วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560
พระกำแพงซุ้มกอดำ มีลายกนก พิมพ์ใหญ่ กรุเจดีย์ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
พระกำแพงซุ้มกอดำ
มีลายกนก พิมพ์ใหญ่
กรุเจดีย์ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
1.ด้านหน้า
2.ด้านหลัง
3.ด้านบน
4.ด้านล่าง
5.ด้านซ้าย
6.ด้านขวา
พุทธลักษณะและพิมพ์
1.ปางมารวิชัย
ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนอาสนะบัวเล็บช้างห้ากลีบ องค์พระปฏิมาเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำ ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มครอบแก้วโค้งรูปเล็บมือแบบโกธิค
2.พระเศียรตั้งตรง
พระเกศคล้ายคนสวมหมวกยอดแหลม ไรพระศกเป็นร่อง พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระขนง พระเนตร
พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระหนุเล็กแคบ พระกรรณทั้งสองเป็นปมยื่นออกมาคล้ายหูคน
3.พระศอเป็นร่องตื้นลักษณะกลืนหาย
4.พระอังสกุฎเป็นแนวโค้ง
พระอุระผายกว้าง พระกฤษฎีคอด
5.ครองพระจีวรบางแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา
ชายพระจีวรเป็นเส้นโค้งรัดใต้พระถันวกเข้าซอกพระกัจฉะ
พระสังฆาฏิพาดยาวเลยพระนาภีจรดพระหัตถ์
6.พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพรองค์กางออกเล็กน้อย
หักพระกัประเข้าในโค้งแบบหลังเป็ด เกิดซอกพระปรัศว์ลึกทั้งสองข้าง
พระหัตถ์วางประสานกันบนพระเพลาลักษณะทรงสมาธิเข้าฌานสมาบัติ
7.ทรงประทับนั่งราบ
พระชงฆ์ซ้อนกันขวาทับซ้ายบนรัตนบัลลังก์บัวเล็บช้างห้ากลีบชั้นเดียว
8.ผนังด้านพระปฤษฎางค์ปรากฏพระรัศมีประภามณฑลรอบพระเศียรเป็นเส้นลวดรูปกลีบบัว
ผนังสอง้างและยอดโค้งแกะสลักลายกนกชัดเจน
9.องค์พระปฏิมาและลายกนกเป็นศิลปะประติมากรรมนูนต่ำ
ประดิษฐานภายในแอ่งท้องกระทะ กรอบครอบแก้วทรงโค้งรูปเล็บมือยกสูงขึ้นเสมอองค์พระ
กรอบล่างตัดตรงใต้ฐานกลีบบัว ด้านหลังปาดเรียบมีเส้นเป็นทิวลายกาบหมาก
ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง
พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระเครื่องศิลปะแบบวัดตะกวน(สุโขทัยผสมลังกา)
ที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย องค์ที่5
เป็นผู้ให้กำเนิดไว้ที่กรุวัดพระบรมธาตุ ลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร ที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้เมื่อพ.ศ.1900
เป็นพระเครื่องต้นตำรับยุคแรก ต่อมาราวกลางพุทธศตวรรษที่19 กรุงสุโขทัยยุคที่2
เจริญขึ้นมาก มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหลายอย่าง
รวมทั้งศิลปะและฝีมือช่างศิลปินก็เปลี่ยนไปด้วย
กำแพงเพชรเมืองลูกหลวงเป็นแหล่งกำเนิดพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชรอย่างมากมายเป็นร้อยๆพิมพ์
รวมทั้งพระกำแพงซุ้มกอด้วยที่ยังคงสร้างล้อแบบเดิมเรื่อยมา
