วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม พิมพ์เอ กรุวัดเกศไชโยวรวิหาร อ่างทอง (๔)
พระสมเด็จ วัดเกศไชโย (วัดไชโยวรวิหาร) พิมพ์อื่นๆ
พระนารายณ์ทรงปืน พิมพ์ใหญ่พิเศษ ชินเงิน(ไม่มีซุ้ม) ลพบุรี
พระนารายณ์ทรงปืน เป็นพระพิมพ์มีพระ 3 องค์
อยู่ด้วยกัน องค์กลางปางนาคปรก คือพระชัยพุทธมหานาถ
ด้านขวาคือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้านซ้ายคือนางปรัชญาปรมิตา
พุทธลักษณะ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกประทับนั่งขัดสมาธิราบบนขนดหางนาค
4 ชั้น เป็นแท่นยกสูงจากพื้น ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรกลมมนทรงเทริด พระเกศ เป็นต่อมสั้น
พระพักตร์กว้างสี่เหลี่ยม พระกรรณยาวจรดพระอังศา ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง
พระอุระกว้าง พระอุทรคอด พระกรขวาวางทับพระกรซ้ายหงายบนพระเพลา
พระชงฆ์ขวาวางบนพระชงฆ์ซ้ายหงายพระบาท ด้านหลังพระเศียรองค์กลางเป็นนาคแผ่พังพาน 7
เศียร ขนาบข้างเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา
ประทับยืนสูงระดับพระศอองค์กลาง บนแท่นยกลอย
ด้านหลังพระพิมพ์ผิวเรียบเป็นแอ่งท้องกระทะ
1.วัสดุที่ใช้สร้าง สร้างด้วยชินเงิน
ส่วนผสมหลักคือชินตะกั่วกับดีบุก ได้จำนวนตามต้องการแล้ว นำไปบรรจุกรุด้วยเวลายาวนาน
ผิวภายนอกทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อม เกิดสนิมตีนกาสีดำทั้งองค์ ผิวระเบิดผุกร่อน
คราบไคลกรุเป็นผงฝุ่นดินละเอียดเคลือบติดแน่น แทรกไปกับสนิม
ติดตามซอกลึกเห็นได้ชัดเจน
ขนาดพระพิมพ์ ฐานกว้าง 4 ซม. สูง 5.5 ซม. หนา 3
มม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
สร้างตามคติพุทธมหายาน ศิลปะลพบุรียุคหลัง ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อายุราว 700 ปี
สร้างโดยฝีมือช่างขอม(เขมร) ซึ่งแผ่อำนาจเข้ามาครองเมืองละโว้เวลานั้น บรรจุกรุไว้ที่ลพบุรี
และเมืองอื่นที่เป็นบริวารโดยรอบ เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ฯลฯ
พระพิมพ์สกุลลพบุรี ขุดค้นพบตามเนินดินทั่วไปเป็นส่วนมาก
สมัยหลังพบตามเจดีย์และวักโบราณเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง
พุทธคุณ
ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี
พระนารายณ์ทรงปืน พิมพ์เล็ก เนื้อผงดำ ลพบุรี
พระนารายณ์ทรงปืน เป็นพระพิมพ์มีพระ 3 องค์
อยู่ด้วยกัน องค์กลางปางนาคปรก คือพระชัยพุทธมหานาถ ด้านขวาคือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
ด้านซ้ายคือนางปรัชญาปรมิตา
พุทธลักษณะ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกประทับนั่งขัดสมาธิราบบนรัตนบัลลังก์สูง
5 ชั้น ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรกลมมนทรงเทริด พระเกศ เป็นต่อมสั้น
พระพักตร์กว้างสี่เหลี่ยม พระอุระกว้าง พระอุทรคอด ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง
ผ้าสังฆาฏิพาดยาวจรดพระนาภี พระกรขวาวางทับพระกรซ้ายหงายพระหัตถ์บนพระเพลา
พระชงฆ์ขวาวางบนพระชงฆ์ซ้ายหงายพระบาท ด้านหลังพระเศียรองค์กลางเป็นนาคแผ่พังพาน 7
เศียร ขนาบข้างคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ประทับยืนสูงระดับพระศอองค์กลาง
บนแท่นยกลอย
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบโค้งรูปใบเทศเส้นนูน 3 เส้น
ภายนอกเป็นกรอบโค้งรูปปลายใบหอก ฐานซุ้มวางเท้าบนเสาสั้น
ฐานล่างเป็นแท่นเส้นนูนเล็กและใหญ่ยาวตลอด
ด้านหลังเรียบ
