วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พระกำแพงซุ้มกอ ไม่มีลายกนก พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน กรุเจดีย์กลางทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

 


พระกำแพงซุ้มกอ ไม่มีลายกนก พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน กรุเจดีย์กลางทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

ความนิยมพระเครื่องสมัยเมื่อ 10 ปีล่วงมาแล้วกับสมัยปัจจุบันนี้แตกต่างกัน คนรุ่นก่อนนิยมพระเครื่องที่สร้างด้วยเนื้อโลหะ เพราะคงทนถาวรกว่าเนื้อดิน โดยถือว่า เนื้อสำริดมีค่าสูงสุด เนื้อชินมีค่ารองลงมา และเปลี่ยนมือแลกกันมากกว่าการเช่าบูชาเหมือนสมัยนี้ พระเครื่องที่มีชื่อเสียงจะมีพุทธคุณเป็นที่ไว้วางใจและค่อนข้างขลัง มีประสบการณ์ ปาฏิหาริย์จนเชื่อถือได้เป็นอันดับแรก คือคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดจากภยันตรายเป็นอันดับสอง เมตตามหานิยมรวมทั้งโชคลาภเป็นอันดับรองลงมา ในวงการนักนิยมพระเครื่องระดับเจ้านาย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเศรษฐีมีเงินทองร่ำรวย มักจะแสวงหาพระที่สร้างมีจำนวนน้อย  ศิลปะสูง ฝีมือช่างจัดๆ เช่นพระกำแพงซุ้มกอ เนื้อชินเงินที่นำเสนอนี้ โอกาสนักนิยมพระเครื่องสามัญทั่วไป หมดสิทธิ์มีไว้ในครอบครอง

พุทธลักษณะ
1.องค์พระประทับนั่งราบ ปางสมาธิ พระวรกายตั้งตรง พระเศียรกลม พระศกเรียบ รวบพระเมาลีเป็นมวยยกขึ้น พระเกศรูปดอกบัวตูม พระพักตร์รูปไข่กลมรีเรียบเกลี้ยง ไม่ปรากฏพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ พระกรรณแนบพระปราง พระศอเป็นร่องตื้น พระรัศมีประภามณฑลรอบพระเศียร เป็นเส้นนูนรูปทรงกลม
2.พระอังสากว้างใหญ่ พระอุระอวบล่ำเป็นลอนแบบนักกล้าม พระกฤษฎีเรียวคอด ครองพระจีวรแนบเนื้อห่มดอง เปิดพระอังสาขวา ชายขอบพระจีวรคลุมพระอังสาซ้ายเป็นเส้นพาดโค้งใต้พระอุระขวา สอดเข้าซอกพระกัจฉะ พระสังฆาฏิพาดบนพระอังสาซ้ายชายผ้ายาวลงจรดพระนาภี
3.พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพระองค์ หักพระกัประ พระกรพับเข้าใน พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา ลักษณะพระกรรมฐานทรงสมาธิ เข้าฌานสมาบัติ ทรงประทับนั่งราบ พระชงฆ์ขวาพับเข้าใน พระบาทวางหงายบนพระชงฆ์และพระบาทซ้ายที่พับเข้าในเสมอกันบนอาสนะฐานขีดชั้นเดียว
4.องค์พระสร้างเป็นประติมากรรมนูนต่ำลอยเด่น ประดิษฐานอยู่ภายในแอ่งโดยรอบ เบื้องพระปฤษฎางค์ เป็นพื้นเรียบไม่มีซุ้มและเครื่องประดับตกแต่งหรือลวดลายอื่นใด กรอบข้างศิลปะแบบกอธิกทรงโค้งรูปเล็บมือ ฐานล่างตัดตรง ด้านหลังพระพิมพ์เป็นแอ่งท้องกระทะ มีรอยกดด้วยลูกประคบผ้าเนื้อหยาบ

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระร่วงองค์ที่ 3 ครองกรุงสุโขทัยได้แก่พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1890 ตั้งแต่อายุ 19 ปี บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรมแบบต่างๆ พระเครื่องที่พบจากกรุเมืองสุโขทัยนี้ จึงงดงามไปด้วย ศิลปะสุโขทัยตะกวน (ศิลปะสุโขทัยผสมศิลปะลังกา) แต่พระเรื่องที่ว่ากลับไปปรากฏอยู่กับกรุหัวเมืองมากกว่าสุโขทัย
พระซุ้มกอไม่มีลายกนก ชนิดเนื้อดินและเนื้อชินที่ขึ้นจากกรุลานทุ่งเศรษฐีทุกองค์จะงามเลิศด้วยศิลปะแบบวัดตะกวนที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยยุคต้น มีอายุถึงปัจจุบันราว 60 ปี อำนวยการสร้างโดยพระมหากษัตริย์ ปฏิมากรสกุลกำแพงเพชร เป็นผู้ดำเนินการออกแบบสร้างทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แต่เนื้อชินจะมีจำนวนน้อยมากเพียง 1 ใน 100 องค์ พระซุ้มกอเนื้อชินจึงหายากมาก ไม่พบเห็นในวงการ นักพระเครื่องเลยไม่นิยม เพราะไม่มีพระหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกัน อีกทั้งพระซุ้มกอโดยทั่วไป ไม่มีกรุเป็นของตนเอง เป็นพระฝากกรุ แต่ละกรุพบไม่เกิน 10 องค์ บางกรุพบ 2-3 องค์ บางกรุไม่พบเลย จึงทำให้พระซุ้มกอมีน้อย หายาก ราคาสูง นักนิยมพระเครื่องมีความต้องการมาก ต่างพยายามเสาะแสวงหากันเรื่อยมา

