วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม

 

 

 

พระสมเด็จ"พิมพ์เกศบัวตูม" วัดระฆังฯเป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่งดงามมาก ปรากฏมีน้อยมาก ลักษณะทั่วไปอยู่ในระหว่างพิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซมและ พิมพ์สังฆาฏิ ความงามของพิมพ์เกศบัวตูมนี้ มีความสง่างามกะทัดรัดในลักษณะเฉพาะตัวเป็นพิเศษ  กอปรด้วยพุทธลักษณะหลายแบบผสมกันแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นพุทธศิลป์อีกแบบหนึ่งพุทธลักษณะพิเศษของพิมพ์นี้คือ พระเกตุตุ้ม มิได้เนื่องมาจากความผึ่งผงาดเช่น พิมพ์พระประธาน หรือความนูนเด่นเน้นพุทธลักษณะเช่นพิมพ์เจดีย์ พุทธะลักษณะพิเศษของพิมพ์เกศบัวตูมนี้คือ "พระเกศตุ้ม"จึงเรียกว่า "พิมพ์เกตุบัวตูม"

พระเกศ
มีลักษณะ ๓ แบบ คือ แบบตุ้ม แบบจิ่ม(เล็ก) และแบบเรียว

พระศิระและวงพระพักตร์
มี ๓ แบบ คือ
แบบผลมะตูม แบบป้อม และ แบบตั๊กแตน

พระกรรณ (หู)
ด้านซ้าย ใบพระกรรณเรียวคมและบางมาก ปลายห้อยระย้าประพระอังสาซ้าย
ด้านขวา ใบพระกรรณหนากว่าเบื้องซ้าย แต่รางเลือนมาก

พระศอ
มี ๓ แบบ แบบลำ แบบชะลูด และ แบบกลืนหาย

พระอังสกุฎ (หัวไหล่)
ทั้งสองลู่น้อยๆไม่เป็นปมเขื่อง

ลำพระองค์
มี ๒ แบบ แบบทึบ และแบบโปร่ง

พระเพลา
มี ๒ แบบ แบบขัดสมาธิเพชร และแบบขัดสมาธิราบ

มูลสูตรพระอาสนะ
๑.เส้นขีดแซมบน จะมีปรากฏเสมอทุกแบบพิมพ์
๒.ฐานชั้นบน หรือหน้ากระดานตัวบน มีสัณฐานนูนหนามาก
๓.เส้นขีดแซมล่าง คือบัวลูกแก้ว รางเลือนมาก
๔.ฐานชั้นกลาง ฐานสิงห์ มีช่วงแคบหรือสั้นกว่าฐานชั้นบน
๕.ฐานชั้นล่าง หรือหน้ากระดานตัวล่าง มีช่วงกว้างล้ำแนวหัวฐานชั้นกลางและหัวฐานชั้นบนออกมามากอย่างสังเกตได้ขัด

จำแนกพระอาสนะ
มี 2 แบบ แบบโปร่ง และแบบทึบ

ซุ้มประภามณฑล
เส้นซุ้มมีความหนาค่อนข้างมาก ทรวดทรงได้สัดส่วน มักจะไม่โย้แป้วหรือย้วย มากนัก

สัณฐานมิติ
โดยเกณฑ์เฉลี่ยดังนี้
๑.ความกว้าง(กรอบล่าง)
ประมาณ ๒.๒๐-๒.๔๐ซม.
๒.ความสูง(แนวดิ่ง)
ประมาณ๓.๓๐-๓.๔๐ซม.
๓.ความหนา(ขอบ)
ประมาณ ๐.๔๐-๐.๕๕ซม.

การจำแนกแบบพิมพ์
พิมพ์เกตุบัวตูมจำแนกได้ 5 พิมพ์
1.พิมพ์เขื่อง
2.พิมพ์โปร่ง
3.พิมพ์สันทัด
4.พิมพ์ย่อม
5.พิมพ์เกตุบัวเรียว


ที่มา ตรียัมปวาย


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น