ข้อมูลทั้งหมดเอามาจากท่าน"ตรียัมปวาย"
ที่มา:- หนังสือ
“ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ” เล่ม๑ พระสมเด็จฯ
พิมพ์ครั้งที่
6 พ.ศ. 2520 สำนักพิมพ์คลังวิทยาบูรพา, หน้าที่ 378 ถึง 379
ข.
ริ้วรอยของเทียม อาจจำแนกลักษณะด้านหลังที่เป็นของปลอม
ซึ่งสามารถพิจารณาเห็นได้โดยง่าย ๕ ลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ
๑.ลายงาเทียมและลายสังกะโลกเทียม
นับว่าเป็นข้อสังเกตที่มีคุณค่ามากที่สุดประการหนึ่งเกี่ยวกับการแตกลายงาและการแตกลายสังกะโลกซึ่งตามลักษณะของความเป็นจริงนั้น
ริ้วรอยธรรมชาติทั้งสองชนิดนี้ จะเกิดเฉพาะทางด้านหน้าเท่านั้น ดังนั้นถ้าปรากฏว่าดันหลังมีริ้วรอยเช่นนี้
ย่อมพิจารณาตัดสินได้ทันทีว่าเป็นของปลอม
๒.ผิวมะระ ด้านหลังถ้าปรากฏว่ามีลักษณะเป็นรอยนูนๆคล้ายผิวมะระเป็นแว่นๆโดยตลอดหรือเป็นตอนๆก็ดี
ถือว่าเป็นของปลอมทั้งสิ้น ผิวมาระที่กล่าวนี้มีลักษณะแตกต่างกับรอยย่นตะไคร่น้ำเป็นอันมากถ้าใช้นิ้วมือลูบจะรู้สึกว่าผิวเนื้อเป็นลอนแว่นๆอย่างชัดเจนส่วนรอยย่นตะไคร่น้ำจะไม่สู้รู้สึกชัดเจนในการสัมผัสดังกล่าวนัก
๓.รอยแตกอ้า
แตกระแหงที่มีสันนิษฐานเขื่อง ยาว และแตกอ้าอย่างชัดเจน
จะไม่มีปรากฏสำหรับของจริงเลย ถ้าปรากฏลักษณะเช่นนี้ตัดสินได้ว่าเป็นของปลอม
ซึ่งใช้ปฏิกิริยาความร้อนช่วยให้เนื้อแตกระแหง
๔.ลอนลูกคลื่น
ของปลอมบางชนิดจะมีด้านหลังเป็นลอนๆ สัณฐานเขื่องและท้องคลื่นค่อนข้างลึกโดยตลอดพื้นที่ด้านหลัง
ลักษณะเช่นนี้ ไม่ปรากฏสำหรับของจริงอีกเช่นเดียวกัน
๕.ปุ่มปมรุงรัง
ด้านหลังอันมีลักษณะกระรุ่งกระริ่ง เต็มไปด้วยตุ่มติ่ง ในลักษณะทำนองเนื้อที่งอกมา
เช่นเนื้อวัดพลับ จะไม่ปรากฏ สำหรับด้านหลังของพระสมเด็จฯ
ลักษณะของจริงนั้นจะมีบ้างก็เพียงเล็กๆน้อยๆเต็มที มีสัณฐานย่อมเยามากขนาดปลายเมล็ดงาและมักจะอยู่ตามชายกรอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น