พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร บนรัตนบัลลังก์แท่นใหญ่สองชั้นรูปพาน
พระวรกายเรียวยาว พระเศียรกลม พระเกศาผมหวี มีไรพระศก พระเมาลีกลมแบน
พระเกศาป้อมสั้นรูปดอกบัวตูม พระพักตร์ยาวแบบหน้าอินเดีย พระนลาฏเรียบแคบ พระขนมยาวติดกันรูปนกบิน
พระนาสิกแบน สันพระนาสิกจรดพระขนง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้านแคบ พระกรรณยาวจรดพระอังสา
พระศอยาว พระอุระกว้าง
สวมกรองศอเหมือนพระอุระ ครองจีวรแนบเนื้อ ห่มคลุม พระกฤษฎีเรียวคอด
ขอบสบงเผยอเป็นเส้น พระพาหาทั้งสองทอดลงขนานลำพระองค์ ต้นพระพาหาสวมพาหุรัด
พระกรโค้ง วางพระหัตถ์ขวาบนพระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลาลักษณะทรงสมาธิ
พระชงฆ์ขวาพับเข้าในขัดกับพระชงฆ์ซ้ายลักษณะขัดสมาธิเพชร เบื้องพระปฤษฎางค์เป็นซุ้มโพพฤกษ์แผ่ออกเต็มม้วนเข้าในกรอบซุ้ม
ตั้งแต่พระอุระขึ้นไปถึงยอดพระเศียร กรอบพระพิมพ์เป็นรูปกลีบบัวบานยอดโค้งป้าน
กรอบเป็นเส้นลวดขนานกันสองเส้น
ด้านหลังเรียบอูมนูนตรงกลางเล็กน้อย
มีรอยลายนิ้วมือกดแต่งเป็นริ้วยาวแล้วโค้งลงขอบพิมพ์ด้านหน้า
ใช้มีดตัดขอบข้างเนื้อเกินให้พอดีกับกรอบพิมพ์ด้านหน้าเป็นเส้นหนา
1.วัสดุใช้สร้าง ดินเหนียวผสมกรวดทรายละเอียด
ผงศิลาแลง, ข้าวสุกเป็นกาว ผสมโขลกตำเข้าเป็นเนื้อเดียว
ใส่น้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อน กดลงแม่พิมพ์
เคาะออกหงายด้านหน้าตัดขอบ ผึ่งในร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส
ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงอ่อน ผิวเรียบ แข็งแกร่ง เนื้อหยาบเล็กน้อย ด้านหลังมีแร่ดอกมะขามและเม็ดกรวดทรายขนาดเล็กผุดขึ้นบนผิวประปรายทั่วไป
คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินโคลนแห้งสีดำตามซอกลึกด้านหน้า
ขนาด กว้างฐาน 6 ซม. สูง 12 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยทวาราวดีตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 900 ปี
ร่วมสมัยกับศิลปะลพบุรียุคต้น
สร้างโดยช่างชาวทวาราวดีที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ที่พระปฐม
ผสมกับฝีมือช่างขอมที่เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามา เช่นลักษณะผมหวี และสวมสร้อยกรองศอ
สวมพาหุรัดที่ต้นแขนเป็นศิลปะขอมลพบุรี บรรจุกรุที่พระปฐมเจดีย์
และค้นพบในสมัยปัจจุบัน
พุทธคุณ แคล้วคลาด, คงกระพัน, มหาอุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น