1.พุทธลักษณะ ปางสมาธิ
ขัดราบพระวรกายตั้งตรง พระเศียรกลม พระเกศรูปดอกบัวตูม พระพักตร์รูปไข่
พระนลาฏกว้าง ไม่ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระกรรณแนบพระปราง
พระศอตื้น พระอุระกว้าง พระกฤษฎีคอด ครองจีวรบางแนบเนื้อ พระพาหาทอดกางลงข้างลำพระองค์
หักพระกัประพระกรพับเข้าใน ซอกพระกัประตื้นพระหัตถ์ประสานกันวางบนพระเพลาทรงสมาธิ
ประทับนั่งราบ พระชงฆ์วางซ้อนกัน ขวาทับซ้าย ไม่ปรากฏอาสนะ ด้านพระปฤษฎางค์
รัศมีประภามณฑล รอบพระเศียร เป็นเส้นลวดรูปกลีบบัว ผนังโดยรอบแกะสลักลายเส้นรางๆ มีลายกนก องค์พระเป็นประติมากรรมนูนต่ำ ประดิษฐานภายในแอ่งท้องกระทะ
กรอบข้างยกขึ้นเป็นเส้นทรงโค้งรูปเล็บมือสูงเสมอองค์พระ
กรอบข้างไม่ตัดแต่งมีเนื้อเกินโดยรอบ
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระเครื่องสมัยสุโขทัยยุคที่ 3 (ยุคปลาย) ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อายุ 600 ปี
พุทธศิลป์เป็นศิลปะสุโขทัย ออกแบบเน้นความเรียบง่าย ความอลังการน้อยลง
รายละเอียดองค์พระแสดงเพียงรูปร่าง ซอกแขนตื้น ลายกนกลางเลือน
จัดสร้างโดยชนชั้นสูงหัวหน้าชุมชน โดยช่างฝีมือท้องถิ่นชาวเมืองนครชุมทุ่งเศรษฐี
สร้างพระพิมพ์ดินเผา พุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญา
บรรจุรวมกับพระเครื่องแบบอื่นๆในพระเจดีย์บริเวณชายแดนสุดเขตด้านเหนือและชายแดนใต้ของทุ่งเศรษฐี
ซึ่งนักนิยมพระเครื่องตีเป็นพระนอกทุ่ง คนทั้งหลายมุ่งขุดหาในลานกลางทุ่งจึงไม่พบ
และบ่นว่าหายาก
3.มวลสารใช้สร้าง
ดินละเอียดมีแร่กรวดเล็กน้อยผสมผงว่านและผงแร่มะขาม สร้างพระพิมพ์ทรงขนมเปี๊ยะ
มีส่วนข้างหนา ด้านหลังมักมีรอยบุ๋มตรงกลาง เข้าลักษณะตลบดินคืน
เพื่อให้กรอบมีลักษณะกลม เผาไฟอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง
เนื้อละเอียดแข็งแกร่ง ผิวเหี่ยวย่น แสดงถึงความมีอายุ
แร่ดอกมะขามละลายกระจายเป็นจุดแดง
ขี้กรุเป็นดินละเอียดสีเทาโคลนแห้งติดแน่นตามซอกเล็กน้อยเพราะถูกล้างจนเอี่ยม
ด้านหลังสีเข้มกว่าด้านหน้า มีราดำบางๆบนผิวเล็กน้อย
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2
ซม. หนา 7 มม.
4.พุทธคุณ
ให้โชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น