กดแต่งพิมพ์เป็นเส้นลายผ้าเนื้อหยาบ ปรากฏลายนิ้วมือกดแต่งอยู่ทั่วไป
ขอบข้างแต่งโค้งลงบรรจบที่กรอบด้านหน้า
1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมเป็นผงใบลานเผาสีดำ
บดกรองละเอียดผสมผงว่าน พิมพ์แบบ ถอดพิมพ์ อบด้วยความร้อน 500 องศาเซลเซียส
ได้พระพิมพ์ผงดำสนิททั้งองค์ ผิวเนียนละเอียด คราบไคลกรุเป็นฝ้ามีเทาบางๆ
เคลือบติดผิวแน่น
ขนาดพระพิมพ์ ฐานกว้าง 2.5 ซม. สูง 3.5 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
สร้างตามคติพุทธมหายาน ศิลปะลพบุรียุคหลังราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อายุ 700 ปี
สร้างโดยฝีมือช่างขอม ซึ่งแผ่อำนาจเข้ามาครองเมืองละโว้เวลานั้น บรรจุกรุไว้ที่ลพบุรี
และเมืองอื่นที่เป็นบริวารโดยรอบ เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ฯลฯ
พระพิมพ์สกุลลพบุรี ขุดค้นพบตามเนินดินทั่วไปเป็นส่วนมาก
พุทธคุณ
ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี
พระนารายณ์ทรงปืน ชินเงิน ลพบุรี
เป็นพระพิมพ์ 3 องค์อยู่ด้วยกัน
พระสำคัญคือองค์กลาง เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกคือพระชัยพุทธมหานาถ
ขนาบข้างด้านขวาคือพระอวโลกิเตศวร ด้านซ้ายคือนางปรัชญาปรมิตา
พุทธลักษณะ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกประทับนั่งขัดสมาธิราบบนรัตนบัลลังก์สูง
5 ชั้น เล็กใหญ่ลดหลั่นกัน ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรกลมมน
พระเกศาเป็นเส้นผมหวีรวบขึ้นไปบรรจบพระเมาลี พระเกศเป็นต่อมสั้น ไรพระศกกวาดโค้ง
พระพักตร์กว้างสี่เหลี่ยม พระนลาตกว้าง พระขนงเป็นเส้นนูนตื้น พระเนตรรูปเม็ดงานอน
พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระปรางอวบอิ่ม พระกรรณยาวจรดพระอ้งศา
พระศอสวมสังวาล พระอุระกว้าง ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง ผ้าสังฆาฏิพาดลงถึงพระนาภี
พระกรขวาวางทับพระกรซ้ายหงายพระหัตถ์บนพระเพลา พระชงฆ์ขวาวางบนพระชงฆ์ซ้ายหงายพระบาท
ด้านหลังพระเศียรเป็นนาคแผ่พังพานปรก 7 เศียร
ด้านขวาองค์พระ เป็นพระอวโลกิเตศวร 4 กร ทรงเครื่องประทับยื่นบนแท่น
พระหัตถ์ขวาบนทรงประคำ พระหัตถ์ขวาล่างทรงดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายบนทรงหนังสือ
พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงหม้อน้ำ มีพระชยานิพุทธมิตาภะประทับอยู่บนมวยผม
ด้านซ้ายองค์พระเป็นนางปรัชญาปารมิตาเทวีแห่งปัญญา
ทรงเครื่องประทับยืนบนแท่น พระหัตถ์ขวาทรงหนังสือ พระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัว
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบซุ้มโค้งรูปใบเทศเส้นนูนคู่ขนาน
3 เส้นชิดกัน บนขอบเส้นนอกตกแต่งประดับด้วยเส้นนูนขนนกสั้นพลิ้วไหววางตั้งบนเสาสั้น
ฐานล่างเป็นเส้นนูนยาวตลอด
ด้านหลังเรียบ
กดแต่งพิมพ์เป็นเส้นลายผ้าเนื้อหยาบ
1.วัสดุที่ใช้สร้าง สร้างด้วยชินเงิน
ส่วนผสมหลักคือชินตะกั่วกับดีบุก ได้จำนวนตามต้องการสร้างแล้วนำบรรจุกรุด้วยเวลายาวนาน
ผิวภายนอกทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อม เกิดสนิมสีดำทั้งองค์ เรียกว่าสนิมตีนกา
คราบไคลกรุเป็นผงฝุ่นดินละเอียดเคลือบติดแน่นบางๆ
แทรกไปกับสนิมทั้งด้านหน้าและหลัง
ขนาดพระพิมพ์ ฐานกว้าง 5 ซม. สูง 6 ซม. หนา 2
มม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง สร้างตามคติพุทธมหายาน
ศิลปะลพบุรี สมัยพระเจ้าชัยวรมันมหาราช กษัตริย์องค์สุดท้ายองอาณาจักรขอม(เขมร)
