วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกนก กรุลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร

1 2

3 4

5 6

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกนก สร้างพร้อมกันกับ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกนก ดินเผาสีดำ  ต่างกันตรงที่ ขณะเผาในหม้อหรือไหเดียวกัน แต่วางอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน ได้รับความร้อนจากไฟที่อุณหภูมิต่ำกว่า หรือถูกไฟอ่อนกว่า จึงมีสีแดง

1. ด้านหน้า
2. ด้านหลัง
3. ด้านบน
4. ด้านล่าง
5. ด้านซ้ายองค์พระ
6. ด้านขวาองค์พระ


พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์อื่นๆ





พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกนก ดินเผาสีดำ กรุลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร

1 2

3 4

5 6

1. ด้านหน้า
2. ด้านหลัง
3. ด้านบน
4. ด้านล่าง
5. ด้านซ้ายองค์พระ
6. ด้านขวาองค์พระ


พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกนก ดินเผาสีดำ กรุลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร

1.พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ประทับขัดนั่งสมาธิราบ พระวรกายตั้งตรง พระอุระอวบผาย พระพักตร์รูปผลมะตูม ปรากฏพระเนตร พระนาสิกลางๆ พระเศียรกลม พระเกศาเรียบ พระเกศเมาลีดั้งดอกมะลิตูม พระกรรณเป็นตุ่มเล็กๆแนบพระปราง พระศอแคบตื้น พระรัศมีประภามณฑลเป็นเส้นโค้งรอบพระพระเศียร  ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุมเปิดพระอังสาขวา ขอบจีวรเป็นเส้นบางพาดใต้พระถันวกเข้าซอกพระกัจฉะ ผ้าสังฆาฏิพาดบนพระอังสาซ้ายทาบลงแนบพระอุทรยางจรดพระนาภี พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพระองค์ พระกรพับพระกัประเข้าใน พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระหัตถ์ซ้ายลักษณะทรงสมาธิเข้าฌาน ประทับนั่งบนพื้นราบ พับพระชานุเข้าใน พระชงฆ์ขวาและพระบาทวางหงายทาบบนพระชงฆ์ซ้าย ด้านประปฤษฎางค์(หลัง) เรียบเป็นแอ่งท้องกระทะ เน้นให้องค์พระยกลอยเด่นขึ้น ในลักษณะนูนต่ำของศิลปะการออกแบบ กรอบพระพิมพ์เป็นรูปเล็บมือยอดมนโค้งฐานตัด อบบนเส้นขอบยกขึ้นเสมอองค์พระที่ประดิษฐานอยู่ภายใน

