วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พระกำแพงลีลาพลูจีบ เนื้อดินเผาสีแดง มีคราบน้ำหมากสีดำ กรุวัดพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร

 

พุทธลักษณะและพิมพ์
1.พระเกศทรงปลี ขอบพระเกศด้านขวามักจะมีรอยขีดเซาะคล้ายถูกของมีคม
2.พระพักตร์ทรงผลมะตูม คล้ายพระขุนแผนวัดพระรูป พระกรรณเบื้องขวาปรากฏเพียงเงาๆ เบื้องซ้ายถูกพระพักตร์บังไว้ เหมือนพระกำแพงเม็ดขนุน
3.พระศอเป็นลักษณะกลืนหาย เป็นร่องตื้นๆและมักจะมีริ้วธรรมชาติ หรือรอยย่นของเนื้อพระเป็นริ้วน้อยๆ
4.พระอังสาเป็นโค้งน้อยๆ 3 ลอน คือหัวไหล่ทั้งสองโค้งขึ้นและแนวไหปลาร้าเป็นแนวโค้งลง บางพิมพ์หัวไหล่เบื้องขวาสูงกว่าเบื้องซ้าย แต่บางองค์มีลักษณะตรงข้าม
5.พระอุระมีส่วนนูนเด่นเพียงเล็กน้อย พระอุระเบื้องซ้ายมีพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นบังไว้
6.พระบาทเบื้องซ้ายยกขึ้นในปางประทานอภัย แยกเป็นง่าม พระหัตถ์ที่ยกขึ้นเขื่องกว่าของพระกำแพงเม็ดขนุน พระพาหาเบื้องขวาทอดลงในลักษณะลีลาอันอ่อนช้อย เรียกกันว่า “เล่นแขน” และนิ้วพระหัตถ์ขวาไม่กางเหมือนพระเม็ดขนุน แต่มีลักษณะให้เห็นในด้านข้างหรือสันพระหัตถ์และพระอังคุฐ ช่วงพระหัตถ์ค่อนข้างยาวมาก
7.ลำพระองค์ เอวมีลักษณะเรียวเพียงเล็กน้อยปรากฏรัดประคดเป็นลักษณะนูนขึ้นสองเส้น
8.พระเพลาทั้งสองทอดเป็นเส้นขนานกันอย่างงดงาม พระเพลาซ้ายงอ และพระชานุขอเล็กน้อย
9.ชายพระจีวรเบื้องซ้ายกางออกมาและทิ้งชายขอบพริ้วไสวงดงามกว่าของพระกำแพงเม็ดขนุน ชายขอบล่างลากเป็นแนวเฉียงตัดเข้าหาข้อพระบาทเบื้องซ้าย และพาดทับข้อพระบาทเป็นเส้นนูนทำให้มีลักษณะคล้าย “สวมกางเกงจีน” ชายจีวรเบื้องขวา เป็นแนวลากติดต่อลงมาจากปลายนิ้วพระหัตถ์เบื้องขวา ริ้วของชายจีวรมีความคมน้อยกว่าเบื้องซ้าย
10.พระลักษณะการย่างเยื้องต่างจากรพกำแพงเม็ดขนุน คือการวางพระบาททั้งสองมีลักษณะขนานหรือประสานกัน ส้นพระบาททั้งคู่ยกเผยอขึ้นจากอาสนะเล็กน้อย ตัวพระบาทแสดงรายละเอียดชัดเจนมาก คือปลายหัวแม่เท้าทั้งสองงอนเชิดขึ้น ตัวพระบาทคอดงดงามที่สุด เมื่อพิจารณาลีลาของพระบาทประกอบถึงพระพาหาและพระกรแล้ว จะเห็นได้ว่า ลีลาการเคลื่อนไหวของพระกำแพงพลูจีบ มีลักษณะการเลื่อนแล่นไปทางเบื้องซ้าย
11.พระอาสนะมี 4 ชั้น ชั้นบนเป็นบัวหงาย 3 กลีบ ลักษณะคล้ายหัวข้าวหลามตัดขนมเปียกปูน และอีก 3 ชั้น เป็นหน้ากระดาน มีลักษณะเป็นขีดๆ ส่วนมากจะปรากฏเป็นขีดเดียว หรือสอองขีดเท่านั้น
12.ซุ้มเรือนแก้ว ปรากฏเป็นแนวโค้งมาจากพื้นผนังล้อมรอบองค์พระปฏิมา มีลักษณะเป็นแอ่งท้องกระทะลึกลงไปในพื้นผนังเล็กน้อย และจะปรากฏ “ริ้วรอยธรรมชาติ” เป็นริ้วละเอียดทั่วไปในพื้นคูหา หรือในซอกพระพาหา
13.ปีกพระเครื่องชนิดนี้ส่วนมากไม่ปรากฏ การปาดของเศษเนื้อโดยรอบให้เสมอกับขอบเรือนแก้ว ไม่เหลือเนื้อขอบปีกไว้ ซึ่งต่างจากเม็ดขนุน
14.รอยเม้มปีกด้านใต้ขอบพระอาสนะ มีลักษณะ “ฐานพับ” เช่นเดียวกับพระรอด และมีลักษณะรอยเล็บจิก เกิดจากการแงะพระออกจากพิมพ์ แต่บางองค์อาจไม่ปรากฏ
15.ด้านหลังลักษณะโค้งหลังเต่าน้อยๆเช่นเดียวกับพระรอด