พุทธศตวรรษที่ 18-19 อายุราว 700 ปี
สร้างโดยฝีมือช่างขอมที่แผ่อำนาจเข้ามาครองอาณาจักรทวาราวดี
โดยมีเมืองละโว้เป็นศูนย์กลาง และเริ่มต้นกำเนิดศิลปะลพบุรี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
16 พระพิมพ์สกุลลพบุรี ขุดค้นพบตามเนินดินทั่วไปเป็นส่วนมาก
นอกจากลพบุรีแล้วยังพบที่เมืองบริวารรอบนอกอีก เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น
พุทธคุณ ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพัน
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พระตรีกาย สกุลลพบุรี
พระพิมพ์ 3 องค์อยู่รวมกันเรียกว่า “พระตรีกาย”
เป็นคตินิยมในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งตรีกายนี้หมายถึง
พระพุทธเจ้าคือพระกายมนุษย์เมื่อตรัสรู้แล้วอันเป็นกายบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลส
1 พระธรรมกาย คือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 1
และกายมนุษย์ตามธรรมดาซึ่งมีการเกิดแก่เจ็บตาย 1
พุทธลักษณะ พระพุทธองค์กลางปางมารวิชัย
ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนรัตนบัลลังก์สามชั้นบนฐานบัวหงายชั้นกลางเป็นเส้นนูน
ขีดคมชัด ชั้นล่างสุดเป็นบัวเม็ด องค์พระพุทธพระวรกายอ่อนโยนนุ่มนวล
ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรประกอบด้วยพระเกศา
เป็นเส้นผมหวีรวบขึ้นไปบรรจบพระเกตูมาลาสวมพระเกี้ยวยอดแหลม พระพักตร์กลมรีทรงผลมะตูม
พระนลาตกว้าง ไรพระศกกวาดโค้ง พระขนงเป็นเส้นนูนตื้น พระเนตรหลับหรี่พริ้มมองต่ำ
พระนาสิกแบน พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระปรางอวบอิ่ม พระกรรณยาวจรดพระอังสา
พระศอสวมสังวาล พระอุระกว้าง พระอุทรอวบอูม ครองจีวรแนบเนื้อ
พระนาภีเป็นหลุมบุ๋มลง พระกรซ้ายทอดโค้งลง พระหัตถ์วางวางหงายบนพระเพลา พระพาหาขวาทอดเฉียงลงเล็กน้อย
หักตรงพระกัปประวางคว่ำพระหัตถ์กุมพระชานุ พระชงฆ์ขวาวางทับพระชงฆ์ซ้าย
องค์พระประทับอยู่ในประภามณฑลซุ้มเรือนแก้ว เป็นเส้นนูนรอบพระเศียร ประดับด้วยเส้นขนนกขีดนูนเล็กสั้น
ส่วนยอดสูงขึ้นไปเป็นพุ่มโพธิ์พฤกษ์รูปใบโพธิ์ด้านซ้ายและด้านขวาองค์พระเป็นองค์พระพุทธอีกสององค์ขนาดเล็กกว่าองค์กลาง
ปางสมาธิประทับนั่งขัดสมาธิราบบนรัตนบัลลังก์ภายในประภามณฑล เช่นเดียวกับพระพุทธองค์กลาง
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมยอดโค้งรูปปลายใบหอก
ขอบเป็นเส้นนูนเล็กหยักเว้าเข้าตามพุ่มโพพฤกษ์ ประดับด้วยเส้นขนนกขีดนูนเล็กสั้น
ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ มีลายมือกดแต่งเป็นคลื่นสูงต่ำทั่วไป
แต่งขอบโค้งมนลงบรรจบกรอบด้านหน้า ใต้ฐานด้านหน้ามีเนื้อล้นพิมพ์
1.วัสดุใช้สร้าง ส่วนผสมเป็นดินเหนียวบดกรองละเอียด
ผสมกรวดทรายและแร่ดอกมะขาม นวดให้เหนียว พิมพ์แบบ เผาด้วยไฟอุณหภูมิ 1,300
องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีผิวไม้แห้ง เนื้อหยาบ ผิวละเอียด แข็งแกร่งพอควร
เมื่อถูกกระทบกระแทกอาจแตกบ้าง คราบกรุเป็นดินละเอียดสีเข้มกว่าผิวองค์พระ
เคลือบบางๆ ติดผิวแน่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขนาดฐานกว้าง 7 ซม. สูง 9.5 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและการสร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรียุคปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 อายุ 800 ปี สร้างโดยขอมกัมพูชาที่ครองเมืองละโว้ขณะนั้น
พุทธศิลป์เป็นศิลปะลพบุรี แต่งองค์ทรงเครื่องตามคติมหายานปนพราหมณ์
