พระนางกำแพงลูกแป้ง พิมพ์เดี่ยว
พระนางกำแพงลูกแป้ง พิมพ์คู่
พระนางกำแพงลูกแป้ง
พิมพ์เดี่ยวและพิมพ์คู่ เนื้อดินเผา
กรุเจดีย์ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
อันที่จริงแล้ว พระนางกำแพงลูกแป้ง ที่แท้ก็คือ พระนางกำแพงพิมพ์เล็กนั่นเอง
จะผิดกันก็อยู่ที่ความไม่เรียบร้อยขององค์พระจนถูกเรียกว่า “นางลูกแป้ง” เท่านั้น
พระพิมพ์นี้มีขึ้นจากกรุบ่อยครั้ง และยิ่งระยะ พ.ศ. 2510 ผ่านไปแล้ว
ไม่ว่ารุกลางทุ่งหรือกรุชายทุ่งก็ตาม พระนางลูกแป้งมักจะมีขึ้นจากกรุอยู่ตลอดมา
พุทธลักษณะ
1.พระนางลูกแป้งพิมพ์เดี่ยว องค์พระประทับนั่งราบปางมารวิชัย
ภายในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ไม่ตัดกรอบมีเนื้อเกินโดยรออบ
รูปองค์พระลางเลือนไม่ชัดเจน ด้านหลังเรียบอมนูน เป็นหลังเต่าเล็กน้อย
เนื้อดินละเอียดผสมผงเผาไฟได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง ด้านหน้าลงรักดำมาแต่เดิม
ด้านหลังมีราดำงอกขึ้นตามผิว
ขนาดฐานกรอบ กว้าง 1 ซม. สูง 1.8 ซม. หนา 0.5
ซม.
2.พระนางลูกแป้งพิมพ์คู่
องค์พระมีสององค์ประทับนั่งราบปางมารวิชัยเคียงกัน ภายในกรอบ รูปสามเหลี่ยมฐานโค้ง
ลักษณะรูปกลีบดอกบัว
บานไม่ตัดแต่งกรอบ รูปองค์พระลางเลือนไม่ชัดเจน
ด้านหลังอูมนูนเล็กน้อย มีลาบนิ้วมือตกแต่งเป็นคลื่นบนผิว
เนื้อดินละเอียดผสมผงเผาไฟได้พระดินเผาสีแดง
มีรารักสีดำเป็นจุดละเอียดเล็กๆบนผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขนาดฐานกว้าง 2.5 ซม. สูง 2.8 ซม. หนา 0.8 ซม.
ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระพิมพ์สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยที่เมืองกำแพงเพชร
ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาลิไท พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย
ได้เสด็จมายังเมืองกำแพงเพชร สถาปนาวัดพระบรมธาตุไว้ ณ ลานทุ่งเศรษฐีเมื่อ
พ.ศ.1900 และได้สร้างพระเครื่อง พระพิมพ์แบบต่าง บรรจุกรุพระเจดีย์ เป็นปฐมฤกษ์ไว้ด้วยอย่างมากมาย
พระเครื่องเมืองกำแพงเพชรมีมากมายหลายกรุ
มีหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามจินตนาการของชาวกำแพงเพชร
โดยดำรงไว้ซึ่งศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ประยุกต์เข้ากับศิลปะของกำแพงเพชร เรียกกันว่า
“ศิลปะสุโขทัยในพระกำแพง” โดยสร้างพระพิมพ์บรรจุกรุพระเจดีย์ ณ ลานทุ่งเศรษฐี ติดต่อกันเรื่อยมา
จนถึงต้นยุคกรุงศรีอยุธยา จึงลดน้อยลง
พุทธคุณ
พระพิมพ์กำแพงเพชรเนื้อดินเผา มีอานุภาพยอดเยี่ยมทางเมตตามหานิยม และโชคลาภ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น