โดยเปลี่ยนศิลปะไปบ้างเล็กน้อย การสร้างแม่พิมพ์ก็ยังลึกเน้นองค์พระและกนกข้าง
เพียงแต่เปลี่ยนรูปพระพักตร์ตามศิลปะที่ประยุกต์ภายหลัง
ยุคที่สองนี้การอบเผายังคงใช้ความร้อนค่อนข้างสูงอยู่ตามเดิม
เนื้อพระสีดำหรือสีเขียวอมดำมีจำนวนน้อย จนกระทั่งมีคนทึกทักว่า
พระซุ้มกอมีกนกสีดำและเขียวอมดำไม่มี เพราะเป็นสีพิเศษหายาก มีจำนวนน้อยนั่นเอง จึงไม่ค่อยพบเลย
พระเครื่องผงดำหรือผงใบลานเผาเป็นที่นิยมกันในสมัยนี้
การอบเผาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีลายกนก ใช้ไฟอ่อนมาก
ว่านที่ผสมอยู่ในเนื้อดินไหม้ดำยังไม่เป็นขี้เถ้า “เนื้อพระจึงดำ”
มีความหมายในคุณวิเศษมาก
จาการขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐี
ปรากฏว่าพระกำแพงซุ้มกอแต่ละกรุหาได้เหมือนไม่ แต่ละกรุมีไม่มาก
ตอนสร้างมีแม่พิมพ์แน่นอนถาวรอยู่แล้ว น่าจะสร้างทีเดียวไว้มากๆ
ที่พบแต่ละกรุมีน้อยเหลือเกิน ผู้สร้างยุคหลังคงไม่ใช่พระมหากษัตริย์
แต่เป็นเจ้าเมืองที่ปกครองอยู่ในขณะนั้น โดยสร้างบรรจุกรุสืบต่อพระศาสนาเป็นประเพณีสืบต่อกันมา
มวลสารใช้สร้าง เนื้อดินละเอียดตามบ่อดิน
มีแร่ดอกมะขามผสมอยู่ตามธรรมชาติ หมักในน้ำ ให้เนื้อดินอ่อนลง
นำมานวดให้ดินกอดติดกันแน่น ผสมผงว่านที่มีคุณวิเศษตามตำรา
ก่อนกดลงแม่พิมพ์จะนวดอีกครั้งว่าเนื้อเต็มพิมพ์แล้วจึงกด เมื่อถอดออกจากแม่พิมพ์
ปาดด้านข้างแต่งพิมพ์ตามกรอบนอก ตากแห้ง เข้าเตาอบเผาไฟอ่อน อุณหภูมิประมาณ
400-450 องศาเซลเซียส ได้พระดินเผาสีดำ เนื้อดินละเอียดแน่น ผิวเนียน
ขี้กรุเป็นผงดินสีเทานวลเคลือบติดแน่นบนผิวตามซอกลึก
ขนาดฐานกว้าง 2.2 ซม.
สูง 3 ซม. หนา 5 มม.
พระพุทธคุณ
มีอานุภาพด้านมีลาภ มีรายได้สูง มีความก้าวหน้าสูง
อานุภาพดังกล่าวนี้เหมาะสำหรับคนต้องการความก้าวหน้า เป็นเศรษฐีมีทรัพย์
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์อื่นๆ
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560
พระกำแพงลีลากลีบจำปา พิมพ์เล็ก เนื้อดินเผา กรุเจดีย์ชายทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
พุทธลักษณะและพิมพ์
1.ลักษณะและพิมพ์คล้ายคลึงกับกลีบนอกของดอกจำปา
มีสัณฐานขอบส่วนบนเรียวปลายมน ส่วนล่างกว้างผายออก เป็นพระพิมพ์ปางลีลา ทำเป็นพระพุทธรูปประทับยืน
ยกพระบาทขวาจะก้าวไปข้างหน้า ห้อยพระหัตถ์ขวาทำท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้า
เป็นพระกริยาทรงดำเนิน
2.พระเศียรเอียงไปทางซ้าย
พระเกศทรงปลีสองชั้น ชั้นล่างเป็นตุ้ม ชั้นบนยาวปลายยอดเป็นเปลวสะบัดพริ้ว
3.พระพักตร์ทรงผลมะตูม
รายละเอียดบนพระพักตร์รางเลือน พระกรรณเบื้องขวาแนบพระปรางยาวจรดพระอังสา
เบื้องซ้ายเห็นเพียงรางๆ ถูกพระปรางบังไว้
4.พระศอเป็นร่องตื้นลักษณะกลืนหาย
5.พระอังสาเป็นแนวโค้งขึ้นทั้งสองข้าง
หัวไหล่เบื้องขวาสูงกว่าเบื้องซ้ายเล็กน้อย ไหปลาร้าเป็นแนวลาดลง
6.พระอุระนูนใหญ่ผึ่งผาย
เช่นพระกำแพงเม็ดขนุน ลำพระองค์เรียวลง พระอุทรคอด ปรากฏรอยบุ๋มพระนาภี
