วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ชินเงินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิจิตร

 

  

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ชินเงินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิจิตร

เมืองพิจิตรหรือเมืองงามเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดีพงศาวดารเหนือกล่าวถึงเมืองนี้ว่าเมื่อ “พระยาโคตบอง” สิ้นอำนาจจากกรุงละโว้ก็ได้ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านโกญทัญญาคาม(โพทะเล) โดยเลี่ยงเมืองนี้ว่า “นครไชยบวร” จนถึงพ.ศ. 1600 กาญจนบุรีซึ่งเป็นโอรสได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ “หมู่บ้านสระหลวง” และตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “พิจิตร” ตลอดมา พอถึงพ.ศ. 2006 ตรงกับสมัยอยุธยา เมืองพิจิตรได้ชื่อใหม่ว่า “เมืองโอฆบุรี” ในที่สุด “นครไชยบวร” เมืองพิจิตร, เมืองสระหลวง, เมืองโอฆบุรีทั้ง 4 เมืองนี้กลับมาใช้ชื่อว่าเมืองพิจิตรเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2424 สมัยรัชกาลที่ 5 เมืองพิจิตรได้ย้ายมาอยู่ตำบลปากทางจนถึงพ.ศ. 2427 ก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านท่าหลวง ตำบลในเมืองอีกครั้ง คือเมืองพิจิตรปัจจุบันนี้

พุทธปฏิมากรรมของขลังที่ปรากฏขึ้นจากกรุเมืองพิจิตรนั้นส่วนมากเป็นพระเครื่องศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยาพระเครื่องเมืองพิจิตรรู้จักกันดีในวงการพระว่า “จิ๋วแต่แจ๋ว” มีชื่อเสียงเลื่องลือโด่งดังมานานแล้วที่มีขนาดเล็กจิ๋วคือพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า, พระพิจิตรเขี้ยวงู, พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า, พระพิจิตรยอดโถ, พระพิจิตรเกศคด, พระพิจิตรวัดนาคกลาง, พระพิจิตรผงดำ, พระพิจิตรหลังลายผ้าและอื่นๆเป็นต้น โดยแต่ละกรุ ต่างก็มากแบบสุดพรรณนา ทั้งนี้ต่างก็เป็นยอดพระเครื่องที่ทรงไว้ซึ่งพุทธคุณในด้านคงกระพันชาตรี มหาอุดและแคล้วคลาดที่เชื่อถือได้ดีทีเดียว

ขึ้นชื่อว่า “พระเครื่องเมืองพิจิตร” แล้วไม่ว่าจะเป็นนักเลงพระหรือไม่ก็ตามเป็นต้องร้องอ๋อ “พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า” ขึ้นมาทันที นี่ก็ชี้ให้เห็นว่าจะหาพระเล็กจิ๋วฤทธิ์โตแล้วก็ต้องยกให้พระพิจิตรเขา พระพิจิตรวิชัยจะมีขนาดเล็กจิ๋วไปหมดไม่ พระองค์ตัวโตๆก็มีเหมือนกัน เรื่องราวกำเนิดพระเครื่องเมืองพิจิตรนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว( 600 กว่าปี) ศิลปะที่ปรากฏจึงมีทั้งศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ สุโขทัยตะกวน อู่ทองปลายและศิลปะอยุธยา สำหรับกรุเมืองพิจิตรมีมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ที่นิยมกันมากได้แก่ คุรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุท่าฉนวน กรุวัดโพธิ์ประทับช้างและอื่นๆเป็นต้น

พระเครื่องเมืองพิจิตรมีสร้างไว้ทั้งชนิดเนื้อชิน( นิยมกันมาก) เนื้อชินแข็ง เนื้อชินเขียว เนื้อดินและชนิดทำเป็นแผ่นทองแผ่นเงินประกบหน้าไว้ก็มีอีกด้วย ขึ้นชื่อว่าพระเครื่องเมืองพิจิตรแล้วประมาณร้อยละ 75 พระเกศจะคดยาวเป็นเกลียว ที่แน่ๆถ้าเป็นพระพิจิตรแล้ว ควรเป็นพระบาง หลังลายผ้าลายโต ที่เป็นเนื้อชินเขียวควรมีไขวัวสีขาวอมเหลืองขึ้นจับหนาไว้แหละดี และได้มีการทำปลอมกันมานานแล้วเช่นกันควรระวังไว้ให้มาก พุทธคุณของพระเครื่องเมืองพิจิตรยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี ซึ่งได้มีประสบการณ์แก่ผู้นำไปบูชาติดตัวกันมากมายหลายรายเป็นที่เชื่อถือได้มาแล้ว