ผสมผสานไปกับศิลปะขอมสมัยบายน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์กำพูชา
พระพิมพ์สมัยลพบุรีนี้ พบและขุดได้ตามเนินดินเป็นส่วนมาก และตามกรุวัดโบราณต่างๆ
ในสมัยหลังทางภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคกลางที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี
นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์
และจังหวัดทางภาคเหนือ ตลอดจนจังหวัดทางภาคอีสาน หลายแห่ง ที่เมืองลพบุรี
มีผู้พบพระพิมพ์ศิลปะลพบุรี ซึ่งมีทั้งฝีมือช่างขอมและช่างไทยมากถึง 80% ขึ้นไป
พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ และเมตตามหานิยม
พระซุ้มเรือนแก้ว กรุลพบุรี
พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย
องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนวัชรอาสน์ ทำเป็นเส้นคู่ขนาน
ช่องภายในเป็นเส้นขีดแนวตั้งเล็กๆตลอดฐาน พระวรกายองค์พระอ่อนโยนนุ่มนวล
ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรทรงเทริดกลีบบัว 5 กลีบ พระพักตร์กว้างสี่เหลี่ยม พระนลาตกว้าง
พระขนงเป็นเส้นนูนติดกับรูปนกบิน พระเนตรหลับหรี่พริ้มมองต่ำ พระนาสิกโด่งเล็กน้อย
พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระปรางอวบอิ่ม พระกรรณห้อย พระกุณฑลยาวจรดพระอังคุฏ พระศอสวมสังวาลเป็นเส้นนูนสามเส้น
พระอุระกว้างผึ่งผาย พระอุทรคอด ครองจีวรห่มเฉียงแนบเนื้อ ผ้าสังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภีๆเป็นหลุมบุ๋มลง
พระอังสาขวามือมีผ้ารัดราวพระถันเป็นลอน ขอบสบงข้างบนเผยอเป็นเส้น
ขอบจีวรพาดอยู่หว่างพระกรซ้าย ทำเป็นเส้นคมพาดลงสู่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางหงาย
พระพาหาขวาทอดเฉียงเล็กน้อยหักตรงช่วงพระกัปประ วางคว่ำพระหัตถ์กุมพระชานุ
พระชงฆ์ขวาวางทับพระชงฆ์ซ้าย
องค์พระประทับอยู่ภายในประภามณฑลซุ้มเรือนแก้ว
ตั้งอยู่บนฐานหัวเสา มีเสาบัวเม็ดรองรับ ขอบเส้นซุ้มประดับควัน เส้นนูนเล็กสั้น
เส้นขนนกทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปใบเสมา ถ้าฐานประทับทำเป็นบัวเล็บช้างสามกลีบใหญ่
พระพิมพ์นั้นจะได้ชื่อว่า “พระยอดขุนพล”
ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบโค้งมนเล็กน้อย
กดแต่งเป็นคลื่น ขอบข้างโดยรอบปาดออก เฉือนด้วยของมีคม
ทำให้เห็นวัสดุเนื้อในที่ใช้สร้างพระพิมพ์
1.วัสดุที่ใช้สร้าง
ส่วนผสมเป็นดินเหนียวผสมกรวดทรายละเอียดค่อนข้างมาก และแร่ดอกมะขาม
นวดเข้ากันให้เหนียว พิมพ์แบบ เผาไฟด้วยอุณหภูมิประมาณ 850 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม
ผิวละเอียด เนื้อในหยาบแข็งแกร่ง คราบกรุเป็นดินละเอียดสีเทาติดแน่นตามซอกลึกด้านหน้า
ฐานกว้าง 3 ซม. สูง 5.7 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรียุคปลายราวพุทธศตวรรษที่
19 อายุ 800 ปีสร้างโดยขอมกัมพูชา ซึ่งครองเมืองละโว้ขณะนั้น
มักจะบรรจุกรุตามเนินดินที่ใช้ทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
สมัยนั้นมีการนำเข้าพระพุทธรูป เทวรูปจากกัมพูชาจำนวนมาก จึงไม่สามารถสร้างเจดีย์
สถูป รองรับได้เพราะค่าใช้จ่ายสูง การขุดพบพระพุทธรูป
พระพิมพ์จึงมักจะพบโดยบังเอิญตามเนินดินโบราณทั่วไป
พระเครื่องสกุลลพบุรีนี้ นอกจากจะพบที่ลพบุรีแล้ว
ที่เมืองอื่นๆ ก็นิยมสร้างกันต่อๆมาอีกด้วย
พุทธคุณ
แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ และเมตตามหานิยม
