พระสมเด็จวัดระฆังฯ เนื้อปูนปั้นผงตะไบทอง วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งราบ ปางสมาธิ บนฐานชุกชี 3
ชั้น ชั้นบนเป็นทรงกระบอกยาวตัน ชั้นกลางเป็นแท่นขาสิงห์รูปคมขวาน
ชั้นล่างเป็นแท่นแบนหนาปลายทั้งสองตัดสอบขึ้นบน องค์พระมีพระวรกายเรียวยาว
พระพักตร์รูปไข่เรียบเกลี้ยง พระเกตุมาลาเรียวยาวแหลมทะลุกรอบกระจก พระศอเป็นลำยาว
พระพาหา-พระกรทอดโค้งลงเข้าใน พระหัตถ์วางประสานกันลักษณะทรงสมาธิ
ผนังหลังองค์พระราบเรียบ ไม่มีเครื่องประดับตกแต่งอื่นใด
ทั้งหมดรวมอยู่ในซุ้มครอบแก้ว เส้นหวายผ่าครึ่ง กรอบนอกเป็นกรอบกระจกสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ
1.วัสดุใช้สร้าง ผงหินปูนเปลือกหอยเผาเป็นหลัก
ผงวิเศษทั้งห้าได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห และผงพุทธคุณ ผงตะไบทองคำที่ร้านทองนำมาถวายใช้โรยแม่พิมพ์
ดอกไม้แห้ง และเถ้าธูปบูชา คราบไคลปูนผนังผนังโบสถ์วิหาร ข้าวสุกก้นบาตร เนื้อกล้วยน้ำ
ว่านมงคลทั้งหลายเหล่านี้ตากแห้ง นำมาคลุกเข้าด้วยกัน โขลกตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียว
ใส่กาวหนังและน้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นกลึงเป็นเส้นกลมยาว
ตัดเป็นท่อนผ่าครึ่ง วางใส่ลงแม่พิมพ์กดทับด้วยวัสดุแผ่นเรียบให้เต็มพิมพ์ ถอดออกหงายด้านขึ้น
ตัดขอบสี่ด้านด้วยองมีคม ผึ่งในที่ร่มให้แห้งสนิท ได้พระพิมพ์ปูนปั้นแข็งแกร่ง
น้ำหนักเบา ผิวหดเหี่ยวจากการผสมมวลสารหลากหลายชนิด ใช้กล้องขยาย 10
เท่าส่องดูเห็นมวลสารเล็กละเอียด เนื้อสีเหลืองอ่อนจากปูนเปลือกหอย และเนื้อกล้วยสีขาว
และเป็นเม็ดโตผุดขึ้นบนผิวจากดินสอพองผงวิเศษทั้ง 5 สีทองจากผงตะไบทอง สีขาวใสขุ่นจากข้าวสุก
สีนำตาลจากเกสรดอกไม้ สีดำจากเถ้าธูป สีขาวหม่นจากคราบไคลฝาผนังโบสถ์
ด้านหลังแบนเรียบผิวหดเหี่ยวเป็นเนื้อสังขยาจากการหดตัวของมวลสาร
ขนาด กว้างฐาน 2.3 ซม. สูง 3.5 ซม. หนา 4 มม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลาง พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นศิลปะผสม 3 แบบประยุกต์เข้าด้วยกัน
ได้แก่ ศิลปะทวาราวดีองค์พระครองจีวรแนบเนื้อ ไม่มีการตกแต่งใดๆทั้งองค์พระและนอกองค์พระ
ศิลปะสุโขทัยได้แก่พระเกศเปลวยาวพริ้ว พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเรียวยาวสมส่วน เน้นองค์พระเป็นสำคัญ
เป็นศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ได้แก่องค์พระประทับบนฐานชุกชีเป็นรูปสามเหลี่ยมทรงสูงเหมือนฉัตร
ประดิษฐานภายในซุ้มครอบแก้ว เป็นเส้นหวายผ่าครึ่ง เส้นซุ้มชนิดนี้ไม่มีในสมัยใด
พระพิมพ์นี้สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ระหว่าง
พ.ศ. 2409 – 2415 อายุถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2559 ประมาณ 134 – 150 ปี
ของผมมี1องค์ อยากจะขอให้ดูให้หน่อยได้มั้ยครับ
ตอบลบดีมากครับ
ตอบลบดีมากครับ
ตอบลบของผมมี1องค์ แบบนี้เลยครับ ผมจะส่งรูปให้ดูแต่ก็ส่งไม่ได้
ตอบลบ