พระกำแพงซุ้มกอเขียว
พิมพ์ใหญ่ มีลายกนก หมวดกำแพงเพชร กรุทุ่งเศรษฐี นครชุม กำแพงเพชร
1.ด้านหน้า
2.ด้านหลัง
3.ด้านบน
4.ด้านล่าง
5.ด้านซ้าย
6.ด้านขวา
6.ด้านขวา
1.พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขัดราบ พระวรกายตั้งตรง พระเศียรกลม
พระเมาลีและพระเกศ ลักษณะคล้ายคนสวมหมวกยอดแหลม พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระเนตร พระโอษฐ์รางๆ
พระหนุเป็นลอนเล็ก พระกรรณเป็นตุ่มแนบพระปราง พระศอตื้น พระอุระผายกว้าง
พระอ้งสกุฏใหญ่ พระกฤษฎีคอดกิ่ว ครองจีวรบางแนบเนื้อห่มคลุมเปิดไหลขวา
ผ้าสังฆาฏิพาดยาวเลยพระนาภีจรดพระหัตถ์ พระพาหาทอดกางลงข้างลำพระองค์
หักพระกัประพระกรพับเข้าใน เกิดซอกข้างพระปรัศว์ลึกพองาม
พระหัตถ์ประสานกันวางบนพระเพลา ทรงสมาธิเข้าฌาน ประทับนั่งราบ พระชงฆ์ซ้อนกัน
ขวาทับซ้ายบนบัลลังก์บัวเล็บช้างห้ากลีบชั้นเดียว ด้านพระปฤษฎางค์ปรากฏพระรัศมีประภามณฑลรอบพระเศียร
เป็นเส้นลวดรูปกลีบบัวผนังสองข้างและยอดโค้งแกะสลักลายกนก องค์พระเป็นประติมากรรมนูนต่ำ
ประดิษฐานภายในแอ่งท้องกระทะ กรอบข้างยกขึ้นเป็นสันทรงโค้งรูปเล็บมือสูงเสมอองค์พระ
กรอบร่างตัดตรงใต้ฐานกลีบบัว
2.ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระเครื่องสุโขทัยยุคที่ 3 คือยุคกำแพงเพชร เริ่มเข้าสู่อยุธยาตอนต้น
ปลายสมัยสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ 19 อายุ 600 ปี ยังคงเป็นศิลปะสุโขทัยประยุกต์จากศิลปะสมัยที่
1 และ 2 ให้ความเรียบง่าย ความอลังการน้อยลง เน้นไปที่องค์พระปฏิมาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
ดังเช่นพระเครื่องทุ่งเศรษฐี
ที่ขุดค้นพบเป็นร้อยๆพิมพ์
ยกเว้นพระซุ้มกอที่ยังคง อัตลักษณ์สืบทอดกันมา แต่ลายกนกและฐานบัวจะตื้น ไม่คมชัด
ส่วนอื่นยังคงเดิม ขอบข้างปาดด้วยของมีคมตามกรอบพิมพ์ ด้านหลังเป็นแผ่นเรียบ
จัดสร้างโดยเจ้าเมืองเป็นพิธีหลวง
โดยช่างฝีมือชาวกำแพงเพชร สร้างพระพิมพ์ดินเผาให้มีเนื้อคงทนพอประมาณ ฝังกรุแล้วอยู่ได้นานนับร้อย
นับพันปี คณาจารย์ผู้ทรงอภิญญาพุทธาภิเษกแล้วเก็บรวบรวมไว้ไม่บรรจุกรุใดเป็นการเฉพาะ
แต่จะแบ่งให้ไปร่วมกับพระเครื่องอื่นๆ บรรจุเมื่อมีการสร้างหรือบรรจุพระเจดีย์ที่หักพังลง
เป็นการสืบต่อพระศาสนาตามคติความเชื่อแต่โบราณ พระซุ้มกอจึงเป็นพระฝากกรุ
ขุดพบแต่ละครั้งไม่เกิน 10 องค์หรือ 2-3 องค์หรือไม่มีเลย พระซุ้มกอเขียวชนิดนี้มีเพียง
1 ใน 100 เท่านั้น เป็นดินเผาสีพิเศษ ยากที่ที่นักนิยมพระจะได้บเห็น
บางคนไม่เชื่อว่า พระซุ้มกอจะมีสีเขียวด้วยซ้ำไป
3.มวลสารที่ใช้
ดินละเอียดสีเขียวใบมะกากรอง แร่กรวดออกหมด ผสมผงว่านและผงแร่ดอกมะขามตามตำราโบราณ
สร้างเป็นพระพิมพ์ ตากแห้งใส่หม้อดิน นำเข้าเตาสุมไฟเผาอุณหภูมิต่ำ
พระพิมพ์เริ่มร้อน แร่ดอกมะขามจะละลายสีแดงเข้ม ความร้อนยิ่งสูงขึ้น ดินละลายเป็นเนื้อเดียว
นำหม้อดินออกจากเตาทิ้งให้เย็น ได้พระดินเผาสีเขียวคล้ำ ทั้งองค์
เนื้อหนึกนุ่มแข็งแกร่งพอประมาณ แร่ดอกมะขามแผ่กระจายเป็นจุดเล็กๆ
สีแดงบนผิวสีเขียวคล้ำ ขี้กรุดินละเอียด สีเทาและสีโคลนแห้งติดผิวแน่น ตามขอบข้างและด้านหลัง
คราบกรุเป็นฝ้าขาวบางๆ เคลือบผิวแน่น ตามขอบข้างและด้านหลัง คราบกรุเป็นฝ้าขาวบางๆ
เคลือบผิวด้านหน้า และเป็นแผ่นขาวหนาเล็กติดตามซอกข้างเล็กน้อย ไม่ปรากฏราดำ ผิวเหี่ยวย่นตามธรรมชาติ
ขนาด ฐานกว้าง 2.2 ซม. สูง 3 ซม. หนา 7 มม.
เหมือนของเพื่อนผมทุกอย่างแม้แต่ขนาด
ตอบลบ