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559
กริชชวา สกุลช่างปัตตานี
กริชชวา สกุลช่างปัตตานี
ลักษณะ
ตัวกริช หรือส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว มีทั้งตรงและคด ส่วนโคนกว้าง
ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด กริชแบบสกุลช่างปัตตานีมีการพัฒนารูปแบบจนมีอัตลักษณ์ทั้งฝักและด้ามจึงเรียกกันว่า
กริชแบบปัตตานี นิยมใช้กันในพื้นที่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของสงขลาและสตูล
ด้ามกริชจะแกะสลักจากไม้เป็นรูปยักษ์หรือรากษสตามคติความเชื่อแบบฮินดู-ชวา
แต่จะมีจมูกยาวงอน นัยน์ตาถลนดุดัน ปากแสยะ
มองเห็นไรฟันและเขี้ยวอันแหลมและงอนโค้ง
ส่วนที่เป็นเส้นผมและเคราตลอดจนเครื่องประดับช่างรังสรรค์ให้เป็นกระหนกเครือเถาที่มีความงามวิจิตรแฝงไว้ด้วยอำนาจและพลังลึกลับ
เนื่องจากด้ามกริชแบบปัตตานีมีรูปเป็นยักษ์แต่จมูกยาวงอน
คนทั่วไปในชั้นหลังจึงมองเห็นเป็นแบบ หัวนกพังกะหรือนกกระเต็น จึงเรียกกันว่า
กริชหัวนกพังกะ (Keris Pekaka) ส่วนชาวมุสลิมในภาคใต้เรียกว่ากริชตะยง
(Keris Tajong)
1. วัสดุที่ใช้ ใบมีดที่ได้จากการตี จะใช้แร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือ ภาคใต้ของไทย
2. ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง ประวัติความเป็นของกริช ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่ากริชเกิดขึ้น ในประเทศอินเดียก่อน เดิมมีลักษณะไม่ได้คดทำจากเขาเลียงผาชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่าชาวมลายูจำลองรูปกริชจากเขี้ยวเสือ บ้างก็ว่ากริชเริ่มปรากฏมีในประเทศอินโดนีเซียหรือชวาสมัยอิเหนา หรือ ปันหยี แต่มีหลักฐานเก่าแก่ที่พบ ณ เทวสถานแห่งหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ราว 600 ปี เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุ ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2236 กล่าวถึงอาวุธของไทยว่า มีกริชรวมอยู่ด้วย และพระเจ้าแผ่นดิน เคยพระราชทานกริช แก่ข้าราชบริพารใช้เหน็บเอวทางด้านซ้ายก็มี
ประวัติกริชในเมืองไทย เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีเศษ
ขณะนั้นเจ้าเมืองรามันห์หรืออำเภอรามัน จังหวัดยะลา ปัจจุบัน ประสงค์จะให้มีกริช
เป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง
และต้องการมีกริชประจำตัวด้วยถึงกับเชิญช่างผู้ชำนาญการจากประเทศอินโดนีเซีย
มีชื่อว่า ช่างบันไดซาระ มาทำกริชที่เมืองรามันห์ในรูปแบบปัตตานีและรูปแบบรามันห์
ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกริชรูปแบบนี้ถูกเรียกขานในท้องถิ่นว่า กริชรูปแบบบันไดซาระ
ตามชื่อของช่างชาวชวาผู้นั้น ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการสืบทอดการทำกริช
ในพื้นที่เมืองรามันห์ โดยเฉพาะที่ตำบลตะโล๊ะหะลอ มาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน
กริชที่เมืองรามันห์นิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นกพังกะ
คือนกที่มีปีกและตัวสีเขียวปากยาวสีแดงอมเหลือง คอขาวบ้างแดงบ้าง
นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน
ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กริชมีหลายรูปแบบ เช่น กริชแบบกลุ่มบาหลี
และมดุรา กริชแบบชวา กริชแบบคาบสมุทรตอนเหนือ กริชแบบบูกิส กริชแบบสุมาตรา
กริชแบบปัตตานี กริชแบบซุนดา หรือซุนดัง และกริชแบบสกุลช่างสงขลา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)