พุทธลักษณะ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเงิน
1) พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระขนาดเล็กมากเรียกได้ว่าจิ๋วเลยทีเดียวรายละเอียดของพระปฏิมาจึงไม่เด่นชัดเป็นการจำลองพระบูชาขนาดใหญ่โดยย่อเท่านั้น ลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งราบปางสมาธิบนอาสนะฐานสามชั้น พระเศียรกลม พระศฎา (ผมที่เกล้ามวย) ยกสูงขึ้น ระเกดรัศมียาวรูปเปลวเพลิงเรียนโค้ชไปทางด้านขวาขององค์พระ
2) พระพักตร์รูปไข่ศิลปะสุโขทัย พระศอเป็นลำตรง พระอังสากว้าง พระอุระนูน พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพระองค์ หักพระกัประยกพระกรทั้งสองพับเข้าใน พระหัตถ์ประสานการวางเหนือพระเพลา ทรงประทับนั่งราบ พระชงฆ์ขวาวาฬเกยบนพระชงฆ์ซ้ายลักษณะทรงสมาธิเข้าฌานสมาบัติ
3) องค์พระปฏิมารวมทั้งพระอาสนะ ฐานที่ประทับสร้างเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำประดิษฐานอยู่ภายในกรอบรูปเม็ดข้าวเม่า เส้นกรอบข้างเป็นเส้นลวดนูนเล็กๆล้อมรอบพอดีกับองค์พระ โดยไม่ต้องตัดกรอบ มีเนื้อเกินเพียงเล็กน้อยแสดงถึงฝีมือช่างชั้นสูงที่ยอดเยี่ยมกลุ่มหนึ่งเลยทีเดียว ด้านหลังพระพิมพ์แบนแอ่น เป็นท้องกระทะมีลายผ้าปรากฏตามกรรมวิธีการผลิต

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระเครื่องสร้างในยุคสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีมีกษัตริย์ปกครองในพุทธศตวรรษที่ 18 ตั้งแต่ พ.ศ. 1800 ถึง 1921 เมืองพิจิตรเป็นเมืองอยู่ในปกครองของราชอาณาจักรสุโขทัยจึงได้รับการถ่ายทอดศิลปะสุโขทัยโดยอัตโนมัติพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าจึงถูกสร้างขึ้นเป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ผู้สร้างก็คือนายช่างปฏิมากรรมชาวเมืองพิจิตรนั่นเอง และประยุกต์ให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเองโดยสร้างให้มีขนาดเล็กจิ๋วเป็นการประหยัดวัสดุที่หายากในสมัยนั้นเพื่อให้ได้พระเครื่องจำนวนมากนับเป็นความฉลาดของช่างเมืองพิจิตรที่สร้างพระเครื่องเหล่านี้โดยที่ช่างสร้างพระเครื่องเมืองอื่นคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เมื่อสร้างเสร็จแล้ว นำไปบรรจุกรุตามพระเจดีย์สืบต่อพระศาสนาในรูปองค์พระพุทธให้อนุชนรุ่นหลังได้สำนึกได้ว่า ณ ดินแดนแห่งนี้คือสถานที่พระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ในอดีตกาลจวบจนปัจจุบัน

มวลสารที่ใช้สร้าง
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเงินสร้างด้วยโลหะ 2 ชนิดเป็นหลักคือตะกั่วกับดีบุกหลอมละลายเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียว ขณะเป็นของเหลวก็หยอดลงในเบ้าแม่พิมพ์กดประคบด้านหลังขณะอยู่ในพิมพ์ด้วยตุ้มผ้าลายหยาบ เมื่อโลหะแข็งตัวแล้วแกะออกจากแม่พิมพ์ ได้พระพิมพ์เล็กจิ๋ว นำมาเก็บรวบรวมไว้ตามจำนวนที่ต้องการ พระพิมพ์ เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ ผิวภายนอกองค์พระแต่ละองค์จะมีสีขาววาววับดั่งเงินยวง นำมาเข้าพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญาเสร็จแล้วนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์และสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาสืบไป เวลาผ่านไป ต่อมาเมื่อมีการเปิดกรุได้พบเจอพระเครื่องเหล่านี้อยู่ในกรุเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี สภาพภายในกรุทำให้พระเครื่องเหล่านี้เกิดสนิมขึ้นตามผิวมีสีเทาดำเป็นสนิมตีนกา รวมทั้งมีไขขาวเป็นฝ้าแทรกขึ้นมาด้วย เหล่านี้เป็นคุณสมบัติของชินเงิน เมื่ออยู่ในกรุก็ต้องมีขี้กรุเป็นผงดินละเอียด สีนวลเหลืองอ่อนๆ ติดตามซอกลึกบนผิวบางๆแลดูเป็นธรรมชาติ

