วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระนารายณ์อวตารปราบอสูร กรุลพบุรี

 

พระลักษณะ องค์พระนารายณ์ปาฏิหาริย์อวตารปราบอสูร แผลงฤทธิ์องค์ มี 9 เศียร 18 กร พระวรกายล่ำสัน พระเศียรซ้อนกัน 3 ชั้นสวมมงกุฎ พระพักตร์กลม มีพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์รางๆ พระกรรณยาว พระศอแคบ พระอุระกว้าง พระอุทรคอด ทรงภูษาแนบเนื้อ สวมกรอบศอเหนือพระอุระ พระพาหา พระกรและพระหัตถ์แผ่ออกสองข้างเป็นรูปพัด ประทับยืนงอพระชานุซ้าย เขย่งพระบาทขวา บนซากอสูร 1 ตนที่นอนอยู่ใต้พระบาท เบื้องบนรอบพระเศียรเป็นประภามณฑลซุ้มเรือนแก้วลายกนกรูปกลีบบัว  ขยักเว้าเข้าในที่กึ่งกลางซุ้ม ด้านซ้ายองค์เป็นนางปัญญาบารมีประทับยืน ด้านขวาเป็นพระโพธิสัตว์ปางนาคปรกประทับนั่งสมาธิขัดสมาธิเพชร ทั้งหมดอยู่ในกรอบพระพิมพ์รูปกลีบบัว ด้านหลังพระพิมพ์เรียบเป็นคลื่นจากการกดแต่งพิมพ์มีลายนิ้วมือรางๆ แม่พิมพ์ตอนกลางลึก ด้านข้างตื้นจึงแต่งบรรจบขอบข้างด้านหน้าได้พอดี ไม่มีการตัดขอบ

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ดินเหนียวไม่มีกรวดทรายบดกรองละเอียด ผงศิลาแลง, ว่าน108, ข้าวสุกเป็นตัวยึดมวลสาร ผสมกันโขลกตำเป็นเนื้อเดียว ใส่น้ำนวดให้ข้นเหนียว เหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อน กดลงแม่พิมพ์ เคาะออก ผึ่งในร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม ผิวเรียบ แข็งแกร่ง เนื้อละเอียดนุ่ม มีคราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีดำแห้ง ติดผิวตามซอกลึกด้านหน้า
ขนาด กว้างฐาน 5 ซม. สูง 6.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์ดินเผาสมัยลพบุรีตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 16-17 อายุ 1,000 ปี ปฏิมากรรมเป็นศิลปะลพบุรี สร้างตามคติพราหมณ์ฮินดูรวมกับคติหินยาน ผสมศิลปะทวาราวดีตอนปลายที่อยู่ในพื้นที่เดิม เคยรุ่งเรือง คือกรุงละโว้เป็นศูนย์กลางเสื่อมอำนาจลง ขอมกัมพูชาขยายอำนาจแผ่เข้ามาครอบครอง มีความเจริญขึ้นเป็นลำดับ และได้นำศิลปะแบบขอม มาประยุกต์สร้างพระพิมพ์ผสมศิลปะทวาราวดีที่มีอยู่เดิม ชนชั้นผู้ปกครองเป็นผู้อำนวยการสร้าง ให้ช่างหลวงรวมกับช่างท้องถิ่นเป็นผู้ทำงาน ได้พระพิมพ์เป็นศิลปะชั้นสูงแบบหนึ่ง ที่ประณีตสวยงาม วิจิตร อลังการ มีความคม ลึก ชัดเจน ฝีมือช่างเป็นเลิศ บรรจุกรุที่กรุงละโว้เมืองแม่ และแบ่งไปฝากบรรจุกรุที่เมืองบริวารอื่นๆ เป็นการขยายอิทธิพลขอม จึงพบพระพิมพ์นี้ในเมืองอื่นหลายแห่งในปัจจุบัน


พุทธคุณ พระพิมพ์สร้างตามคติพราหมณ์ฮินดูผสมหินยานจึงมีกฤติยาคมแฝดเข้มแข็งเป็นสองเท่าด้านแคล้วคลาด, คงกระพัน, มหาอุด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น