พุทธลักษณะ
ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ประทับนั่งบนอาสนะฐานบัวฟันปลาชั้นเดียว
พระวรกายอวบอิ่มสมบูรณ์ ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียร(ศีรษะ)สวมเทริดขนนกทรงสูง
พระกรรณ(หู)ห้อย พระกุณฑล(ต่างหู)ยาวพาดพระอังสา(บ่า) พระพักตร์ทรงกระบอกรูปกลอง
พระนลาฏ(หน้าผาก)กว้าง พระขนง(คิ้ว)โค้งยาวติดกัน พระเนตร(ตา)เป็นเมล็ดงา พระนาสิก(จมูก)โด่งเป็นสัน
พระโอษฐ์(ปาก)หนายิ้มเล็กน้อย พระหนุ(คาง)แคบ พระปราง(แก้ม)เรียว
สวมทับทรวงเหนือพระอุระ(อก) ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิพาดยาวคลุมพระถัน(เต้านม)
ขอบสบงยกขึ้นเป็นเส้น พระพาหา(แขน)ทั้งสองข้างทอดลงข้างลำพระองค์ พระหัตถ์(มือ)ขวาวางคว่ำบนพระชานุ(เข่า)
พระหัตถ์(มือ)ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก) พระชงฆ์(แข้ง)ซ้ายพับเข้าในสอดใต้พระชงฆ์(แข้ง)ขวาในท่าขัดสมาธิเพชร
พิมพ์พระลอยองค์ ไม่มีกรอบ ไม่ตัดแต่งขอบข้าง มีเนื้อล้นพิมพ์เล็กน้อย
ด้านหลังเรียบอูมนูน มีลายมือกดแต่งลางๆโค้งลงบรรจบขอบด้านหน้า
อีกแบบมีร่องเป็นรางยาวกดด้วยไม้เหลารูปทรงกระบอก
1.วัสดุที่ใช้สร้าง
ส่วนผสมประกอบด้วยดินเหนียว กรวดทราย ผงศิลาแลง บดกรองละเอียด
น้ำอ้อยน้ำผึ้งเคี่ยวเหนียว ผสมโขลกตำเข้ากันเป็นเนื้อเดียวเหนียว ปั้นเป็นก้อน
กดพิมพ์แบบ ตากแห้ง เผาไฟด้วยอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส ได้ดินเผาสีเหลืองอ่อน
เนื้อหยาบเล็กน้อยแข็งแกร่ง มีคราบไคลขี้กรุเป็นผงดินสีเทาติดตามซอกลึกด้านหน้า
ขนาด กว้างฐาน 2.5 ซม. สูง 4.5 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและการสร้าง เป็นพระพิมพ์พระนางจามเทวีทรงผนวชเป็นภิกษุณีตามขนบธรรมเนียมที่พระมหากษัตริย์ในยุคสมัยก่อนหน้านั้นมักปฏิบัติ
พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตรีแห่งรัฐหริภุญชัยนคร
ขึ้นครองราชย์เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 13 อายุ 1,300 ปี
พระพิมพ์นี้สร้างขึ้นเป็นศิลปะหริภุญชัยยุคปลาย
พุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 1,000 ปี ได้ประยุกต์ฝีมือช่างร่วมกัน
กลายเป็นพิมพ์ที่มีศิลปะสูงส่งแบบหนึ่งผสมศิลปลพบุรี เรียกว่า”ละโว้หริภุญชัย” ผู้สร้างคือชาวมอญโบราณแห่งรัฐหริภุญชัยนครที่รับเอาศิลปะลพบุรีเข้าผสมผสาน
เพื่อระลึกถึงปฐมกษัตรีพระองค์นั้น และนั่นก็เป็นประจักษ์พยานแสดงให้รู้ว่า พระนางจามเทวีปฐมกษัตรีรัฐหริภุญชัยนครมีตัวตนจริง
พุทธคุณ
พระนางจามเทวี เป็นหญิงชาตินักรบ ดังนั้นพุทธคุณจึงสูงด้านคงกระพัน มหาอุด
แคล้วคลาดสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น