มวลสารใช้สร้าง
พระซุ้มกอไม่มีลายกนกองค์นี้ เป็นพระเครื่องเนื้อชินรัชตาภร (ชินเงิน) มีส่วนผสมระหว่างโลหะตะกั่วกับโลหะดีบุกเป็นหลัก หลอมละลายเข้าด้วยกัน เทหยอดลงในแม่พิมพ์ ใช้ลูกประคบผ้าเน้อหยาบกดคลึงด้านหลัง เมื่อชินแข็งตัว ถอดออกจากพิมพ์ ตัดแต่งเจียนขอบข้างด้วยของมีคม ปลุกเสกโดยคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญา นำไปบรรจุกรุตามพระเจดีย์ กาลเวลาผ่านไปยาวนาน เมื่อเปิดกรุพบพระพิมพ์เนื้อชิน เกิดสนิมกาฬภัสสร(สนิมตีนกา หรือ สนิมดำ) ตามผิวทั้งองค์ คราบกรุเป็นน้ำหินปูนที่แห้งแข็งเคลือบติดแน่นบนผิวชั้นบนสุด ตามซอกลึก
ขนาด ฐานกว้าง 2 ซม. สูง 3 ซม. หนา 0.2 ซม.

พุทธคุณ
มหาโชคมหาลาภ ดังจารึกในลานทองที่กล่าวไว้ว่า “มีกูแล้วไม่จน” เมตตามหานิยมและแคล้วคลาด

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์อื่นๆ





วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม (พิมพ์ A) ไม่มีมือรอง วัดบางคลาน พิจิตร

 


 

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม (พิมพ์ A) ไม่มีมือรอง วัดบางคลาน พิจิตร

หลวงพ่อเงิน ยุคเก่านั้นเนื้อมีสีเหลืองเข้มจัดมีผิวเนียนใส เนื้อพระหลวงพ่อเงินแท้ต้องมีประกายทองที่สว่างสุกปลั่ง ต้องไม่ดูหม่นหมองซีดด้าน ถ้าหมองคือของปลอม คำว่าประกายสว่าง ต่างจากแวววาว  ถ้าผิววาวจะเป็นลักษณะของเนื้อที่ยังสดใหม่

เนื้อพระหลวงพ่อเงินมีทองเหลืองเป็นโลหะหลัก แต่ก็ยังมีโลหะชนิดอื่นผสมลงไปด้วยเช่นทองแดง ทองคำ จึงอาจเรียกว่า"เนื้อทองผสม

องค์นี้เป็นพิมพ์นิยม (พิมพ์ A) ไม่มีมือรอง มีรอยก้านเดือยใต้ฐาน รอยตะไบต้องเป็นรอยเก่า คราบผิวในร่องเส้นตะไบต้องเข้มเก่า

พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร องค์อื่นๆ






วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พระหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์เศียรโล้นหน้าเดียว สุพรรณบุรี

 

พระหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์อื่นๆ






พระร่วงเข่ากว้าง พิมพ์เม็ดพระศก ขอบกลม เนื้อดินเผา กรุสวรรคโลก สุโขทัย

 

พระร่วงเข่ากว้าง พิมพ์เม็ดพระศก ขอบกลม เนื้อดินเผา กรุสวรรคโลก สุโขทัย

สวรรคโลกเดิมชื่อ “เมืองเชลียง” มีอายุเกือบสองพันปี ในสมัยสุโขทัยจึงเรียกชื่อใหม่ว่า “ศรีสัชนาลัย” ในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท ก็เคยเป็นประทับของพระองค์ และได้ทรงทำนุบำรุงด้านศาสนาไว้เป็นอันมาก พระเครื่องเมืองนี้ นิยมสร้างด้วยเนื้อชินเป็นหลัก ควบคู่กับเนื้อดินเผา มีทั้งศิลปะลพบุรี สุโขทัย อู่ทอง และอยุธยาปะปนกัน กรุพระเครื่องเหล่านี้มักจะอยู่บนเนินเขาเป็นส่วนมาก เช่น กรุเขาพนมเพลิง เป็นต้น

