต็มไห จึงลำเลียงออกมาบรรทุกเกวียนกลับบ้าน ได้พระพิมพ์ปางลีลานับหมื่นองค์ และหลบหนีไปพร้อมพระทั้งหมดเข้ากรุงเทพฯ นำไปจำหน่ายในสนามพระเครื่อง

พุทธคุณ ปลุกเสกโดยพระสงฆ์อรัญวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธรรม ให้มีความก้าวหน้า แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงและเมตตามหานิยม 



พระลีลา องค์อื่นๆ






พระลีลาวัดถ้ำหีบ เนื้อดินเผา สุโขทัย

  

พระลีลาวัดถ้ำหีบ เนื้อดินเผา สุโขทัย

พระลีลากรุ “วัดถ้ำหีบ” พบอยู่ในถ้ำวัดหีบเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2493 ต่อมาได้พบอีกภายหลัง ที่กรุวัดเขาพระบาทใหญ่ กรุวัดเขาพระบาทน้อย กรุวัดเขาเจดีย์งาม และกรุวัดเขาตะพาน เป็นพระพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินเผา

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ปางลีลาที่สวยงามมากที่สุด ประทับยืนบนอาสนะชั้นเดียวหนา พระพักตร์รูปผลมะตูม หันพระวรกายก้าวย่างไปทางซ้าย หันพระพักตร์ตรง ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระกรรณทอดอ่อนช้อย แนบพระปราง พระเกศาและพระเมาลีเป็นเม็ดกลม พระเกศเปลวเพลิงยอดแหลม พระศอเป็นลอนสองเส้น พระอุระนูนหนา ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดยาวถึงพระอุทร ชายจีวรคลุมถึงข้อพระบาท ปรากฏรอยผ้ารัดประคดเป็นริ้วสองเส้น พระกรขวาทอดลงอ่อนช้อยคล้ายงวงไอยรา พระพาหาซ้ายทอดลง หักพระกัประ พระกรยกขึ้น หงายพระหัตถ์ไปข้างหน้าแนบพระอุระ พระโสณีเรียวกลม พระบาทซ้ายประทับวางเต็มบนพื้น พระบาทขวาปลายนิ้วพระบาทแตะพื้น ส้นพระบาทยกเฉียง งอพระชงฆ์พองาม พระองค์คอดเล็กน้อย องค์พระประทับลีลาในกรอบนูนรูปใบข้าว และมีปีกยื่นออกไปเล็กน้อยสำหรับเนื้อดินเผา

1.วัสดุใช้สร้าง เนื้อดินละเอียดมีแร่ทรายเงินทรายทองผสมในเนื้อดิน ไม่มีเม็ดกรวด-ทรายขนาดใหญ่ แม้แต่แร่ดอกมะขาม เมื่อได้ส่วนผสมตามต้องการแล้ว กดลงในแม่พิมพ์ แคะออกปาดขอบให้มีปีกยื่นออกจากกรอบเล็กน้อย ตากในร่มให้แห้ง เผาไฟด้วยอุณหภูมิ 850 องศาขึ้นไป ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม ผิวเรียบ เนื้อละเอียดแห้งจัด แข็งแกร่ง คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีขาวนวล  มีจุดดำๆของแร่กรวดทรายละเอียด ทรายเงิน ทรายทอง จับอยู่บนผิวโดยทั่วไป ด้านหลังแบนมีลายมือ ขนาดภายในกรอบแม่พิมพ์ กว้างฐาน 2.2 ซม. สูง 8.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์ยุคสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 อายุ 800 ปี เป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ เป็นพระเครื่องสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยช่างศิลป์หลวงสร้างถวาย เข้าพิธีพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญา ทรงมีพระประสงค์แจกจ่ายให้บรรดาข้าราช บริพารทั้งทหาร พลเรือนและประชาชน เป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษกและฉลองพระราชธานีของพระองค์เป็นมโหฬาร ส่วนอีกจำนวนหนึ่งโปรดให้บรรจุไว้ในกรุต่างๆ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
ปีพ.ศ.2493 ชาวจีนอายุกลางคนอาชีพขายมูลค้างค้าว ขึ้นไปสถานที่ตั้งวัดโบราณบนภูเขาเรียกว่า “วัดถ้ำหีบ” มีค้างคาวอาศัยในถ้ำจำนวนมาก เมื่อเข้าไปในถ้ำเก็บมูลค้างคาว ได้พบไหดินเผาใบเขื่องหลายใบวางอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบรรจุพระพิมพ์เต็มไห จึงลำเลียงออกมาบรรทุกเกวียนกลับบ้าน ได้พระพิมพ์ปางลีลานับหมื่นองค์ และหลบหนีไปพร้อมพระทั้งหมดเข้ากรุงเทพฯ นำไปจำหน่ายในสนามพระเครื่อง