พุทธคุณ
คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุตม์



วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง เนื้อตะกั่ว ปางสมาธิ กรุวัดบางกระทิง อยุธยา

 

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง พิมพ์อื่นๆ





พระกริ่งหลวงพ่อองค์ตื้อ วัดศรีชมพูองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ หนองคาย

 




พระหลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม ท่าไคร้ อ.เมือง บึงกาฬ

 



วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง เนื้อดิน ปางสมาธิ กรุวัดบางกระทิง อยุธยา


 

พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง พิมพ์อื่นๆ






พระขุนแผนแตงกวาผ่าซีก เนื้อดิน กรุวัดพระรูป อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

 


พระขุนแผนแตงกวาผ่าซีก เนื้อดิน กรุวัดพระรูป อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

พระขุนแผนวัดพระรูป เนื้อดินมี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ไข่ผ่าซีกและพิมพ์แตงกวาผ่าซีก ส่วนมากมักจะเรียกกันสั้นๆว่า “พิมพ์ไข่ผ่า” และ “พิมพ์แตงกวา” โดยถือเอาลักษณะของกรอบพิมพ์เป็นสำคัญ ในการแบ่งแยกมีดังนี้
1 .พิมพ์ไข่ผ่า มีลักษณะป้อมกลมรี คล้ายไข่ไก่ถูกผ่าแบ่งออกเป็น 2 ซีก ปีกทั้งสองข้างกว้างกว่าพิมพ์แตงกวา ส่วนกว้างที่สุด ของพิมพ์ประมาณ 2.75 ซม.บางองค์กว้างถึง 3 ซม. สูงประมาณ 5.5 ซม.
2.พิมพ์แตงกวากรอบพิมพ์มีลักษณะผอมสูงยาวรีคล้ายผลแตงกวาผ่าเป็น 2ซีก ส่วนกว้างที่สุดของพระพิมพ์ประมาณ 2.5 ซม. แคบกว่าพิมพ์ไข่ผ่านิดหน่อย ส่วนสูง 5 เซนติเมตร
ยังมีอีกพิมพ์หนึ่งกรอบพิมพ์คลุมเครือครึ่งๆกลางๆ กว้างพอๆกับพิมพ์ไข่ผ่าแต่ความสูงเกือบเท่าพิมพ์แตงกวาทำให้พิจารณายากว่าเป็นพิมพ์ทรงอะไรกันแน่

พุทธลักษณะ พิมพ์แตงกวาผ่า
1) องค์พระปฏิมาประทับนั่งราบขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยบนอาสนะที่ประทับเหนือฐานรูปบัวคว่ำบัวหงายกลีบบัวเล็บช้าง ลักษณะกลีบบัวชนิดนี้เรียกพระพิมพ์ว่า “พระยอดขุนพล”
2) พุทธศิลปะองค์พระมีพระเศียรโต ต่อมพระเมาลีเป็นมวยเล็กลอนลูกจันทร์ พระเกศรัศมีเป็นเปลวปลายแหลมสะบัดสูงยาวจรดใต้ยอดซุ้ม พระพักตร์ยาว พระนลาฏ(หน้าผาก)กว้าง ขมับทั้งสองข้างเว้าเข้าเล็กน้อย พระหนุ(คาง)รูปสี่เหลี่ยมใหญ่และกว้าง พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ลางเลือน พระกรรณเป็นเส้นขีดตรงๆแทบมองไม่เห็น พระอุณหิส(มงกุฎ) หรือกระบังหน้าไม่ชัดเจน พระศอเป็นลำกว้าง ช่วงพระหนุ(คาง)ติดลำพระองค์มีช่องว่างเล็กน้อย
3) พระอังสาโค้งกว้าง พระรากขวัญเป็นแอ่งโค่งรับกับพระหนุสูงชะลูดมากกว่าศิลปะอื่น ครองผ้าจีวรแนบเนื้อ เปิดพระอังสาขวา ชายผ้าจีวรพาดจากพระอังสาซ้ายคงลงใต้พระถันแล้ววกเข้าซอกพระกัจฉะขวา พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพระองค์ หักพระกัประยกพระกรขวาขึ้น พระหัตถ์วางกุมพระชานุลักษณะเขานอก หักพระกัประพระกรซ้ายยกขึ้นพันเข้าใน หงายพระหัตถ์วางบนพระเพลา พระเพลาเป็นแอ่งทำให้ดูเป็นขัดสมาธิเพชร ลำขาใหญ่คล้ายศิลปะเชียงแสน
4) องค์พระปฏิมาสร้างเป็นประติมากรรมนูนต่ำ ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วรูปซุ้มนาคสะดุ้งเช่นเดียวกับหน้าบันโบสถ์วิหาร มีตัวนาคห้อยหัวลงมา หัวนาคผงกออกด้านนอก หางนาคบรรจบกับบนยอดหน้าจั่วหลังคา บนตัวนาคประดับด้วยใบระกาเรียงลดหลั่นกันขึ้นไปตามลำดับจนถึงยอด ไม่ค่อยชัดเจน มีเสารองรับหัวนาค ปลายเสาใหญ่หนา ส่วนล่างเรียวเล็กยาวลงมาจรดพระชานุ
5) องค์พระพร้อมฐานที่ประทับและซุ้มเรือนแก้ว ประดิษฐานอยู่ภายในกรอบ ผอมสูงยาวรี คล้ายผลแตงกวาผ่าเป็น 2 ซีก
ส่วนกว้าง 2.5 ซม. สูง 5 ซม. ด้านหลังอูมนูนคล้ายหลังเบี้ย