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พระกำแพงซุ้มกอมีการสร้างล้อแบบ(จำลอง)จากพระพิมพ์ยุคแรกๆ ติดต่อกันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่การเริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.1900 สมัยพระมหาธรรมราชาลิไทกษัตริย์สุโขทัยองค์ที่ 5 ได้สถาปนาวัดบรมธาตุในลานทุ่งเศรษฐี นครชุม และได้สร้างติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยาจึงได้ลดน้อยลง เพราะศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาอยู่ในพระนครศรีอยุธยาแล้ว ในสมัยหลังจากพระมหาธรรมราชาลิไทลงมา เมื่อมีการสร้างวัดขึ้นใหม่พร้อมพระเจดีย์ใหญ่และเจดีย์ราย ก็สร้างพระเครื่อง-พระพิมพ์ บรรจุกรุไว้ด้วยตามท้องทุ่งลานทุ่งเศรษฐี และข้ามฟากลำน้ำปิง สร้างวัดพร้อมพระเจดีย์บริเวณในป่าที่ว่างที่เป็นศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันนี้ด้วย เมื่อกาลเวลาผ่านไปยาวนาน วัดบางแห่งมีอายุมากขึ้น ก็ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลง ชาวบ้านก็บูรณะขึ้นใหม่พร้อมกับสร้างพระเครื่อง-พระพิมพ์รุ่นใหม่บรรจุกรุไว้ด้วย มีทั้งล้อแบบ(จำลอง) และออกแบบใหม่ เมื่อกรุแตกในภายหลังจึงพบพระเครื่อง-พระพิมพ์อย่างมากมาย ทั้งพระเครื่องรุ่นเก่าและฝากกรุปะปนอยู่กับพระสร้างรุ่นหลัง ทำให้สงสัยว่ามาอยู่ในกรุเดียวกันได้อย่าง
พระพิมพ์ซุ้มกอเป็นพระเครื่องที่สร้างติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ส่วนมากเป็นพระฝากกรุ จึงไม่มีกรุที่แน่นอนของตนเอง แต่ละกรุที่พบเจอมีน้อยไม่เกิน 10 องค์ บางกรุมีเพียง 2-3 องค์เท่านั้นปะปนอยู่กับพระเครื่องพิมพ์อื่นๆ ที่มีเป็นจำนวนมากมาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระพิมพ์ซุ้มกอมีมีศิลปะสุโขทัยผสมศิลปะลังกา จัดเป็นพระเครื่องสมัยสุโขทัยยุคต้นที่อลังการอยู่เหนือรูปแบบพระเครื่องลานทุ่งเศรษฐีทั้งหมด เมื่อเป็นพระฝากกรุ และมีจำนวนน้อยจึงเป็นพระพิมพ์ที่หายากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพระพิมพ์ยุคต้นๆ
พระซุ้มกอยุคแรกๆ เป็นพระพิมพ์ใหญ่มีลายกนกประดับข้างองค์พระ ซอกแขนลึกมาก พระพิมพ์เนื้อสีแดงคล้ำจัด เนื้อดินละเอียดผสมผงแร่ดอกมะขามที่ละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อหนึกนุ่ม ผิวหลุดล่อนได้ง่ายเป็นกาบเหมือนเนื้อแป้ง เป็นชั้นๆของขนมกะหรี่ปั๊บ พระพิมพ์ซุ้มกอยุคกลางและหลัง ซอกแขนจะตื้นจึงจัดเป็นพระที่สร้างขึ้นยุคกลาง พุทธศตวรรษที่ 20 มีอายุถึงปัจจุบันราว 600 ปี

3.วัสดุใช้สร้าง เป็นพระพิมพ์ดินเผา เนื้อดินผสมผง ส่วนผสมประกอบด้วย ดินป่นละเอียดมีแร่ธาตุหลายร้อยชนิด ขุดในพื้นถิ่นลานทุ่งเศรษฐีป่นเป็นผง กรองเอากรวดทรายและแร่เม็ดโตออกจนหมดผสมด้วยว่านมีฤทธิ์ และเป็นมงคลตากแห้งป่นเป็นผงละเอียดใส่น้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ นวดให้เข้ากัน ข้นเหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อนเล็กๆให้พอเหมาะ กับเข้าแม่พิมพ์นวดคลึงไล่อากาศ กดลงเบ้าแม่พิมพ์ ใช้แผ่นไม้แบนกดทับย้ำลงไปให้แน่น แกะออกหงายด้านหน้าขึ้น วางผึ่งให้แข็งตัว ใช้ของมีคมตัดเจียนขอบข้าง ตามกรอบพระพิมพ์รูปเล็บมือ เมื่อได้จำนวนตามที่ต้องการแล้ว รวบรวมนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง นำเข้าหม้อหรือไหสุมไฟเผาด้วยอุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีดำ เนื้อในสีน้ำตาลแดง แข็งแกร่ง ผิวเรียบเป็นมัน ด้านหลังเป็นแผ่นเรียบ ลายกาบหมากที่วงการเรียกกัน แต่ความเป็นจริงเป็นลายเสี้ยนไม้
เมื่อเป็นพระกรุก็ต้อมีขี้กรุ คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินติดตามผิวและซอกลึกสีเทา ไม่ควรล้างออก ดินกรุเดิมๆจะมีเสน่ห์ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษา แต่องค์ดำนี้ล้างด้วยน้ำและแช่ให้ดินกรุละลาย เมื่อนำมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงดูเหมือนดินโคลนผิดธรรมชาติของพระเครื่องกรุทุ่งเศรษฐี ดูเพี้ยนไปเลย เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับองค์ที่ขี้กรุเป็นผงดินเดิมๆ
ขนาดฐานกว้าง 2 ซม. สูง 2.7 ซม. หนา 7 มม.