พุทธคุณ ปลุกเสกโดยพระสงฆ์อรัญวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธรรม ให้มีความก้าวหน้า แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงและเมตตามหานิยม 


พระลีลา องค์อื่นๆ






พระนางแขนอ่อน กรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย

 

พระนางแขนอ่อน กรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระวรกายเรียวยาว พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระกรรณยาวแนบพระปราง พระเกศาและพระเมาลีเรียบ พระเกศเปลวเรียวแหลม พระศอตื้น พระอุระกว้าง พระอุทรคอด ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา พระกรขวาทอดลงอ่อนช้อยคล้ายงวงไอยรา พระหัตถ์วางคว่ำกุมพระชานุลักษณะเข่าใน  พระพาหาและพระกรซ้ายโค้งพับเข้าใน พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาพับเข้าในหงายพระบาทบนพระชงฆ์ซ้าย องค์พระลอยองค์อยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วทรงสูงขยักเว้าเข้าในที่พระอังสาและพระเมาลี ด้านหลังอูมนูนเป็นคลื่น มีลายนิ้วมือ

1.วัสดุใช้สร้าง ดินละเอียดมีแร่ทรายเงินทรายทอง ผสมผงและว่านบดกรองละเอียด ใส่กาวและน้ำนวดให้อ่อนเหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อนกลมกดลงแม่พิมพ์ แคะออกปาดขอบข้าง ตากแห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ได้พระดินเผาสีแดงอ่อน เนื้อละเอียดแข็งแกร่ง ผิวเรียบ คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีเทาและผงดินปูนสีขาวติดตามซอก
ขนาด กว้างฐาน 2 ซม. สูง 3 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 อายุ 800 ปี ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ สร้างโดยช่างศิลป์หลวงตามบัญชาของผู้ปกครอง บรรจุกรุวัดมหาธาตุฯ และถูกค้นพบมาก่อนแต่ไม่มากนัก ถึงพ.ศ.2508 ได้มีพระพิมพ์นางแขนอ่อนขึ้นจากกรุวัดเจดีย์สูงอย่างมากมาย ทั้งชนิดเนื้อดินและเนื้อชิน ต่อมาพบพระจากพิมพ์นี้อีกที่กรุวัดเขาพระบาท และกรุวัดเจดีย์งามอีกแต่ไม่มากนัก มีพิมพ์เหมือนกันแยกไม่ออก จึงอนุโลมเรียก “กรุเจดีย์สูง” มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

พุทธคุณ แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระสมเด็จวัดระฆังฯ ผงขาวเนื้อกระเบื้อง พิมพ์ขนมเปียะ

 

พระสมเด็จวัดระฆังฯ ผงขาวเนื้อกระเบื้อง พิมพ์ขนมเปียะ (มีน้อยมาก หายาก) วัดระฆังโฆสิตาราม  ธนบุรี กรุงเทพมหานคร

พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งราบ ปางสมาธิ บนฐานชุกชี 3 ชั้น ชั้นบนทรงกระบอกยาวตัน ชั้นกลางเป็นแท่นขาสิงห์รูปคมขวาน ชั้นล่างเป็นแท่นแบนหนาปลายทั้งสองตัดสอบขึ้นบน องค์พระมีพระวรกายเรียวยาว พระพักตร์รูปไข่เรียบเกลี้ยง พระเศียรกลม พระเกตุมาลาเรียวยาวแหลมทะลุครอบแก้ว พระศอเป็นลำยาว พระพาหา-พระกรทอดโค้งลงเข้าใน พระหัตถ์วางประสานกันลักษณะทรงสมาธิ ผนังหลังองค์พระราบเรียบ ไม่มีเครื่องประดับตกแต่งอื่นใด ทั้งหมดรวมอยู่ในซุ้มครอบแก้ว เส้นหวายผ่าครึ่ง กรอบนอกเป็นกรอบกระจกสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ

1.วัสดุใช้สร้าง ผงหินปูนเปลือกหอยเผาเป็นหลัก ผงวิเศษทั้งห้าได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห และผงพุทธคุณ ข้าวสุกก้นบาตร อาหารคำไหนอร่อย ท่านคายออกมาผสม เกสรและเถ้าธูปบูชาพระทั้งหมดตากแห้ง นำมาคลุกเข้าด้วยกัน โขลกตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียว ใส่กาวหนังและน้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อนพอเหมาะ วางใส่ลงแม่พิมพ์กดทับด้วยวัสดุแผ่นเรียบให้เต็มพิมพ์ถอดออกหงายด้านขึ้นไม่ตัดขอบ ผึ่งในที่ร่มให้แห้งสนิท ได้พระพิมพ์ผงขาวเหมือนกระเบื้องโปนเลน แข็งแกร่ง ผิวเป็นมันวาว ใช้กล้องขยาย 10 เท่าส่องดูเห็นมวลสารเล็กละเอียด ได้แก่สีขาวของของปูนเปลือกหอย และดินสอพองของผงวิเศษทั้ง 5 สีขาวใสขุ่นจากข้าวสุก สีนำตาลจากเกสรดอกไม้ สีดำจากเถ้าธูป สีแดงสดเปลือกพริกจากอาหาร
ด้านหลังผิวเรียบเป็นมัน กรอบกลมรีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 x 5 ซม. เส้นขอบข้างแตกเป็นริ้วหนา 4 - 5 มม. กรอบกระจกสี่เหลี่ยม ขนาด กว้างฐาน 2.5 ซม. สูง 3.7 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลาง พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นศิลปะผสม 3 แบบประยุกต์เข้าด้วยกัน ได้แก่ ศิลปะทวาราวดีองค์พระครองจีวรแนบเนื้อ ไม่มีการตกแต่งใดๆทั้งองค์พระและนอกองค์พระ ศิลปะสุโขทัยได้แก่พระเกศเปลวยาวพริ้ว พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเรียวยาวสมส่วน เน้นองค์พระเป็นสำคัญ เป็นศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ได้แก่องค์พระประทับบนฐานชุกชีเป็นรูปสามเหลี่ยมทรงสูงเหมือนฉัตร ประดิษฐานภายในซุ้มครอบแก้ว เป็นเส้นหวายผ่าครึ่ง เส้นซุ้มชนิดนี้ไม่มีในสมัยใด
พระพิมพ์นี้สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ระหว่าง พ.ศ. 2409 – 2415 อายุถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2559 ประมาณ 134 – 150 ปี

พุทธคุณ แคล้วคลาด, เมตตามหานิยม, อธิษฐานทำน้ำมนต์รักษาโรค  


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ






พระสมเด็จวัดระฆังฯ เนื้อปูนปั้นผงตะไบทอง

 

พระสมเด็จวัดระฆังฯ เนื้อปูนปั้นผงตะไบทอง วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี กรุงเทพมหานคร

พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งราบ ปางสมาธิ บนฐานชุกชี 3 ชั้น ชั้นบนเป็นทรงกระบอกยาวตัน ชั้นกลางเป็นแท่นขาสิงห์รูปคมขวาน ชั้นล่างเป็นแท่นแบนหนาปลายทั้งสองตัดสอบขึ้นบน องค์พระมีพระวรกายเรียวยาว พระพักตร์รูปไข่เรียบเกลี้ยง พระเกตุมาลาเรียวยาวแหลมทะลุกรอบกระจก พระศอเป็นลำยาว พระพาหา-พระกรทอดโค้งลงเข้าใน พระหัตถ์วางประสานกันลักษณะทรงสมาธิ ผนังหลังองค์พระราบเรียบ ไม่มีเครื่องประดับตกแต่งอื่นใด ทั้งหมดรวมอยู่ในซุ้มครอบแก้ว เส้นหวายผ่าครึ่ง กรอบนอกเป็นกรอบกระจกสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ

1.วัสดุใช้สร้าง ผงหินปูนเปลือกหอยเผาเป็นหลัก ผงวิเศษทั้งห้าได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห และผงพุทธคุณ ผงตะไบทองคำที่ร้านทองนำมาถวายใช้โรยแม่พิมพ์ ดอกไม้แห้ง และเถ้าธูปบูชา คราบไคลปูนผนังผนังโบสถ์วิหาร ข้าวสุกก้นบาตร เนื้อกล้วยน้ำ ว่านมงคลทั้งหลายเหล่านี้ตากแห้ง นำมาคลุกเข้าด้วยกัน โขลกตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียว ใส่กาวหนังและน้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นกลึงเป็นเส้นกลมยาว ตัดเป็นท่อนผ่าครึ่ง วางใส่ลงแม่พิมพ์กดทับด้วยวัสดุแผ่นเรียบให้เต็มพิมพ์ ถอดออกหงายด้านขึ้น ตัดขอบสี่ด้านด้วยองมีคม ผึ่งในที่ร่มให้แห้งสนิท ได้พระพิมพ์ปูนปั้นแข็งแกร่ง น้ำหนักเบา ผิวหดเหี่ยวจากการผสมมวลสารหลากหลายชนิด ใช้กล้องขยาย 10 เท่าส่องดูเห็นมวลสารเล็กละเอียด เนื้อสีเหลืองอ่อนจากปูนเปลือกหอย และเนื้อกล้วยสีขาว และเป็นเม็ดโตผุดขึ้นบนผิวจากดินสอพองผงวิเศษทั้ง 5 สีทองจากผงตะไบทอง สีขาวใสขุ่นจากข้าวสุก สีนำตาลจากเกสรดอกไม้ สีดำจากเถ้าธูป สีขาวหม่นจากคราบไคลฝาผนังโบสถ์ ด้านหลังแบนเรียบผิวหดเหี่ยวเป็นเนื้อสังขยาจากการหดตัวของมวลสาร
ขนาด กว้างฐาน 2.3 ซม. สูง 3.5 ซม. หนา 4 มม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลาง พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นศิลปะผสม 3 แบบประยุกต์เข้าด้วยกัน ได้แก่ ศิลปะทวาราวดีองค์พระครองจีวรแนบเนื้อ ไม่มีการตกแต่งใดๆทั้งองค์พระและนอกองค์พระ ศิลปะสุโขทัยได้แก่พระเกศเปลวยาวพริ้ว พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเรียวยาวสมส่วน เน้นองค์พระเป็นสำคัญ เป็นศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ได้แก่องค์พระประทับบนฐานชุกชีเป็นรูปสามเหลี่ยมทรงสูงเหมือนฉัตร ประดิษฐานภายในซุ้มครอบแก้ว เป็นเส้นหวายผ่าครึ่ง เส้นซุ้มชนิดนี้ไม่มีในสมัยใด
พระพิมพ์นี้สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ระหว่าง พ.ศ. 2409 – 2415 อายุถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2559 ประมาณ 134 – 150 ปี

พุทธคุณ แคล้วคลาด, เมตตามหานิยม, รักษาโรค  


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