7.พระพาหาเบื้องซ้ายเรียวเล็กทอดลง
หักพระกัประยกพระกรขึ้น ให้พระหัตถ์หงายออกทาบกลางพระอุระ ลักษณะประทานพร
พระพาหาเบื้องขวาทอดลงข้างลำพระองค์ ในลักษณะลีลาอันอ่อนช้อยงดงาม
พระกรและพระหัตถ์ค่อนข้างยาว ทำท่าไกว พระดรรชนีคลี่ออก พระอังคุตอ้าขนานไปกับพระโสณี
8.พระเพลาทั้งสองทอดลง
งอพระชานุขวา พระบาทเขย่งก้าว ปลายพระบาทแตะพื้น พระเพลาซ้ายเรียวยืนตรง
พระบาทวางราบบนพื้นปลายพระดรรชนีงอนขึ้นสู่เบื้องบน
9.วางพระบาทในท่าลีลาหรือเยื้องย่างไปทางซ้าย
อาสนะรองรับพระบาทเป็นบัวเล็บช้างแบบบัวคว่ำบัวหงาย มีซุ้มเรือนแก้วเป็นรัศมีรอบองค์
เส้นซุ้มข้างองค์เป็นร่อง มีเนื้อข้างปีกเล็กน้อย ถาดกดพิมพ์ทำได้พอดี
ไม่ต้องตัดปีก ด้านหลังอูมนูนแบบหลังเต่า
ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระพิมพ์กำแพงลีลากลีบจำปา
เป็นพระเครื่องสกุลทุ่งเศรษฐี ศิลปะสุโขทัยยุคต้นพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพระมหาธรรมราชาลิไท
พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ให้กำเนิดไว้
เมื่อครั้งพระองค์ทรงสถาปนาวัดพระบรมธาตุ ณ ลานทุ่งเศรษฐี นครชุม ในอดีตเมื่อ พ.ศ.1900
ประมาณ 600 กว่าปีมาแล้ว ต่อมา ในปีพ.ศ. 2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)แห่งวัดระฆัง
กรุงเทพฯ ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร
ได้อ่านเรื่องราวในศิลาจารึกนครชุมว่า มีโบราณสถานและพระเจดีย์หน้าเมืองเก่า 3
องค์ ขณะนั้นพระยากำแพงเพชร(น้อย) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ได้ค้นหา ก็พบพระเจดีย์ 3
องค์ตามศิลาจารึก จึงให้ราษฎรแผ้วถางและปฏิสังขรณ์ ภายหลังพระยากำแพงเพชร(อ่อง)
ราษฎรเรียกว่า พระยาตะก่า เป็นผู้ว่าราชการเมือง ได้ขออนุญาตทางราชการ รื้อพระเจดีย์ทั้ง
3 องค์ ทำใหม่รวมเป็นองค์เดียว ขณะที่รื้อพระเจดีย์ ก็ได้พบกรุพระเครื่องกำแพงเพชรเป็นครั้งแรก
ในลานทุ่งเศรษฐี มีทรัพย์สมบัติและพระพิมพ์หลายแบบหลายชนิดมากมาย
รวมทั้งแผ่นลานเงินจารึกอักษรขอมเป็นตำนานไว้ด้วย
พระพิมพ์กำแพงลีลากลีบจำปาก็เป็นหนึ่งในจำนวนพระเครื่องทั้งหลายที่พบในคราวเดียวกัน
มีทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก มีทั้งเนื้อดินเผาและชินเงิน แต่มีจำนวนน้อย
เช่นเดียวกับพระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบและพระพระซุ้มกอ
มวลสารที่ใช้สร้าง เนื้อดินละเอียดไม่มีกรวดทราย
มีแร่ดอกมะขามตามธรรมชาติ ผสมว่าน บดผสมเข้าด้วยกัน ทุบแน่นเหนียว
นวดเป็นเนื้อเดียว กดลงในเบ้าแม่พิมพ์ ถอดออกตากแห้ง เข้าเตาอบเผาไฟอุณหภูมิ
800-900 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีพิกุล (น้ำตาลอมดำ) เนื้อแน่นเป็นแกน ผิวเนียนเป็นมัน
แร่ดอกมะขามละลายไปกับเนื้อดิน มีสีแดงลอยขึ้นบนผิวเล็กน้อย
ขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีเทานวล เคลือบติดแน่นบนผิวตามซอกลึก
ขนาด ฐานกว้าง 1.2 ซม.