4.ค้นพบครั้งแรก ปีพ.ศ. 2444 พระยาตะก่า ได้บูรณะวัดบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นใหม่ โดยรื้อพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ รวมทั้งเจดีย์รายที่ชำรุดทั้งหมด เปิดกรุในในเจดีย์เหล่านี้ นำทรัพย์สมบัติมีค่า พระพุทธรูป พระเครื่อง และพระพิมพ์มารวบรวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อบรรจุในเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ บรรดาพระเครื่อง-พระพิมพ์เหล่านี้ มีพระเครื่องพิมพ์หนึ่ง ลักษณะยออดมนโค้งคล้ายคลึงเล็บมือ ซึ่งครอบครองความยิ่งใหญ่ในเวลานี้ ( 1 ในขุดเบญจภาคี) ก็ได้รวมขึ้นมามาจากกรุด้วยไม่มากนัก พระเครื่องที่ว่านี้คือ “พระซุ้มกอ” ยอดพระเครื่องอันดับ 1 ที่เราได้เทิดพระนามท่านไว้ว่า “เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี” นั่นเอง

5.ตำนานการสร้างพระพิมพ์ซุ้มกอ
ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณบุรี ว่ายังมีฤาษี 11 ตน ฤาษีเป็นใหญ่สามตน ตนหนึ่งฤาษีพิลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตางัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งนี้ จะเอาอะไรให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช
ฤาษีทั้งสาม จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทอง ไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์ จึงทำเป็นเมฆพัด อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานในถ้ำเหวน้อยใหญ่ เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน 5,000 พระพรรษา ฤาษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งหลายว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลาย อันมีฤทธิ์เอามาได้สัก 1000 เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ 1000 ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้ช่วยกันบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง เมฆพัดสถานหนึ่ง ฤาษีทั้งสามองค์จึงให้ฤาษีทั้งปวง ให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อนประดิษฐาน ด้วยมนตร์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้นเอาเกสรและว่านมาประสมกันดี เป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณ ประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง "ถ้าผู้ใดถวายพระพรแล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด มีกูไว้ไม่จน” จากข้อความในลานทอง ประวัติการสร้างพระพิมพ์วัดบรมธาตุกำแพงเพชร

6.พุทธคุณ พระกำแพงซุ้มกอ เป็นเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี ยอดพระเครื่องอันดับ 1 เจ้าของวลีที่ว่า “มึงมีกูแล้วไม่จน” ให้มหาโชค มหาลาภ เมตตามหานิยมสูง แคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวงได้อย่างวิเศษนัก
อ่านคุณวิเศษจากพระพิมพ์ ทรงสมาธิเข้าฌาน หมายถึงนิรันตราย ขณะทรงสมาธิเข้าฌานสมาบัติ ภัยพิบัติทุกประการไม่สามารถกล้ำกราย ต้องพระวรกายได้
กรอบโค้งครอบแก้วลักษณะเช่นเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ ก็หมายถึงนิรันตราย เช่นกัน
ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด มีอุปเทศดังนี้.
1. แม้อันตรายสักเท่าใด ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้น
2. ถ้าทำการสงคราม ให้เอาพระใส่น้ำมันหอม แล้วใส่ผม จะไม่ต้องศัตราวุธ
3. ถ้าจะใคร่มาตุคาม (สตรี) เอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ ใบพลู ทาตัว
4. ถ้าจะเจรจาให้สง่างาม คนเกรงกลัวเอาพระใส่น้ำมันหอมหุงขี้ผึ้งเสกทาปาก
5. ถ้าค้าขาย หรือเดินทาง เอาพระสรงน้ำหอมเสกด้วยพระพุทธคุณ
6. ถ้าเป็นความกัน ให้เอาพระสรงน้ำหอม เอาด้าย 11 เส้น ชุมน้ำมันหอมนั้นและทำไส้เทียนตามถวายพระ แล้วพิษฐานตามใจชอบ ......จารึกลานเงินยังบันทึกว่า.....พระเกสรก็ดี พระว่านก็ดี พระปรอทก็ดี อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น




พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์อื่นๆ