วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พระนางเหลียว กรุวัดมหาวัน ลำพูน

 

พระลักษณะ องค์พระนางทรงอยู่ในลักษณะเทวรูป ครึ่งองค์ ลอยองค์ ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ เป็นพระพิมพ์มีรายละเอียดเฉพาะด้านหน้า ประติมากรรมเป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์นี้โดยเฉพาะ พระวรกายอวบสมบูรณ์ ปรากฏพระถันทั้งสองข้างแสดงให้รู้ว่าเป็นสตรี พระเศียรสวมเทริดแบบขนนกมีกรอบกระบังหน้า พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระขนงเป็นเส้นยาวนูนติดกัน เชิดปลายขึ้นรูปนกบิน เชื่อมติดสันพระนาสิก มีรอยบุ๋มรูปเมล็ดงากึ่งกลางพระนลาฏเหนือพระขนง พระเนตรเรียวแหลมลืมขึ้น มีจุดกลมเป็นหลุม แสดงถึงดวงพระเนตร พระนาสิกแบนป้าน พระโอษฐ์หนาแย้มเล็กน้อย พระปรางอูมอิ่ม พระกรรณยาวห้อยพระกุณฑลพาดบนพระอังสา พระศอยาวมีเส้นสามลอน สวมสังวาลเหนือพระอุระ ทรงภูษาแนบเนื้อหุ้มพระถันเป็นลอน เปิดพระอุทร พระนาภีบุ๋ม มีเครื่องรัดรูปมงกุฎเหนือพระอุทรยกพระถันขึ้น พระกรทั้งสองยกขึ้นแบพระหัตถ์ไปข้างหน้า ในท่าห้ามสมุทร ลำพระองค์ตั้งแต่พระกฤษฎีลงไปไม่ปรากฏ เป็นการตั้งใจให้ประติมากรรมชิ้นนี้มีเพียงครึ่งองค์เท่านั้น
ด้านหลังผิวเรียบเป็นมัน กดแต่งหนาบางโค้งนูนตามสภาพองค์พระด้านหน้า บรรจบกับขอบข้างเป็นสันคมบางเหมือนคมขวานได้พอดีโดยไม่มีการตัดขอบ

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย ดินเหนียว, กรวดทราย, ผงศิลาแลง, ว่าน108, ข้าวสุกเป็นตัวยึดมวลสาร โลกตำผสมเป็นเนื้อเดียว ใส่น้ำนวดให้ข้นเหนียว ปั้นเป็นก้อน กดพิมพ์แบบ ผึ่งในที่ร่มให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีเหลืองอ่อน แข็งแกร่ง ผิวเรียบ คราบไคลขี้กรุมีเฉพาะด้านหน้าเป็นเม็ดทรายละเอียดผสมผงดินกรุสีดำติดตามซอกลึก มีราดำประปราย พระพิมพ์นี้มีเนื้อหนามาก ถ้าพิจารณาไม่ดีแล้ว อาจคิดว่าเป็นรูปปั้น แล้วมีรายละเอียดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขนาด กว้างฐาน 1.5 ซม. กว้างแนวหน้าอก 3.7 ซม. สูง 6 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยทวาราวดีตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 900 ปี ร่วมสมัยกับยุคลพบุรีตอนต้น ลักษณะพระนาสิกใหญ่ป้าน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์ใหญ่ เป็นศิลปะทวาราวดี ลักษณะทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ทรงเทริดขนนก พระพักตร์สี่เหลี่ยม เป็นศิลปะลพบุรี เมื่อรัฐทวาราวดีที่ละโว้เริ่มเสื่อมอำนาจลง ขอมกัมพูชาได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองรวมทั้งรัฐหริภุญชัยที่เป็นเมืองบริวารเดิมด้วย ผู้สร้างจึงเป็นช่างมอญหริภุญชัยกับช่างขอมละโว้ประยุกต์ศิลปะสองสมัยเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เมื่อพิจารณาให้ดีตามพงศาวดารแล้ว เทวรูปเคารพนี้ ก็คือ พระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีแห่งรัฐนครหริภุญชัยโบราณ ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 1209-1213 พระพิมพ์เป็นรูปสตรีโดดๆหนึ่งเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพระพิมพ์รูปสตรีนี้อีกเลยจนถึงปัจจุบัน

พุทธคุณ พระนางจามเทวีเป็นหญิงชาตินักรบ พุทธคุณจึงสูงด้านคงกระพัน, มหาอุด, แคล้วคลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น