พระลพบุรี-ศรีวิชัย กรุลพบุรี
พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งราบลอยองค์ ปางมารวิชัย พระวรกายผอมเรียว
พระเศียรสวมเทริดกลีบบัว พระพักตร์กลม พระเนตรและพระนาสิกเห็นรำไร พระกรรณใหญ่
พระศอตื้น พระอุระกว้างทรงกรองศอ พระกฤษฎีคอด ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา
สังฆาฏิพาดยาวถึงพระอุทร พระนาภีบุ๋ม พระพาหาทอดลงข้างลำพระองค์ ต้นพระพาหาทรงพาหุรัด
พระกรขวายกขึ้น พระหัตถ์วางคว่ำบนพระชานุ ลักษณะเข่านอก พระกรซ้ายพับโค้งเข้าใน
พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลาประทับนั่ง พระชานุขวาพับเข้าในหงายพระบาทบนพระชงฆ์ซ้ายที่พับเข้าในอยู่ด้านล่าง
ประดิษฐานบนรัตนบัลลังก์บัวหงาย 6 กลีบใหญ่
ฐานล่างเป็นบัวเม็ดเรียงเป็นแนวยาวหน้ากระดาน
ด้านหลังพระพิมพ์แบนเป็นคลื่นจากรอยนิ้วมือกดแต่ง
1.วัสดุใช้สร้าง ดินเหนียวมีทรายในเนื้อบดกรองละเอียด
ผงแร่ดอกมะขาม ว่าน108 โขลกตำละเอียดเป็นเนื้อเดียว ใส่กาวหนัง น้ำอ้อยเคี่ยวและน้ำ
นวดให้อ่อนเหนียวเหมือนดินน้ำมัน กลึงเป็นเส้นกลม ตัดเป็นท่อนยาวพอเหมาะ
วางใส่ลงแม่พิมพ์ ใช้นิ้วมือกดคลึงให้แน่นเต็มพิมพ์ แคะออกหงายด้านหน้าขึ้น ปาดขอบด้วยของมีคม
ใช้นิ้วมือลบสันขอบแต่งให้มนไม่เป็นเหลี่ยม ผึ่งในร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 850
องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม ผิวเรียบ แข็งแกร่ง เนื้อหยาบเล็กน้อย คราบไคลสีขาวเทาเคลือบบางบนผิวเป็นผงฝุ่นโคลนผสมน้ำหินปูนที่แห้งสนิทแล้ว
ขนาด ฐานกว้าง 3.5 ซม. สูง 6 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรียุคต้น
พุทธศตวรรษที่16 อายุ
อายุ 1,000 ปี ร่วมกับสมัยศรีวิชัยยุคกลาง
จึงได้รับอิทธิพลศิลปะศรีวิชัยเข้ามาผสมจากสองอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองเคียงคู่กัน
สร้างตามคติพุทธศาสนาหินยานของศรีวิชัย และคติมหายานของขอมลพบุรี
โดยช่างฝีมือขอมที่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองรัฐละโว้ที่เป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมในภาคกลางสุวรรณภูมิรวมทั้งเมืองบริวารโดยรอบ
นำศิลปะขอมเข้ามาเผยแพร่เป็นต้นกำเนิดศิลปะลพบุรี บรรจุกรุสืบต่อพระพุทธศาสนาตามคติความเชื่อของชาวสุวรรณภูมิ
คือประเทศไทยในปัจจุบัน ค้นพบพระพิมพ์ตามกรุเนินดินมากมายทั่วไป
มิใช่ตามสถูปวัดวาอาราม นอกจากย้ายมาบรรจุภายหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น