วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย 1

 
"องค์มหาบุญ"

พระองค์นี้เป็นพิมพ์ของหลวงวิจารณ์ เจียรนัย ได้ทาชาดทับด้วยรักดำและปิดทอง เป็นพระที่ทำให้เจ้านายชั้นสูง สำหรับคนทั่วไปจะทาด้วยรักน้ำเกลี้ยงหรือรักสมุก(รักดำ) หรือยางไม้ จะไม่ใช้ชาดทา ชาดจะใช้สำหรับเจ้าเท่านั้น  เวลาผ่านไปรักที่ทาไว้หนา จะหลุดร่อนเป็นแผ่น ที่ยังติดอยู่ก็จะมีความแห้งและเหี่ยวในตัว ทำให้ง่ายต่อการพิจารณา


หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ (หลวงวิจารณ์เจียรนัย)

1. ให้สังเกตเส้นซุ้มครอบแก้วเป็นอันดับแรก คือ เส้นซุ้มครอบแก้วทั้งเส้นซ้ายและเส้นขวามือพระ จะโย้ไปทางซ้ายมือพระทั้งหมด จึงทำให้เกิดดังนี้ เส้นกรอบแม่พิมพ์ทางขวามือพระซึ่งเป็นเส้นนูนเส้นเล็ก ๆ ลากลงมาจากด้านบนและจะเริ่มแนบเส้นซุ้มครอบแก้ว ตั้งแต่บริเวณหัวเข่าขวาพระจรดเส้นซุ้มด้านล่างสุด
2. ส่วนเส้นกรอบแม่พิมพ์ทางด้านซ้ายมือพระจะลากลงมาจากด้านบนและจะแนบเส้นซุ้มครอบแก้วตั้งแต่กึ่งกลางแขนถึงปลายข้อศอกซ้ายพระและจะกลืนหายไปกับเส้นซุ้มครอบแก้ว
3. เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะเป็นปลีเรียวเล็ก คือโคนเกศจะใหญ่กว่าปลายเกศเล็กน้อย และจะพุ่งขึ้นจรดซุ้มทุกแม่พิมพ์ของพิมพ์ใหญ่ และเกศจะเอียงไปทางซ้ายพระเล็กน้อย
4. รูปหน้าของสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะคล้ายผลมะตูม เฉพาะบางแม่พิมพ์จะมีโหนกยื่นทางแก้มขวาพระ ส่วนถ้าแม่พิมพ์กดได้ลึกคมชัด จะเห็นหูซ้ายพระเป็นเส้นทิ้งตรงลงมา แต่จะเห็นแบบราง ๆ เท่านั้น
5. ให้สังเกตความกว้างของรักแร้ คือความกว้างจากรักแร้ถึงหัวไหล่ ด้านบนทางด้านขวามือพระจะหนา ส่วนทางด้านซ้ายมือพระจะบางกว่า
6. ให้สังเกตลำตัวและวงแขนพระจะนั่งบิดตัวไปทางขวาเล็กน้อยและแขนขวาพระจากหัวไหล่ถึงข้อศอกจะแลดูสั้น ส่วนทางซ้ายพระจากหัวไหล่ถึงข้อศอก จะแลดูยาวกว่า
7. ซอกรักแร้ข้างซ้ายพระช่างจะแกะแม่พิมพ์ลึกกว่าข้างขวามือพระและจะแกะแม่พิมพ์ให้ลาดเอียงจากข้างเอวพระทั้งสองข้างจะตื้น และลาดลงลึกสุดที่รักแร้พระ
8. หัวฐานชั้นบนสุดข้างซ้ายพระจะเตี้ยกว่าหัวเข่าข้างซ้ายพระเล็กน้อย และหัวฐานนี้จะยาวกว่าหัวเข่าเล็กน้อย ส่วนหัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือแค่เสมอหัวฐานชั้นบนข้างขวาพระ
9. หัวฐานชั้นล่าง ด้านขวามือพระช่างจะแกะแม่พิมพ์เฉียงเล็กน้อย และหัวฐานเกือบชิดเส้นซุ้ม
10. หัวฐานชั้นล่างด้านซ้ายมือพระ ช่างจะแกะหัวฐานค่อนข้างตรงและห่างเส้นซุ้ม
11. พื้นที่ ถ้าผู้อ่านลองส่องพระย้อนกลับคือให้ส่องจากเกศพระไล่ลงมาจะได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นคือ พื้นที่ตั้งแต่เกศจะต่ำและลาดสูงขึ้นไปจนถึงข้างแขนพระทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
12. แขนซ้ายพระตั้งแต่หัวไหล่ถึงข้อศอกช่างจะแกะแม่พิมพ์ต่ำกว่าข้างขวาพระและแกะหัวไหล่ต่ำลาดสูงขึ้นไปจนถึงข้อศอก
13. ร่องฐานระหว่างหน้าตักกับฐานชั้นบน ร่องฐานทางขวาจะตื้นและลาดลง จะลึกสุดคือปลายด้านซ้าย
14. ร่องฐานระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลาง พื้นที่ในร่องฐานจะเสมอภายนอก