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระขุนแผนไข่ผ่าและพระขุนแผนแตงกวาผ่าเป็นพระเครื่องยุคสมัยอู่ทองตอนปลายหรืออยุธยาตอนต้นประมาณรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาคำว่า ”อู่ทอง” นั้นต้องเข้าใจเสียก่อนว่าหมายถึง “ไทยสยาม” นั่นเอง เป็นชนชาวไทยเก่าแก่ที่อพยพลงมาก่อนสายอื่นๆ และคลุกคลีกับชนเผ่าเจ้าของถิ่นเดิมมานับชั่วศตวรรษๆ เลยทีเดียว

พุทธศิลปะอู่ทองคือพุทธศิลปะที่ชนชาวไทยสยามสร้างขึ้นตามอิทธิพลของชนชาติเจ้าของถิ่นเดิมที่เป็นนายคือมอญ ศรีวิชัยและขอมโบราณจึงมีอายุยาวมากตั้งแต่สมัยทวารวดีผ่านศรีวิชัย ลพบุรีไปจดเอาอยุธยายุคต้นและก่อนจะถึงอยุธยาก็คละเคล้ากับสกุลช่างสุโขทัยและเชียงแสนอีกด้วยจะพบว่าอู่ทองปนอยู่ในทุกสกุลช่างที่มีในถิ่นสยาม แต่อู่ทองก็กลั่นตัวเองจนเป็นสกุลช่างแท้ของตนเองมาได้ในยุคหลังลพบุรี ซึ่งจัดว่าเป็นอู่ทองคลาสสิค เช่นเดียวกับสุโขทัยคลาสสิคและเชียงแสนคลาสสิค

พระขุนแผนแตงกวาผ่ามีพุทธศิลปะเป็นศิลปะอู่ทองผสมศิลปะลพบุรีสร้างขึ้นใน พุทธศตวรรษที่ 18 มีอายุประมาณ 800 ปีรังสรรค์โดยช่างปฏิมากรพื้นเมืองเป็นพระเครื่องสกุลขุนแผนมีอายุสูงกว่าพระขุนแผนของสุพรรณทั้งหมดพบครั้งแรกที่กรุวัดพระรูปเมื่อปี พ.ศ. 2550 (เป็นพระเนื้อจัดมีกรวดทรายน้อย) ต่อมาพบที่กรุวัดอื่นๆอีกหลายวัด(ส่วนมากเนื้อหยาบมีกรวดทรายมาก)

มวลสารใช้สร้าง
พระขุนแผนแตงกวาผ่าเนื้อดินเผากรุวัดพระรูปสร้างด้วยดินเหนียวพื้นถิ่น กรรมวิธีให้ได้เนื้อดินละเอียดเหมือนกับการเตรียมดินสำหรับทำเครื่องปั้นดินเผาในปัจจุบันโดยแช่ดินในน้ำให้ตกตะกอน จนได้ดินละเอียดนำไปตากแห้ง บดละเอียดกรองเม็ดกรวดทรายออก ผสมด้วยผงวิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์ ตามความเชื่อแต่โบราณ สร้างเป็นพระพิมพ์สำเร็จแล้วได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงอมน้ำตาล เนื้อจัดค่อนข้างนุ่มมีกรวดทรายน้อย ขี้กรุเป็นดินละเอียดสีเหลืองอ่อนและราดินสีดำ ติดตามผิวด้านหลังเล็กน้อย ราดินจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติกับพระเครื่องดินเผาที่อยู่ในกรุมีอายุหลายร้อยปีฝีมือมนุษย์ไม่สามารถปลอมแปลงได้

พุทธคุณ
ยอดเยี่ยมด้านคงกระพันและมหาอุตม์ เป็นที่เชื่อถือได้อีกพิมพ์หนึ่ง

พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