สูง 3.3 ซม. หนา 7 มม.
พระลีลา องค์อื่นๆ
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560
พระกำแพงลีลาพลูจีบ เนื้อดินเผาสีแดง มีคราบน้ำหมากสีดำ กรุวัดพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร
พุทธลักษณะและพิมพ์
1.พระเกศทรงปลี
ขอบพระเกศด้านขวามักจะมีรอยขีดเซาะคล้ายถูกของมีคม
2.พระพักตร์ทรงผลมะตูม
คล้ายพระขุนแผนวัดพระรูป พระกรรณเบื้องขวาปรากฏเพียงเงาๆ
เบื้องซ้ายถูกพระพักตร์บังไว้
เหมือนพระกำแพงเม็ดขนุน
3.พระศอเป็นลักษณะกลืนหาย
เป็นร่องตื้นๆและมักจะมีริ้วธรรมชาติ หรือรอยย่นของเนื้อพระเป็นริ้วน้อยๆ
4.พระอังสาเป็นโค้งน้อยๆ
3 ลอน คือหัวไหล่ทั้งสองโค้งขึ้นและแนวไหปลาร้าเป็นแนวโค้งลง
บางพิมพ์หัวไหล่เบื้องขวาสูงกว่าเบื้องซ้าย แต่บางองค์มีลักษณะตรงข้าม
5.พระอุระมีส่วนนูนเด่นเพียงเล็กน้อย
พระอุระเบื้องซ้ายมีพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นบังไว้
6.พระบาทเบื้องซ้ายยกขึ้นในปางประทานอภัย
แยกเป็นง่าม พระหัตถ์ที่ยกขึ้นเขื่องกว่าของพระกำแพงเม็ดขนุน
พระพาหาเบื้องขวาทอดลงในลักษณะลีลาอันอ่อนช้อย เรียกกันว่า “เล่นแขน”
และนิ้วพระหัตถ์ขวาไม่กางเหมือนพระเม็ดขนุน แต่มีลักษณะให้เห็นในด้านข้างหรือสันพระหัตถ์และพระอังคุฐ
ช่วงพระหัตถ์ค่อนข้างยาวมาก
7.ลำพระองค์
เอวมีลักษณะเรียวเพียงเล็กน้อยปรากฏรัดประคดเป็นลักษณะนูนขึ้นสองเส้น
8.พระเพลาทั้งสองทอดเป็นเส้นขนานกันอย่างงดงาม
พระเพลาซ้ายงอ และพระชานุขอเล็กน้อย
9.ชายพระจีวรเบื้องซ้ายกางออกมาและทิ้งชายขอบพริ้วไสวงดงามกว่าของพระกำแพงเม็ดขนุน
ชายขอบล่างลากเป็นแนวเฉียงตัดเข้าหาข้อพระบาทเบื้องซ้าย
และพาดทับข้อพระบาทเป็นเส้นนูนทำให้มีลักษณะคล้าย “สวมกางเกงจีน” ชายจีวรเบื้องขวา
เป็นแนวลากติดต่อลงมาจากปลายนิ้วพระหัตถ์เบื้องขวา
ริ้วของชายจีวรมีความคมน้อยกว่าเบื้องซ้าย
10.พระลักษณะการย่างเยื้องต่างจากรพกำแพงเม็ดขนุน
คือการวางพระบาททั้งสองมีลักษณะขนานหรือประสานกัน ส้นพระบาททั้งคู่ยกเผยอขึ้นจากอาสนะเล็กน้อย
ตัวพระบาทแสดงรายละเอียดชัดเจนมาก คือปลายหัวแม่เท้าทั้งสองงอนเชิดขึ้น ตัวพระบาทคอดงดงามที่สุด
เมื่อพิจารณาลีลาของพระบาทประกอบถึงพระพาหาและพระกรแล้ว จะเห็นได้ว่า
ลีลาการเคลื่อนไหวของพระกำแพงพลูจีบ มีลักษณะการเลื่อนแล่นไปทางเบื้องซ้าย
11.พระอาสนะมี 4 ชั้น
ชั้นบนเป็นบัวหงาย 3 กลีบ ลักษณะคล้ายหัวข้าวหลามตัดขนมเปียกปูน และอีก 3 ชั้น
