วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พระกำแพงซุ้มกอดำ มีลายกนก พิมพ์ใหญ่ กรุเจดีย์ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

1 2

3 4

5 6


พระกำแพงซุ้มกอดำ มีลายกนก พิมพ์ใหญ่ กรุเจดีย์ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
1.ด้านหน้า
2.ด้านหลัง
3.ด้านบน
4.ด้านล่าง
5.ด้านซ้าย
6.ด้านขวา

พุทธลักษณะและพิมพ์
1.ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนอาสนะบัวเล็บช้างห้ากลีบ องค์พระปฏิมาเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำ ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มครอบแก้วโค้งรูปเล็บมือแบบโกธิค
2.พระเศียรตั้งตรง พระเกศคล้ายคนสวมหมวกยอดแหลม ไรพระศกเป็นร่อง พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระหนุเล็กแคบ พระกรรณทั้งสองเป็นปมยื่นออกมาคล้ายหูคน
3.พระศอเป็นร่องตื้นลักษณะกลืนหาย
4.พระอังสกุฎเป็นแนวโค้ง พระอุระผายกว้าง พระกฤษฎีคอด
5.ครองพระจีวรบางแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหล่ขวา ชายพระจีวรเป็นเส้นโค้งรัดใต้พระถันวกเข้าซอกพระกัจฉะ พระสังฆาฏิพาดยาวเลยพระนาภีจรดพระหัตถ์
6.พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพรองค์กางออกเล็กน้อย หักพระกัประเข้าในโค้งแบบหลังเป็ด เกิดซอกพระปรัศว์ลึกทั้งสองข้าง พระหัตถ์วางประสานกันบนพระเพลาลักษณะทรงสมาธิเข้าฌานสมาบัติ
7.ทรงประทับนั่งราบ พระชงฆ์ซ้อนกันขวาทับซ้ายบนรัตนบัลลังก์บัวเล็บช้างห้ากลีบชั้นเดียว
8.ผนังด้านพระปฤษฎางค์ปรากฏพระรัศมีประภามณฑลรอบพระเศียรเป็นเส้นลวดรูปกลีบบัว ผนังสอง้างและยอดโค้งแกะสลักลายกนกชัดเจน
9.องค์พระปฏิมาและลายกนกเป็นศิลปะประติมากรรมนูนต่ำ ประดิษฐานภายในแอ่งท้องกระทะ กรอบครอบแก้วทรงโค้งรูปเล็บมือยกสูงขึ้นเสมอองค์พระ กรอบล่างตัดตรงใต้ฐานกลีบบัว ด้านหลังปาดเรียบมีเส้นเป็นทิวลายกาบหมาก

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระเครื่องศิลปะแบบวัดตะกวน(สุโขทัยผสมลังกา) ที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย องค์ที่5 เป็นผู้ให้กำเนิดไว้ที่กรุวัดพระบรมธาตุ ลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร ที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้เมื่อพ.ศ.1900 เป็นพระเครื่องต้นตำรับยุคแรก ต่อมาราวกลางพุทธศตวรรษที่19 กรุงสุโขทัยยุคที่2 เจริญขึ้นมาก มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหลายอย่าง รวมทั้งศิลปะและฝีมือช่างศิลปินก็เปลี่ยนไปด้วย กำแพงเพชรเมืองลูกหลวงเป็นแหล่งกำเนิดพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชรอย่างมากมายเป็นร้อยๆพิมพ์ รวมทั้งพระกำแพงซุ้มกอด้วยที่ยังคงสร้างล้อแบบเดิมเรื่อยมา โดยเปลี่ยนศิลปะไปบ้างเล็กน้อย การสร้างแม่พิมพ์ก็ยังลึกเน้นองค์พระและกนกข้าง เพียงแต่เปลี่ยนรูปพระพักตร์ตามศิลปะที่ประยุกต์ภายหลัง
ยุคที่สองนี้การอบเผายังคงใช้ความร้อนค่อนข้างสูงอยู่ตามเดิม เนื้อพระสีดำหรือสีเขียวอมดำมีจำนวนน้อย จนกระทั่งมีคนทึกทักว่า พระซุ้มกอมีกนกสีดำและเขียวอมดำไม่มี เพราะเป็นสีพิเศษหายาก มีจำนวนน้อยนั่นเอง จึงไม่ค่อยพบเลย
พระเครื่องผงดำหรือผงใบลานเผาเป็นที่นิยมกันในสมัยนี้ การอบเผาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีลายกนก ใช้ไฟอ่อนมาก ว่านที่ผสมอยู่ในเนื้อดินไหม้ดำยังไม่เป็นขี้เถ้า “เนื้อพระจึงดำ” มีความหมายในคุณวิเศษมาก
จาการขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐี ปรากฏว่าพระกำแพงซุ้มกอแต่ละกรุหาได้เหมือนไม่ แต่ละกรุมีไม่มาก ตอนสร้างมีแม่พิมพ์แน่นอนถาวรอยู่แล้ว น่าจะสร้างทีเดียวไว้มากๆ ที่พบแต่ละกรุมีน้อยเหลือเกิน ผู้สร้างยุคหลังคงไม่ใช่พระมหากษัตริย์ แต่เป็นเจ้าเมืองที่ปกครองอยู่ในขณะนั้น โดยสร้างบรรจุกรุสืบต่อพระศาสนาเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

มวลสารใช้สร้าง เนื้อดินละเอียดตามบ่อดิน มีแร่ดอกมะขามผสมอยู่ตามธรรมชาติ หมักในน้ำ ให้เนื้อดินอ่อนลง นำมานวดให้ดินกอดติดกันแน่น ผสมผงว่านที่มีคุณวิเศษตามตำรา ก่อนกดลงแม่พิมพ์จะนวดอีกครั้งว่าเนื้อเต็มพิมพ์แล้วจึงกด เมื่อถอดออกจากแม่พิมพ์ ปาดด้านข้างแต่งพิมพ์ตามกรอบนอก ตากแห้ง เข้าเตาอบเผาไฟอ่อน อุณหภูมิประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส ได้พระดินเผาสีดำ เนื้อดินละเอียดแน่น ผิวเนียน ขี้กรุเป็นผงดินสีเทานวลเคลือบติดแน่นบนผิวตามซอกลึก
ขนาดฐานกว้าง 2.2 ซม. สูง 3 ซม. หนา 5 มม.


พระพุทธคุณ  มีอานุภาพด้านมีลาภ มีรายได้สูง มีความก้าวหน้าสูง อานุภาพดังกล่าวนี้เหมาะสำหรับคนต้องการความก้าวหน้า เป็นเศรษฐีมีทรัพย์


พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์อื่นๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น