พระพิมพ์ซุ้มกระรอกกระแต เป็นพระพิมพ์แบบหนึ่งของพระตรีกาย
โดยมีพระพุทธ 3 องค์รวมอยู่ในพระพิมพ์องค์เดียวกัน องค์กลางคือกายพระพุทธเจ้าหนึ่ง
ด้านข้างสององค์ได้แก่พระธรรมกายคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหนึ่ง
และกายมนุษย์ที่มีการเกิดแก่เจ็บตายอีกหนึ่ง
พุทธลักษณะ
พระพุทธองค์กลาง ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
อง๕พระมีพระวรกายเรียวยาวสมส่วน ทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียร(ศีรษะ)กลมสวมเทริดรูปกลีบบัว
พระเมาลี(มวยผม)(มวยผม)กลมแบน พระเกศ(ยอดผม)เป็นต่อมสั้นรูปดอกบัวตูม พระพักตร์(หน้า)รูปไข่
ปรากฏพระขนง(คิ้ว) พระเนตร(ตา) พระนาสิก(จมูก) พระโอษฐ์(ปาก)รางๆ พระกรรณ(หู)ยาว
สวมสังวาลเหนือพระอุระ(อก) ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิยาวพาดถึงพระนาภี(สะดือ)
พระพาหา(แขน)ทั้งสองข้างทอดลงขนานลำพระองค์ต้นพระพาหา(แขน)สวมพาหุรัด(กำไลรัดต้นแขน)
พระหัตถ์(มือ)ขวาวางคว่ำบนพระชานุ(เข่า)ลักษณะเข่านอก พระหัตถ์(มือ)ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก)
พระชงฆ์(แข้ง)ขวาพับเข้าใน พระชงฆ์(แข้ง)ซ้ายพับเข้าใน สอดใต้พระชงฆ์(แข้ง)ขวาในลักษณะขัดสมาธิเพชร
องค์พระประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ทรงสูง
ฐานกลีบบัวคว่ำและบัวหงายสองชั้นภายในซุ้มเรือนแก้วเสายกสูง
ซุ้มประภามณฑลเป็นอุโมงค์รูปกลีบบัวตามลักษณะพระเศียร(ศีรษะ)
เป็นเส้นขนานกันสามเส้น ปลายล่างเป็นหัวกนกวางบนหัวเสา
ส่วนบนยอดซุ้มมีพุ่มพฤกษาปรกโพธิ์มีทั้งกิ่งและใบ ด้านขวาและซ้ายมีกระรอกและกระแตจับอยู่บนกิ่งข้างละหนึ่งตัว
ด้านขวาและซ้ายพระองค์กลาง
มีพระพุทธยืนสององค์ขนาดเล็กเป็นครึ่งหนึ่งขององค์กลาง ปางสมาธิ
ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรภายในซุ้มเรือนแก้ว บนฐานบัวขีดสามชั้นรองรับด้วยฐานรูปพาน
องค์พระทรงเครื่องราชาภรณ์ พุทธลักษณะเช่นเดียวกับองค์กลาง
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบเส้นนูนแบนสองเส้นขนานกันรูปกลีบบัวขยักเว้าเข้าในบริเวณยอดซุ้มพระพุทธองค์เล็ก
ด้านหลังพระพิมพ์เรียบแบนอมนูนตรงกลางเล็กน้อย
แต่งขอบเอียงบาดบรรจบขอบแม่พิมพ์ด้านหน้าได้พอดี ไม่มีการตัดขอบ
1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย
ดินเหนียว กรวดทราย ผงศิลาแลง บดกรองละเอียด
น้ำอ้อยน้ำผึ้งเคี่ยวเหนียวเป็นเนื้อเดียว ปั้นเป็นก้อน กดพิมพ์แบบ ตากแห้ง
เผาไฟอุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงส้ม ผิวเรียบ
เนื้อหยาบเล็กน้อย แข็งแกร่ง มีกรวดทรายผุดขึ้นบนผิวด้านหลัง
มีคราบไคลขี้กรุเป็นราดำบางๆเคลือบติดผิวชั้นล่างเป็นหย่อมๆ
ชั้นบนปกคลุมด้วยผงดินละเอียดสีเทา ติดตามซอกลึกผิวด้านหน้า
ขนาด กว้างฐาน 6 ซม. สูง 8 ซม. หนา 4 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์ดินเผาสมัยลพบุรีตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ 18 อายุ 800 ปี
พุทธประติมากรรมเป็นศิลปะลพบุรี เป็นพระพิมพ์ที่มีศิลปะสูงแบบหนึ่ง
สร้างตามคติมหายานปนพราหมณ์ผสมศิลปะขอมโบราณ พระเศียร(ศีรษะ)สวมเทริดก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปะขอมลพบุรี
แกะสลักเป็นพระประติมากรรมนูนต่ำ สร้างเป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก มีลวดลายละเอียดคม ลึก
ชัดเจน ได้อย่างวิจิตรอลังการ สวยงาม
โดยช่างชั้นเยี่ยมของขอมที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากบรรพบุรุษขอมโบราณในกัมพูชา
นำมาสร้างฝากฝีมือไว้ในศิลปะลพบุรี บรรจุกรุไว้ที่เขาพนมเพลิง สวรรคโลก
สืบต่อพุทธศาสนาตามความเชื่อในสุวรรณภูมิ คือประเทศไทยในปัจจุบัน
พุทธคุณ
ยอดเยี่ยมด้านแคล้วตลาด คงกระพัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น