ยุคสมัย ศิลปะ และผู้สร้าง พระกำแพงลีลาพลูจีบเป็นพระเครื่องสกุลทุ่งเศรษฐี ศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท รัชกาลที่ 5 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ในศิลาจารึกได้พรรณนาถึงพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ไว้มากมาย เป็นผู้ให้กำเนิดไว้ เมื่อ พ.ศ.1900 ประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว พบครั้งแรกที่กรุวัดพระบรมธาตุ เมื่อพ.ศ. 2392 ต่อมายังพบที่กรุวัดพิกุลอีก เมื่อพ.ศ. 2470 และนานๆครั้งก็พบที่กรุเจดีย์กลางทุ่งเพียงองค์สององค์เท่านั้น พระลีลากำแพงพลูจีบ มีสร้างไว้ทั้งชนิดเนื้อว่าน เนื้อดิน เนื้อชิน ที่นิยมกันมากคือเนื้อดิน มีทั้งชนิดสีแดง เหลือง เขียวและดำ พระกำแพงพลูจีบแตกกรุจากลานทุ่งเศรษฐี มีจำนวนน้อยมาก คือจำนวน 1 องค์ต่อ 1,000 องค์ของพระเครื่องที่แตกจากกรุ

มวลสารใช้สร้าง
1.ความละเอียด เนื้อละเอียดมาก นอกจากพระรอดแล้วต้องนับว่า เนื้อพระเครื่องกำแพงทุ่งเศรษฐี มีความละเอียดของเนื้อสูงกว่าพระเครื่องกรุอื่นนอกทุ่งทั้งหลาย
2.ความนุ่ม เนื้อพระมีความนุ่มสูงสุดในบรรดาพระเครื่อง
3.ความแกร่งมีน้อย
4.ความหนึก มีความหนึกสูงสุด
5.ความฉ่ำ เนื้อมีความฉ่ำยิ่งกว่าพระเครื่องทั้งหลาย เป็นเนื้อที่เกิดเงาสว่าง งดงามถึงขนาดสดใส ไม่หมองมัว
6.ความซึ้งมีมากกว่าพระดินเผาด้วยกัน
7.ว่านดอกมะขามมีบางตา
8.คราบน้ำหมากมีปรากฏเป็นบางองค์
9.ขี้กรุ เป็นผงดินละเอียดสีเทานวล

พระพุทธคุณ ดีเด่นในด้านเมตตามหานิยม มีอำนาจและโชคลาภอย่างหาที่เปรียบมิได้


พระลีลา องค์อื่นๆ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น