พุทธลักษณะ
ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ยกสูงสี่ชั้น ชั้นบนเป็นเกสรบัว
ชั้นกลางเป็นกลีบบัวหงาย ชั้นล่างเป็นฐานแบนหนามีพานรองรับ พระวรกายองค์พระโปร่งเรียว
พระเศียร(ศีรษะ)กลม พระเกศา(เส้นผม)ขมวดเป็นพระศก(ผม)เม็ดกลม พระเมาลี(มวยผม)รวบขึ้นเป็นลอนแบนสองชั้น
ยอดเป็นพระเกศ(ยอดผม)เปลวใจกลางมีอุณาโลม ยอดแหลมพลิ้วรูปคดกริช ไรพระศก(ไรผม)เป็นเส้นโค้งตามกรอบพระพักตร์(ใบหน้า)
พระพักตร์(หน้า)รูปไข่กลมรี ปรากฏพระขนง(คิ้ว) พระเนตร(ตา) พระนาสิก(จมูก)
พระโอษฐ์(ปาก)ชัดเจน พระกรรณ(หู)ยาวจรดพระอังสา(บ่า) พระอุระ(อก)กว้าง
ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภี(สะดือ) พระพาหา(แขน)ทั้งสองข้างทอดลงข้างลำพระองค์
พระหัตถ์(มือ)ขวาวางคว่ำบนพระชานุ(เข่า) พระหัตถ์(มือ)ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก)
พระชงฆ์(แข้ง)ขวาพับเข้าในวางบนพระชงฆ์(แข้ง)ซ้ายลักษณะขัดสมาธิราบ
ด้านข้างพระชานุ(เข่า)ทั้งสองข้างเป็นช่อกนกลายเถาว์ม้วนสูงถึงสุดพระพาหา(แขน)
ด้านหลังเริ่มตั้งแต่พระอังสา(บ่า)เป็นกลีบเกสรดอกไม้สองกลีบประคองประภามณฑล
กรอบเป็นเส้นลวดนูนเล็กรูปกลีบบัว ภายในบรรจุกลีบเกสรดอกไม้เรียงขนานกันขึ้นไป
ยอดกลางสุดเป็นดอกบัวตูม ทั้งหมดไม่มีกรอบ ด้านหลังพระพิมพ์ตรงกลางอูมนูนเล็กน้อย
มีลายนิ้วมือลางๆกดแต่งเป็นคลื่นโค้งลงบรรจบขอบด้านหน้า
1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย
ดินเหนียวมีแร่กรวดทรายเล็กน้อย ผงศิลาแลง บดกรองละเอียด น้ำอ้อย
น้ำผึ้งเคี่ยวเหนียว ผสมโขลกตำเข้ากันเป็นเนื้อเดียวเหนียวปั้นเป็นก้อน กดพิมพ์แบบ
ตากแห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาเนื้อสีแดงอิฐ หยาบเล็กน้อย
แข็งแกร่ง มีคราบไคลขี้กรุ ผิวชั้นล่างเป็นผงดินละเอียดสีเทาติดตามซอกลึกด้านหน้า
ด้านหลังติดบางแห่ง
ขนาด กว้างฐาน 2.5 ซม. สูง 6.5 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง ศิลปะเชียงแสน
เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 มีจารึกวัดพระธาตุจอมกิตติ
วัดโบราณคู่เมืองเชียงแสนระบุว่า วัดนี้สร้างโดยพระเจ้าพังคราช
และพระเจ้าพรหมราชโอรส ในปีพ.ศ.1483 พระพิมพ์เชียงแสนมีมากมายหลายแบบ
อิทธิพลของศิลปะเชียงแสนครอบคลุมนครสำคัญของล้านนาสามารถหาพบได้ในเตจังหวัดเชียงราย
เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูนยุคหลัง พระพิมพ์ปรกโพธิ์มีมากกว่าพิมพ์อื่นๆ
แตกต่างกันทั้งลักษณะปรกโพธิ์ ขนาดฐาน การวางองค์พระ
พระพิมพ์ปรกโพธิ์เนื้อชินสนิมแดง สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 1,000 ปี เป็นศิลปะเชียงแสนยุคต้นร่วมสมัยเทียบเคียงได้กับศิลปะลพบุรียุคต้น
พุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 1,000 ปีที่สร้างพระพิมพ์เนื้อชินสนิมแดง เช่น
พระร่วงยืนปางประทานพรที่มีอย่างมากมายร่วม 30 กรุ พระพิมพ์นาคปรก ฯลฯ
พระพิมพ์เชียงแสนปรกเกสรพิมพ์นี้ มีทั้งเนื้อชินสนิมแดงและเนื้อดินเผา
จึงอนุมานได้ว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 1,000 ปี มีความคมชัดลึกชัดเจน
ผู้สร้างคือช่างหลวงรัฐเชียงแสนนคร ที่มีกษัตริย์ราชวงศ์พระเจ้าพังคราชครองเมือง
พุทธคุณ
พระเครื่องสกุลเชียงแสน มีพุทธคุณสูงในด้านอำนวยโชคลาภ คงกระพันชาตรี มหาอุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น