วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระนารายณ์ทรงปืน พิมพ์เล็ก เนื้อผงดำ ลพบุรี



 

พระนารายณ์ทรงปืน เป็นพระพิมพ์มีพระ 3 องค์ อยู่ด้วยกัน องค์กลางปางนาคปรก คือพระชัยพุทธมหานาถ ด้านขวาคือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้านซ้ายคือนางปรัชญาปรมิตา

พุทธลักษณะ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกประทับนั่งขัดสมาธิราบบนรัตนบัลลังก์สูง 5 ชั้น ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรกลมมนทรงเทริด พระเกศ เป็นต่อมสั้น พระพักตร์กว้างสี่เหลี่ยม พระอุระกว้าง พระอุทรคอด ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง ผ้าสังฆาฏิพาดยาวจรดพระนาภี พระกรขวาวางทับพระกรซ้ายหงายพระหัตถ์บนพระเพลา พระชงฆ์ขวาวางบนพระชงฆ์ซ้ายหงายพระบาท ด้านหลังพระเศียรองค์กลางเป็นนาคแผ่พังพาน 7 เศียร ขนาบข้างคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ประทับยืนสูงระดับพระศอองค์กลาง บนแท่นยกลอย
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบโค้งรูปใบเทศเส้นนูน 3 เส้น ภายนอกเป็นกรอบโค้งรูปปลายใบหอก ฐานซุ้มวางเท้าบนเสาสั้น ฐานล่างเป็นแท่นเส้นนูนเล็กและใหญ่ยาวตลอด
ด้านหลังเรียบ กดแต่งพิมพ์เป็นเส้นลายผ้าเนื้อหยาบ ปรากฏลายนิ้วมือกดแต่งอยู่ทั่วไป ขอบข้างแต่งโค้งลงบรรจบที่กรอบด้านหน้า

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมเป็นผงใบลานเผาสีดำ บดกรองละเอียดผสมผงว่าน พิมพ์แบบ ถอดพิมพ์ อบด้วยความร้อน 500 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ผงดำสนิททั้งองค์ ผิวเนียนละเอียด คราบไคลกรุเป็นฝ้ามีเทาบางๆ เคลือบติดผิวแน่น
ขนาดพระพิมพ์ ฐานกว้าง 2.5 ซม. สูง 3.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง สร้างตามคติพุทธมหายาน ศิลปะลพบุรียุคหลังราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อายุ 700 ปี สร้างโดยฝีมือช่างขอม ซึ่งแผ่อำนาจเข้ามาครองเมืองละโว้เวลานั้น บรรจุกรุไว้ที่ลพบุรี และเมืองอื่นที่เป็นบริวารโดยรอบ เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ฯลฯ พระพิมพ์สกุลลพบุรี ขุดค้นพบตามเนินดินทั่วไปเป็นส่วนมาก

พุทธคุณ ยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี

1 ความคิดเห็น: