พุทธลักษณะ ปางปฐมเทศนา(นั่งเมือง)
องค์พระประทับนั่งบนพระแท่น ห้อยพระบาทชันพระชานุ(เข่า)ขึ้น พระวรกายตั้งตรง
พระเศียร(ศีรษะ)กลม มีประภามณฑลเป็นวงกลมรอบพระเศียร ภายในเป็นเม็ดไข่ปลา พระเกศา(เส้นผม)เรียบ
พระเมาลี(มวยผม)เป็นต่อมสั้น พระพักตร์(หน้า)รูปไข่ ไม่ปรากฏพระขนง(คิ้ว)
พระเนตร(ตา) พระนาสิก(จมูก) และพระโอษฐ์(ปาก)รางๆ พระกรรณ(หู) พระศอแคบ
ครองจีวรห่มคลุม พระพาหา(ต้นแขน)ทั้งสองข้างทอดลงขนานลำพระองค์ พระกร(แขน)ขวายกขึ้น
พระหัตถ์(มือ)แบออก จีบพระดรรชนี(นิ้ว)แนบพระอุระ(อก) ในลักษณะปฐมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายชำรุดขาดหายไปประทับบนพระแท่น
ห้อยพระบาทประทับบนแท่นฐานดอกบัวกลมใหญ่ ด้านหลังองค์พระเป็นปราสาทสองชั้น
ทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีหลังคาคลุมหน้าจั่วประดับด้วยช่อฟ้า
เหนือประภามณฑลขึ้นไปเป็นปรกกิ่งและใบพฤกษา ปลายยอดโค้งลง
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ด้านหลังผิวเรียบ
ใช้ของมีคมตัดขอบจากด้านหน้าไปหลัง
1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย
ดินเหนียว กรวดทราย ศิลาแลง แกลบข้าว น้ำอ้อยน้ำผึ้งเคี่ยวเหนียว
ผสมโขลกตำเข้าด้วยกัน เหนียวเป็นเนื้อเดียว ปั้นเป็นก้อนกดพิมพ์แบบ ผึ่งให้แห้ง
เผาไฟอุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาเนื้อสีแดง ผิวเรียบแข็งแกร่ง
มีคราบไคลขี้กรุเป็นผงหินปูน ผสมกับผงสีเทาเคลือบหนาบนผิวพระพิมพ์ด้านหน้า
ขนาด ฐานกว้าง 2 ซม. สูง 3.5 ซม. หนา 6 มม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์ดินเผา สมัยทวาราวดีตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 14-15 อายุประมาณ 1,200 ปี
พุทธปฏิมากรรมเป็นศิลปะทวาราวดีผสมศิลปะปาละของอินเดียเข้าด้วยกัน ตามคติหินยานที่แผ่เข้ามาพร้อมกับอารยธรรมของอินเดียรวมทั้งพระพิมพ์ด้วย
พระพิมพ์มีศิลปะและลวดลายวิจิตรอลังการอย่างยิ่ง เชื่อกันว่าเป็นฝีมือช่างหลวง
จากอักษรที่ปรากฏบนแผ่นพระพิมพ์ดินเผาบางองค์
คำจารึกส่วนใหญ่กล่าวว่าสร้างขึ้นเพื่อกุศลผลบุญโดย “พระเจ้ากะละมาแตง”
กษัตริย์ปกครองอาณาจักรนครจำปาศรีโบราณ ปัจจุบันคืออำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พุทธคุณ
ทางด้านแคล้วคลาดสูงมาก
อยู่ใกล้นาดูนแต่เสียดายไม่มีบารมีที่ได้ครอบครองพระกรุนาดูนเลย
ตอบลบ