พระกำแพงเข็ม หรือ พระลีลากำแพงเข็ม
เนื้อดินเผา กรุเจดีย์ลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
พุทธลักษณะ
1. องค์ประทับยืนย่างก้าวพระบาทไปทางเบื้องซ้ายขององค์พระ
พระชงฆ์ซ้ายเหยียดตรงตั้งฉากกับพื้น พระบาทประทับราบบนพื้น
พระบาทขวาทอดเยื้องอยู่เบื้องหลัง ยกพระปราษณีเหนือพื้น เขย่งขึ้นเล็กน้อย
2. องค์พระสูงชะลูดประทับบนอาสนะฐานบัวภายในกรอบซุ้มเส้นคู่ขนานยาวขึ้นไปแล้วสอบเรียวขึ้นสู่ส่วนยอดปลายแหลม
3. พระเศียรกลมก้มลงเล็กน้อยเอียงไปทางเบื้องซ้าย
พระเมาลีเป็นมวย พระเกศเรียวเล็กขึ้นไปจรดกรอบบนสุด พระพักตร์รูปไข่ยาวรี
เรียบไม่ปรากฏรายละเอียด ลำพระศอเป็นพียงร่อง ลักษณะกลืนหาย
4. พระอุระอวบนูน
พระอุทรคอด พระกรซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ
พระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาทรงดำเนิน
พระพาหาเบื้องขวาทอดลงอ่อนช้อยข้างลำพระองค์
พระกรยาวไกวพระหัตถ์ขนานไปกับพระโสณีที่นูนหนางดงาม
5. เส้นฐานด้านหลังโค้งนูนดังทรงกระบอกผ่าครึ่ง
เมื่อถึงกึ่งกลางพระพิมพ์ จะค่อยๆสอบเรียวแหลมสู่ส่วนยอด
ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง
พระลีลากำแพงเข็ม
เนื้อดินเผา เป็นพระพิมพ์แห่งลานทุ่งเศรษฐี สกุลกำแพงเพชร ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์
(คลาสสิกพีเรียด)ยุคที่รุ่งเรืองที่สุด(ยุคทอง) พุทธศตวรรษที่ 19 อายุ 600 กว่าปี
โดยพระมหาธรรมราชาลิไท พระมหากษัตริย์รัชกาลที่5 ราชวงศพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จมายังนครชุมได้ทรงสถาปนาวัดพระบรมธาตุฯ ณ ณ ลานทุ่งเศรษฐี เป็นปฐมฤกษ์
พร้อมทั้งพระเจดีย์ใหญ่น้อยประจำวัด รวมทั้งจัดสร้างพระพิมพ์หลายแบบหลายชนิดจำนวนมากมาย
บรรจุไว้ในพระเจดีย์ตลอดจนกรุพระเจดีย์อื่นๆในลานทุ่งเศรษฐีที่ข้าราชบริพาร
โดยเสด็จจัดสร้างไว้ด้วย กาลเวลาผ่านไปยาวนาน
พระเจดีย์ทั้งหลายขาดการบำรุงรักษาดูแล ก็ปรัก หักพังลง
ทับถมกลายเป็นเพียงเนินดินในสมัยปัจจุบัน มีการขุดค้นหาของมีค่าตามเนินดินเหล่านี้ที่มีอยู่มากมาย
นอกจากพบของมีค่าแล้วก็ยังพบพระพิมพ์หลากหลายมากมาย
นอกจากพบของมีค่าแล้วก็ยังพบพระพิมพ์หลากหลายมากมายเหล่านี้ด้วย
และกลายเป็นของมีค่าหายากไปแล้วสำหรับนักนิยมพระเครื่อง
มวลสารที่ใช้สร้าง
เป็นดินละเอียดมีแร่มะขามโดยธรรมชาติในท้องถิ่น
นำมาบด กรองกรวดทรายออกหมด ผสมด้วยว่าน 108 สร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผา
ได้พระเนื้อละเอียด แข็งแกร่ง สีแดง ผิวเนียนหนึกนุ่มเป็นมัน
ขี้กรุเป็นดินละเอียดสีเทานวลติดแน่นบนผิวเป็นเนื้อเดียวไปแล้ว
แร่ดอกมะขามสีแดงละลายเป็นดอกดวงเล็กๆผสานไปกับรารักสีดำประแต้มบนผิวเป็นหย่อมๆทั่วไป
ขนาดส่วนกว้าง 0.8 ซม.
สูง 3.8 ซม. หนา 0.5 ซม.
พุทธคุณ
เมื่อสร้างพระเครื่องแบบเข็มขึ้นมา
ก็น่าจะมีประสิทธิภาพทางสติปัญญาเหนือกว่าธรรมดา
คนที่มีปัญญาหลักแหลมและเฉียบแหลมมีหรือจะไม่เหนือกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ย่อมประสบความสำเร็จดีกว่าคนอื่นเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น