"องค์มหาโชค"
ตำหนิพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ
1. กรอบนอกขององค์พระทั้ง 4 ด้าน เป็นกรอบเส้นนูนทั้งสี่ด้าน
2. กรอบแม่พิมพ์ด้านขวาขององค์พระจะเป็นเส้นนูนแล่นลงมาตลอดและชิดกับซุ้มเรือนแก้วด้านร่างสุด
3. เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านข้างซ้ายมือองค์พระ จะเป็นเส้นนูน แล่นลงมาถึงระหว่างข้อศอกขององค์พระ
4. เส้นซุ้มเรือนแก้วค่อนข้างใหญ่นูน ด้านขอวซุ้มเรือนแก้วเป็นลักษณะเหมือนเส้นหวายผ่าซีก ด้านในจะเป็นเส้นตรงตั้งฉากพื้นองค์พระ ซุ้มเรือนแก้วด้านนอกจะเทลาดเองลงเล็กน้อย
5. พระพักตร์จะเป็นลักษณะเป็นผลมะตูมเหมือนกัน ต่างกันที่อ้วนกว่ากันเท่านั้น
6. พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์จะมีหูทั้ง2ข้าง แต่ถ้าพิมพ์จะเห็นชัด ซึ่มีท่านผู้รู้ให้กำจัดความไว้ดีมากว่า "เห็นหูรำไร อยู่ในที"
7. ตรงส่วนโค้งของลำแขนติดกับหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระจะมีเนื้อหนาและมีส่วนกว้างกว่าหัวไหล่ด้านซ้ายขององค์พระ
8. หัวเข่าข้างซ้ายขององค์พระจะนูนสูงกว่าหัวฐานด้านบน
9. หัวเข่าข้างขวาขององค์พระจะนูนต่ำกว่าหัวฐานด้านบนสุด
10. พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ พิจารณาให้ดี จะเห็นองค์พระประธานท่านหันตะแคงไปทางด้านขวาขององค์พระเล็กน้อย
11. พื้นระหว่างหัวเข่าองค์พระกับฐานชั้นที่1 และพื้นระหว่างฐานชั้นที่2กับฐานชั้นที่3จะสูงกว่าพื้นในระหว่างฐานชั้นที่1 กับฐานชั้นที่2 พื้นในระหว่างฐานชั้นที่1กับฐานชั้นที่2จะสูงเสมอกับพื้นรอบองค์พระประธาน
12. พื้นในซุ้มเรือนแก้วจะต่ำกว่าพื้นนอกซุ้มเรือนแก้วเล็กน้อย จนดูเกือบไม่ออก ต้องใช้วิธีตะแคงพระดูถึงจะเห็นความสูงต่ำได้
สำหรับองค์ "มหาโชค" เป็นพระเก็บสภาพเดิม จะเห็นเม็ดสีน้ำตาลเล็กๆ เป็นเม็ดผด เป็นคราบน้ำมันตังอิ้วแห้งสนิทหดตัว (ถือเป็นพระสมเด็จฯอีก องค์หนึ่งที่เป็นกรณีศึกษา) มีคราบแป้งโรยพิมพ์ติดอยู่ทั่วไปทั้งองค์พระ ส่วนด้านข้างจะแห้งหดตัวเป็นระแหงตามธรรมชาติเก่าร้อยกว่าปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น