เป็นหน้ากระดาน มีลักษณะเป็นขีดๆ ส่วนมากจะปรากฏเป็นขีดเดียว หรือสอองขีดเท่านั้น
12.ซุ้มเรือนแก้ว
ปรากฏเป็นแนวโค้งมาจากพื้นผนังล้อมรอบองค์พระปฏิมา
มีลักษณะเป็นแอ่งท้องกระทะลึกลงไปในพื้นผนังเล็กน้อย และจะปรากฏ “ริ้วรอยธรรมชาติ”
เป็นริ้วละเอียดทั่วไปในพื้นคูหา หรือในซอกพระพาหา
13.ปีกพระเครื่องชนิดนี้ส่วนมากไม่ปรากฏ
การปาดของเศษเนื้อโดยรอบให้เสมอกับขอบเรือนแก้ว ไม่เหลือเนื้อขอบปีกไว้
ซึ่งต่างจากเม็ดขนุน
14.รอยเม้มปีกด้านใต้ขอบพระอาสนะ
มีลักษณะ “ฐานพับ” เช่นเดียวกับพระรอด และมีลักษณะรอยเล็บจิก
เกิดจากการแงะพระออกจากพิมพ์ แต่บางองค์อาจไม่ปรากฏ
15.ด้านหลังลักษณะโค้งหลังเต่าน้อยๆเช่นเดียวกับพระรอด
ยุคสมัย ศิลปะ และผู้สร้าง พระกำแพงลีลาพลูจีบเป็นพระเครื่องสกุลทุ่งเศรษฐี
ศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท รัชกาลที่ 5
ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ในศิลาจารึกได้พรรณนาถึงพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ไว้มากมาย
เป็นผู้ให้กำเนิดไว้ เมื่อ พ.ศ.1900 ประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว
พบครั้งแรกที่กรุวัดพระบรมธาตุ เมื่อพ.ศ. 2392 ต่อมายังพบที่กรุวัดพิกุลอีก
เมื่อพ.ศ. 2470 และนานๆครั้งก็พบที่กรุเจดีย์กลางทุ่งเพียงองค์สององค์เท่านั้น
พระลีลากำแพงพลูจีบ มีสร้างไว้ทั้งชนิดเนื้อว่าน เนื้อดิน เนื้อชิน
ที่นิยมกันมากคือเนื้อดิน มีทั้งชนิดสีแดง เหลือง เขียวและดำ
พระกำแพงพลูจีบแตกกรุจากลานทุ่งเศรษฐี มีจำนวนน้อยมาก คือจำนวน 1 องค์ต่อ 1,000
องค์ของพระเครื่องที่แตกจากกรุ
มวลสารใช้สร้าง
1.ความละเอียด
เนื้อละเอียดมาก นอกจากพระรอดแล้วต้องนับว่า เนื้อพระเครื่องกำแพงทุ่งเศรษฐี
มีความละเอียดของเนื้อสูงกว่าพระเครื่องกรุอื่นนอกทุ่งทั้งหลาย
2.ความนุ่ม
เนื้อพระมีความนุ่มสูงสุดในบรรดาพระเครื่อง
3.ความแกร่งมีน้อย
4.ความหนึก
มีความหนึกสูงสุด
5.ความฉ่ำ
เนื้อมีความฉ่ำยิ่งกว่าพระเครื่องทั้งหลาย เป็นเนื้อที่เกิดเงาสว่าง
งดงามถึงขนาดสดใส ไม่หมองมัว
6.ความซึ้งมีมากกว่าพระดินเผาด้วยกัน
7.ว่านดอกมะขามมีบางตา
8.คราบน้ำหมากมีปรากฏเป็นบางองค์
9.ขี้กรุ
เป็นผงดินละเอียดสีเทานวล
พระพุทธคุณ ดีเด่นในด้านเมตตามหานิยม
มีอำนาจและโชคลาภอย่างหาที่เปรียบมิได้
พระลีลา องค์อื่นๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)