วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระนางจามเทวีพิมพ์พระภิกษุณี กรุลำพูน

 

พระนางจามเทวีพิมพ์พระภิกษุณี กรุลำพูน

พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิ บนผ้าปูรองนั่ง พระวรกายอวบสมบูรณ์ ทรงเครื่องราภรณ์ พระเศียรสวมเทริดกลีบบัวทรงสูง พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏแคบ พระขนงโค้งยาวติดพระเนตรโปน พระนาสิกโด่งสัน พระนาสิกเชื่อมติดพระขนง พระโอษฐ์แบะ พระหนุสั้น พระปรางเรียว พระกรรณสวมกุณฑลยาวพาดเลยพระอังสา พระอุระสวมทับทรวง ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดยาวจรดพระนาภี พระพาหาสวมพาหุรัดทอดลงข้างลำพระองค์ พระกรขวายกขึ้น พระหัตถ์วางคว่ำบนพระชานุ พระกรซ้ายพับโค้งเข้าใน พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา พระชงฆ์ซ้ายพับเข้าในสอดใต้พระชงฆ์ขวาในท่าขัดสมาธิเพชร พระพิมพ์ลอยองค์ ไม่มีกรอบ  ด้านหลังเรียบอูมนูนเล็กน้อย

1.วัสดุใช้สร้าง ดินเหนียวมีกรวดทรายเล็กน้อยบดกรองละเอียด ผงศิลาแลง โขลกตำผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว ใส่กาวหนังและน้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อน กดลงแม่พิมพ์ แคะออกหงายด้านหน้าขึ้น ผึ่งในร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงอ่อน ผิวเรียบ แข็งแกร่ง เนื้อละเอียด มีแร่ดอกมะขามและเม็ดกรวดทรายขนาดเล็กผุดบนผิว
ขนาด ฐานกว้าง 3.3 ซม. สูง 5.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์พระนางจามเทวีทรงเครื่องผนวชเป็นภิกษุณี ตามขนบธรรมเนียม ที่พระมหากษัตริย์ในยุคสมัยก่อนหน้านี้มักปฏิบัติ
พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตรีย์แห่งรัฐหริภุญไชยนคร ขึ้นครองราชย์เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่13 อายุ 1,300 ปี
พระพิมพ์สร้างเป็นศิลปะหริภุญไชยยุคปลาย พุทธศตวรรษที่16 อายุ 1,000 ปีได้ประยุกต์ฝีมือช่างรวมกันกลายเป็นพระพิมพ์มีศิลปะสูงแบบหนึ่ง ผสมศิลปะลพบุรี เรียกว่า “ละโว้-หริภุญไชย” ช่างพื้นเมืองชาวมอญโบราณสร้างขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระปฐมกษัตริย์พระองค์นั้นที่เป็นบรรพชน เป็นประจักษ์พยานเพื่อแสดงให้รู้ว่าพระนางจามเทวีมีตัวตนจริง

พุทธคุณ พระนางจามเทวีเป็นหญิงชาตินักรบ ดังนั้นพุทธคุณจึงสูงด้าน คงกระพัน มหาอุด, แคล้วคลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น