พระสมเด็จวัดระฆังฯ ผงขาวเนื้อกระเบื้อง พิมพ์ขนมเปียะ (มีน้อยมาก
หายาก) วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งราบ ปางสมาธิ บนฐานชุกชี 3
ชั้น ชั้นบนทรงกระบอกยาวตัน ชั้นกลางเป็นแท่นขาสิงห์รูปคมขวาน
ชั้นล่างเป็นแท่นแบนหนาปลายทั้งสองตัดสอบขึ้นบน องค์พระมีพระวรกายเรียวยาว พระพักตร์รูปไข่เรียบเกลี้ยง
พระเศียรกลม พระเกตุมาลาเรียวยาวแหลมทะลุครอบแก้ว พระศอเป็นลำยาว พระพาหา-พระกรทอดโค้งลงเข้าใน
พระหัตถ์วางประสานกันลักษณะทรงสมาธิ ผนังหลังองค์พระราบเรียบ
ไม่มีเครื่องประดับตกแต่งอื่นใด ทั้งหมดรวมอยู่ในซุ้มครอบแก้ว เส้นหวายผ่าครึ่ง
กรอบนอกเป็นกรอบกระจกสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ
1.วัสดุใช้สร้าง ผงหินปูนเปลือกหอยเผาเป็นหลัก
ผงวิเศษทั้งห้าได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห และผงพุทธคุณ ข้าวสุกก้นบาตร
อาหารคำไหนอร่อย ท่านคายออกมาผสม เกสรและเถ้าธูปบูชาพระทั้งหมดตากแห้ง
นำมาคลุกเข้าด้วยกัน โขลกตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียว
ใส่กาวหนังและน้ำนวดให้เหนียวเหมือนดินน้ำมัน ปั้นเป็นก้อนพอเหมาะ
วางใส่ลงแม่พิมพ์กดทับด้วยวัสดุแผ่นเรียบให้เต็มพิมพ์ถอดออกหงายด้านขึ้นไม่ตัดขอบ
ผึ่งในที่ร่มให้แห้งสนิท ได้พระพิมพ์ผงขาวเหมือนกระเบื้องโปนเลน แข็งแกร่ง
ผิวเป็นมันวาว ใช้กล้องขยาย 10 เท่าส่องดูเห็นมวลสารเล็กละเอียด
ได้แก่สีขาวของของปูนเปลือกหอย และดินสอพองของผงวิเศษทั้ง 5 สีขาวใสขุ่นจากข้าวสุก
สีนำตาลจากเกสรดอกไม้ สีดำจากเถ้าธูป สีแดงสดเปลือกพริกจากอาหาร
ด้านหลังผิวเรียบเป็นมัน กรอบกลมรีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 x 5 ซม.
เส้นขอบข้างแตกเป็นริ้วหนา 4 - 5 มม. กรอบกระจกสี่เหลี่ยม ขนาด กว้างฐาน 2.5 ซม.
สูง 3.7 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลาง พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นศิลปะผสม 3 แบบประยุกต์เข้าด้วยกัน
ได้แก่ ศิลปะทวาราวดีองค์พระครองจีวรแนบเนื้อ ไม่มีการตกแต่งใดๆทั้งองค์พระและนอกองค์พระ
ศิลปะสุโขทัยได้แก่พระเกศเปลวยาวพริ้ว พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเรียวยาวสมส่วน เน้นองค์พระเป็นสำคัญ
เป็นศิลปะบริสุทธิ์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ได้แก่องค์พระประทับบนฐานชุกชีเป็นรูปสามเหลี่ยมทรงสูงเหมือนฉัตร
ประดิษฐานภายในซุ้มครอบแก้ว เป็นเส้นหวายผ่าครึ่ง เส้นซุ้มชนิดนี้ไม่มีในสมัยใด
พระพิมพ์นี้สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ระหว่าง
พ.ศ. 2409 – 2415 อายุถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2559 ประมาณ 134 – 150 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น