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ






พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ 3

 

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ 2

 

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ 1

 

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เกศอุณาโลม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ฯ กทม.

 



พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร พิมพ์ 7 ชั้น หูติ่ง

 

พระสมเด็จหลวงพ่อโชติ วัดตะโน บางแวก ภาษีเจริญ กทม.

 

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ น้ำมันตังอิ้วหดตัวเป็นเม็ดผด สภาพเดิมๆ

 
"องค์มหาโชค"

ตำหนิพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ
1. กรอบนอกขององค์พระทั้ง 4 ด้าน เป็นกรอบเส้นนูนทั้งสี่ด้าน
2. กรอบแม่พิมพ์ด้านขวาขององค์พระจะเป็นเส้นนูนแล่นลงมาตลอดและชิดกับซุ้มเรือนแก้วด้านร่างสุด
3. เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านข้างซ้ายมือองค์พระ จะเป็นเส้นนูน แล่นลงมาถึงระหว่างข้อศอกขององค์พระ
4. เส้นซุ้มเรือนแก้วค่อนข้างใหญ่นูน  ด้านขอวซุ้มเรือนแก้วเป็นลักษณะเหมือนเส้นหวายผ่าซีก ด้านในจะเป็นเส้นตรงตั้งฉากพื้นองค์พระ ซุ้มเรือนแก้วด้านนอกจะเทลาดเองลงเล็กน้อย
5. พระพักตร์จะเป็นลักษณะเป็นผลมะตูมเหมือนกัน ต่างกันที่อ้วนกว่ากันเท่านั้น
6. พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์จะมีหูทั้ง2ข้าง แต่ถ้าพิมพ์จะเห็นชัด ซึ่มีท่านผู้รู้ให้กำจัดความไว้ดีมากว่า "เห็นหูรำไร อยู่ในที" 
7. ตรงส่วนโค้งของลำแขนติดกับหัวไหล่ด้านขวาขององค์พระจะมีเนื้อหนาและมีส่วนกว้างกว่าหัวไหล่ด้านซ้ายขององค์พระ
8. หัวเข่าข้างซ้ายขององค์พระจะนูนสูงกว่าหัวฐานด้านบน
9. หัวเข่าข้างขวาขององค์พระจะนูนต่ำกว่าหัวฐานด้านบนสุด
10. พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ พิจารณาให้ดี จะเห็นองค์พระประธานท่านหันตะแคงไปทางด้านขวาขององค์พระเล็กน้อย
11. พื้นระหว่างหัวเข่าองค์พระกับฐานชั้นที่1 และพื้นระหว่างฐานชั้นที่2กับฐานชั้นที่3จะสูงกว่าพื้นในระหว่างฐานชั้นที่1 กับฐานชั้นที่2 พื้นในระหว่างฐานชั้นที่1กับฐานชั้นที่2จะสูงเสมอกับพื้นรอบองค์พระประธาน
12. พื้นในซุ้มเรือนแก้วจะต่ำกว่าพื้นนอกซุ้มเรือนแก้วเล็กน้อย จนดูเกือบไม่ออก ต้องใช้วิธีตะแคงพระดูถึงจะเห็นความสูงต่ำได้ 

สำหรับองค์  "มหาโชค" เป็นพระเก็บสภาพเดิม จะเห็นเม็ดสีน้ำตาลเล็กๆ เป็นเม็ดผด เป็นคราบน้ำมันตังอิ้วแห้งสนิทหดตัว (ถือเป็นพระสมเด็จฯอีก องค์หนึ่งที่เป็นกรณีศึกษา) มีคราบแป้งโรยพิมพ์ติดอยู่ทั่วไปทั้งองค์พระ ส่วนด้านข้างจะแห้งหดตัวเป็นระแหงตามธรรมชาติเก่าร้อยกว่าปี


พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์อื่นๆ