พุทธลักษณะ
1.องค์พระปฏิมาประทับนั่งราบลอยองค์ปางมารวิชัย ไม่มีฐานบัลลังก์ประทับ ประดุจลอยอยู่ในอากาศ บนพระเศียร เม็ดพระศกแต่ละเม็ดกลมใหญ่ตอกแบบตุ๊ดตู่ พระเมาลียกขึ้นเป็นลอนมวยเล็ก ยอดพระเกศรูปดอกบัวตูมจีบสั้น บนพระพักตร์ พระนลาฏกว้าง พระปรางตอบ พระหนุยาว พระเนตรเป็นเม็ดงา พระขนงโค้งยาวติดกันรูปนกบิน เชื่อมติดกับสันพระนาสิก พระนาสิกนูนแบน พระโอษฐ์ลางเลือน พระกรรณเป็นเส้นแนบพระปรางยาวจรดพระอังสา พระศอเป็นร่องตื้น
2.พระอุระเป็นกล้ามนูนสูงมาก พระอังสากว้างใหญ่ ครองพระจีวรแนบเนื้อ ห่มดองเปิดพระอังสาขวา เส้นชายขอบพระจีวรจากพระอังสาซ้ายเป็นเส้นนูนสอดผ่านใต้พระถันขวา วกเข้าซอกพระกัจฉะ พระสังฆาฏิเป็นแถบนูนพาดจากพระอังสาซ้าย ชายผ้ายาวลงจรดพระนาภี พระกฤษฎีคอดกิ่ว พระพาหาทั้งสองเป็นลำอ้วนทอดลงข้างลำพระองค์ พระพาหุ(ท่อนแขน) ขวาหักพระกัประยกขึ้น พระหัตถ์วางกุมพระชานุลักษณะเข่นอก หักพระกัประซ้ายโค้งเข้าใน พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
3.องค์พระประทับนั่งราบ พระเพลากว้างมาก พระชงฆ์และพระบาทขวาวางซ้อนทับบนพระชงฆ์ซ้าย ในลักษณะขัดสมาธิเข้าฌานสมาบัติจนองค์พระลอยขึ้นไปในนภากาศ
4.พระพิมพ์สร้าง เป็นประติมากรรมนูนต่ำ ปราศจากซุ้มและเครื่องประดับตกแต่งอื่นใด เน้นให้เห็นเฉพาะองค์พระปฏิมาโดดเด่น เพียงอย่างเดียว ด้านหลังองค์พระเป็นผนังแบนเรียบ เป็นแอ่งเล็กน้อย

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระพิมพ์นี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยยุคต้นราว พ.ศ.1820 อายุประมาณ 760 ปี เป็นศิลปะสุโขทัยตะกวน โดยช่างศิลปกรรมชาวสุโขทัย ก่อนที่สุโขทัยจะประยุกต์ศิลปะใหม่เป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นฝีมือของช่างไทยแท้ ติดอันดับศิลปะงามยอดเยี่ยมของโลกในปัจจุบัน

มวลสารใช้สร้าง
เนื้อดินเผา เป็นเนื้อพระเครื่องชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการ วิชาความรู้ถ่ายทอดกันมาแต่โบราณทั้งศิลปะและวิธีการเผาพระพิมพ์ วัสดุที่ใช้ส่วนมากมักจะเป็นผงดินละเอียดเป็นหลักบดกรองร่อนเอาส่วนที่ไม่พึงประสงค์ออกหมด ส่วนผงอื่นๆที่ใส่ภายหลัง มักจะเป็นผงว่านที่มีคุณวิเศษตมตำราโบราณ ให้เกิดความนุ่มเนียน และเม็ดกรวดแร่ขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง ใส่น้ำยาประสาน นวดเข้ากันเป็นเนื้อเดียว เหนียวข้น คลึงเป็นเส้นยาว ตัดเป็นท่อนเล็ก ใส่ลงในเบ้าแม่พิมพ์กดคลึงให้แน่นเต็มเบ้า ถอดออกตากในร่มให้แห้ง  รวบรวมไว้บรรจุลงในโถดินเผา เข้าเตาอบเผาไฟอุณหภูมิตามภูมิปัญญาการสร้างพระ สำเร็จแล้ว ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง เนื้อแน่นเนียน แข็งแกร่ง มีเม็ดกรวดแร่โผล่ลอยบนผิว คราบกรุและขี้กรุมีน้อย เพราะมีการระมัดระวังสภาพแวดล้อมในการบรรจุเป็นอย่างดี
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางพระพิมพ์ 3.5 ซม. หนา 1 ซม.

พุทธคุณ
พระเนื้อหยาบ มีกรวดแร่ผสมอยู่ พระเครื่องแบบนี้มีคุณวิเศษทางอิทธิฤทธิ์เต็มตัว เข่ากว้างแสดงถึงการวางอำนาจมีความสำคัญมากด้านหนึ่ง อำนาจอาจเป็นเงินเป็นทอง และสร้างสรรค์อะไรได้หลายอย่าง การนั่งขึงขังหมายถึงความกงกระพัน เสน่ห์และเมตตามหานิยม

พระร่วงนั่ง พิมพ์อื่นๆ






วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พระยอดขุนพล พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน กรุศรีเทพ เพชรบูรณ์

 

พระยอดขุนพล พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน กรุศรีเทพ เพชรบูรณ์

เป็นพระสมัยทวาราวดี ยุคเดียวกับกรุนาดูน กรุแตกครั้งเดียว พระทุกพิมพ์ถูกเก็บหมด มีน้อย หาชมยาก