พุทธลักษณะ ปางสมาธิองค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ
บนรัตนบัลลังก์ฐานบัวหงายบัวคว่ำ ภายในซุ้มชินรา ส่วนบนยอดซุ้มเป็นปรกโพธิ์
องค์พระมีพระวรกายสมบูรณ์สมสัดส่วน พระเศียร(ศีรษะ)กลม พระเกศา(เส้นผม)เรียบ
พระเมาลี(มวยผม)กลมแบน พระเกศ(ยอดผม)รูปดอกบัวตูมยอดแหลม พระพักตร์(หน้า)รูปไข่ ไม่ปรากฏพระขนง(คิ้ว)
พระเนตร(ตา) พระนาสิก(จมูก) และพระโอษฐ์(ปาก) พระกรรณ(หู)ยาวจรดพระอังสา(บ่า)
ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิพาดยาวจรดพระนาภี(สะดือ ) พระพาหา(ต้นแขน)ทั้งสองข้างทอดลงขนานขนานลำพระองค์
หักพระกัประ(ข้อศอก)เข้าใน พระหัตถ์(มือ)ขวาวางหงายบนพระหัตถ์ซ้ายลักษณะทรงสมาธิ
พระชงฆ์(แข้ง)ทั้งสองพับเข้าใน พระบาท(เท้า)ขวาวางหงายบนพระชงฆ์ซ้าย ในลักษณะขัดสมาธิราบ
ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ายอดโค้งครึ่งวงกลม
ด้านหลังผิวเรียบ กดทับให้แบนด้วยแผ่นไม้ มีรอยเสี้ยนไม้เป็นยาวรางๆ
1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย
ดินเหนียว มีกรวดทรายเล็กน้อย และแร่ดอกมะขามผสมเข้าด้วยกัน บดกรองละเอียด
น้ำอ้อยน้ำผึ้งเคี่ยวเหนียว ผสมโขลกตำเข้ากันเหนียวเป็นเนื้อเดียว ปั้นเป็นก้อน
กดพิมพ์แบบ ผึ่งให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส
ได้พระพิมพ์ดินเผาเนื้อสีแดง นุ่ม ผิวเรียบ แข็งแกร่ง มีคราบไคลขี้กรุเป็นผงดินโคลนละเอียดสีเทาเคลือบติดผิวทั้งหน้าหลัง
ทำให้ผิวสีแดงเป็นสีน้ำตาล มีเม็ดแร่กรวดทรายผุดขึ้นบนผิวบ้างประปราย
ขนาดฐานกว้าง 3 ซม. สูง 5.5 ซม. หนา 6-8 ซม.
2.ยุคสมัยศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์ดินเผาสมัยสุโขทัยตอนปลาย หลังพ.ศ.1900 อายุประมาณ 600 ปีเศษ พุทธประติมากรรมเป็นศิลปะสุโขทัย
สร้างล้อพระพุทธชินราช นับเป็นฝีมือช่างเมืองนครศรีธรรมราชให้จินตนาการไว้
สร้างเป็นพระพิมพ์นูนต่ำ มีความคม ลึก ชัดเจนได้งดงามมากทีเดียว
บรรจุไว้ในกรุโอ่งวัดหัวมีนา ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาเป็นวัดร้าง
มีการขุดพบเมื่อปลายปีพ.ศ.2486 โดยพบกรุอยู่ข้างทาง มีพระพิมพ์อยู่เต็มโอ่ง ต่อมาพระพิมพ์ดังกล่าวนี้
เรียกกันว่า “พระกรุท่าเรือ” จัดเป็นพระเครื่องชั้นนำของภาคใต้
พุทธคุณ
มหานิยม, แคล้วคลาดและเป็นพระหมอ ฝนทาหรืออาราธนาทำน้ำมนต์รักษาโรคได้อีกทางหนึ่งด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น