วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

พระกรุวัดเลียบ ปางมารวิชัย พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน


 

พระกรุวัดเลียบ ปางมารวิชัย พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน
เป็นพระที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอายุประมาณเกือบ 200 ปี
ขนาดกว้างฐาน 2 ซม. สูง 3.5 ซม.

วัดเลียบ หรือ วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานพุทธ กทม. สาเหตุที่มีชื่อว่าวัดเลียบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดลงมาที่สะพานพุทธ วัดราชบูรณะได้รับความเสียหายมากจากระเบิดครั้งนั้น เหลือแต่องค์พระประธาน แต่ก็ได้รับความเสียหายตรงฐานพระแตกออกมา จึงเจอพระที่เก็บบรรจุไว้ จึงถือว่าเป็นการแตกกรุออกมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2488 พระที่แตกกรุออกมามาก จะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีหลากหลายพิมพ์ เป็นพิมพ์พุทธกิริยาในอาการต่างๆ 



วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อทบ วัดชนแดน อุดกริ่ง พ.ศ.2517

 

 


รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อทบ วัดชนแดน อุดกริ่ง พ.ศ.2517


ที่ระลึกในพิธีพุทธาภิเศก พระกริ่งหลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก ต.วังชมภู อ.ชนแดน เพชรบูรณ์ ปี 2517


วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562

พระร่วงนั่งเข่ากว้าง เนื้อชินเงิน กรุวัดเขาพนมเพลิง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย


 

พระร่วงนั่งเข่ากว้าง เนื้อชินเงิน กรุวัดเขาพนมเพลิง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

สวรรคโลกเดิมเรียกว่าเมืองเชลียงมีอายุเกือบ 2000 ปี เมื่อถึงสมัยสุโขทัยจึงเรียกชื่อใหม่ว่า ศรีสัชนาลัยในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทก็เคยเป็นที่ประทับของพระองค์ และได้ทรงทำนุบำรุงด้านพระศาสนาไว้เป็นอันมาก พระเครื่องเมืองนี้นิยมสร้างด้วยเนื้อชินเป็นหลัก ควบคู่ไปกับเนื้อดินเผา มีทั้งศิลปะลพบุรี สุโขทัย อู่ทองและอยุธยาปะปนกัน กรุพระเครื่องเหล่านี้ มักจะอยู่บนเนินเขาเป็นส่วนมาก เช่น กรุเขาพนมเพลิงเป็นต้น

พุทธลักษณะ
1) องค์พระปฏิมาประทับนั่งราบลอยองค์ปางมารวิชัย ไม่มีฐานบัลลังก์ที่ประทับ ประดุจลอยไปในอากาศ รูปพระเศียรทรงกลม เม็ดพระศกกลมใหญ่แบบตัดตู่ตอก พระเมาลียกขึ้นเป็นลอนมวยเล็ก ยอดพระเกศรูปดอกบัวตูมอิ่มสั้น พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏกว้าง พระปรางตอบ พระหนุยาว พระเนตรเป็นเม็ดงา พระขนงโก่งโค้งยาวติดกันรูปนกบินเชื่อมติดกับสันพระนาสิก พระนาสิกนูนแบน พระโอษฐ์ลางเลือน พระกันเป็นเส้นแม่พระปราง ยาวจรดพระอังสา พระศอเป็นร่องตื้น
2) พระอุระนูนสูงมาก พระกฤษฎีคอดกิ่ว พระอังสากว้างใหญ่ ครองผ้าจีวรแนบเนื้อห่มดอง เปิดพระอังสาขวา เส้นชายขอบพระจีวรจากพระอังสาซ้ายเป็นเส้นนูนเล็กสอดใต้พระถันขวาวกเข้าซอกพระกัจฉะ พระสังฆาฏิเป็นแถบนูนพลาดจากพระอังสาซ้ายชายผ้ายาวลงจรดพระนาภีพระพาหาเป็นลำอ้วนทอดลงข้างลำพระองค์พระพาหุ (ท่อนแขนขวา) หักพระกัประยกขึ้น พระหัตถ์วางกลุ่มพระชานุลักษณะเข่านอก หักพระกัประพระพาหุซ้ายโค้งเข้าใน พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
3) องค์พระประทับนั่งราบ พระเพลากว้างมาก พระชงฆ์และพระบาทวางซ้อนทับบนพระชงฆ์ซ้าย ในลักษณะขัดสมาธิเข้าฌานสมาบัติจนองค์พระลอยขึ้นไปในนภากาศ
4) พระพิมพ์สร้างเป็นประติมากรรมนูนต่ำปลาจากซุ้มและเครื่องประดับตกแต่งอื่นใด เน้นให้เห็นเฉพาะองค์พระปฏิมาเพียงอย่างเดียว ด้านหลังองค์พระแบนเรียบเป็นแอ่งเล็กน้อย
ขนาดฐานกว้าง 3.0 ซม. สูง 3.5 ซม.

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระพิมพ์นี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยยุคต้นราวพ.ศ. 1820 อายุประมาณ 700 ปีศิลปะสุโขทัยตะกวนโดยช่างศิลปกรรมชาวสุโขทัย ก่อนที่สุโขทัยจะประยุกต์ศิลปะใหม่เป็นสุโขทัยบริสุทธิ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นฝีมือของช่างไทยแท้ติดอันดับศิลปะงามยอดเยี่ยมของโลกในปัจจุบัน

มวลสารใช้สร้าง
พระร่วงเข่ากว้างเนื้อชินเงินสร้างด้วยโลหะ 2 ชนิดเป็นหลักคือตะกั่วกับดีบุก หลอมละลายเข้าด้วยกันเทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ให้เย็นจนแข็งตัวสำเร็จแล้ว แกะออกจากแม่พิมพ์ ได้พระพิมพ์ พระร่วงเข่ากว้างตามจำนวนที่ต้องการ เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆผิวภายนอกและภายในจะมีสีขาววาววับดั่งเงินยวง กระทำพิธีบวงสรวงปลุกเสกโดยผู้ทรงอภิญญาเสร็จแล้ว นำไปบรรจุกรุตามพระเจดีย์และสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาสืบไป ในเวลาต่อมามีการเปิดกรุได้พบพระเครื่องเหล่านี้ ด้วยกาลเวลายาวนานที่อยู่ในกรุหลายร้อยปีสภาพภายในกรุทำให้พระเครื่องเกิดสนิมขึ้นตามผิว มีสี และสีดำที่เรียกว่าสนิมตีนการวมทั้งมีไขขาวเป็นฝ้าแทรกขึ้นปกคลุมตามผิวทั้งองค์เหล่านี้เป็นคุณสมบัติของชินเงินเป็นคราบกรุขององค์พระ ส่วนขี้กรุมีน้อยเพราะภาชนะที่บรรจุมีความสะอาด

พุทธคุณ
พระร่วงเข่ากว้าง เขากว้างแสดงถึงการวางอำนาจมีความสำคัญมากด้านหนึ่ง อำนาจเป็นเงินเป็นทองและสร้างสรรค์อะไรได้หลายอย่าง การนั่งขึงขังหมายถึงความคงกระพัน เสน่ห์และเมตตามหานิยม

พระร่วงนั่ง พิมพ์อื่นๆ