พุทธลักษณะ องค์กลางคือพระพุทธเจ้า(มหายาน)มีพระนามว่า
อมิตาภะ ซึ่งอยู่ประจำทิศตะวันตกแดนสุขาวดี ปางนาคปรก พระวรกายล่ำเหมือนนักกล้าม
พระเสียรกลม พระเกศาผมหวีรวบเป็นมวยพระเมาลีครอบด้วยพระมาลายอดแหลมสามชั้น
พระเกศรูปดอกบัวตูม พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏแคบ พระขนงนูนเป็นเส้นโค้งยาวติดกัน
พระเนตรโปนเป็นเม็ด พระนาสิกแบน พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระศอแคบ
พระอุระกว้างใหญ่เหมือนนักกล้าม ทรงกรองศอเหนือพระอุระ พระอุทรคอด
ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุม พระพาหา-พระกรทอดโค้งลง พระหัตถ์ประสานกันลักษณะทรงสมาธิ
ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนอาสนะรูปพานยกสูงจากพื้น เบื้องหลังพระเศียรมีพญานาค 5
เศียรแผ่พังพานปรกอยู่ เบื้องขวาเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
แบ่งภาคมาจากพระอมิตาภะ เพื่อช่วยมนุษย์โลก
ประทับนั่งราบบนอาสนะรูปดอกบัวบานก้านยาว เชื่อมต่อกับก้านบัวอันแรกใต้อาสนะรูปพาน
ทั้งหมดรวมอยู่ในซุ้มประภามณฑลรูปกลีบบัว
กรอบในซุ้มเป็นเส้นลวดเล็กนูนขยักเว้าเป็นลอนโค้งข้างละ 5
ลอนข้างองค์พระและเศียรนาคปรก กรอบนอกเป็นเส้นนูนตื้นมีเส้นขีดเล็กสั้น
ขนานกันขึ้นไปถึงปลายยอดซุ้ม
ด้านหลังพระพิมพ์อูมนูนตรงกลาง กดแต่งโค้งลงบรรจบขอบพิมพ์ด้านหน้าได้พอดี
สันขอบบางเหมือนคมขวาน ไม่มีการตัดขอบ
1.วัสดุใช้สร้าง ดินเหนียวผสมกรวดทรายบดละเอียด,
ผงศิลาแลง, ข้าวสุกเป็นกาว โขลกตำผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว ใส่น้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน
ปั้นเป็นก้อน กดลงแม่พิมพ์ แคะออกหงายด้านหน้า ผึ่งในที่ร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ
850 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม ผิวเรียบ แข็งแกร่ง เนื้อหยาบเล็กน้อย
ด้านหลังมีแร่ดอกมะขาม และเม็ดกรวดทรายขนาดเล็กผุดขึ้นบนผิวประปรายทั่วไป
คราบไคลขี้กรุเป็นผลดินโคลนแห้งสีดำติดตามซอกลึกด้านหน้า
ขนาด กว้างฐาน 3.5 ซม. สูง 4.7 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พระพิมพ์ชนิดนี้
ในนิกายมหายาน นับถือกันมาก พระพิมพ์ดังกล่าว มีขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อายุ
900 ปี ได้รับศิลปะบายน ของขอม พบมากในเอเชียอาคเนย์ ประเทศกัมพูชา และขยายมาสู่สุวรรณภูมิและภาคกลางของประทศไทย
เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรียุคต้นร่วมสมัยกับศิลปะทวาราวดีตอนปลาย
สร้างโดนช่างฝีมือขอมโบราณ ที่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองรัฐละโว้ในภาคกลาง
นำศิลปะขอมเข้ามาเผยแพร่ เป็นต้นกำเนิดของศิลปะลพบุรี
และขยายอิทธิพลมายังนครปฐมด้วย มีหลักฐานการสร้างพระพิมพ์บรรจุกรุที่พระปฐมเจดีย์ที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน
พุทธคุณ แคล้วคลาด, คงกระพัน,หมาอุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น