พุทธลักษณะ
ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวสองชั้น บัวหงายห้ากลีบ
บัวคว่ำห้ากลีบ พระวรกายอวบ พระเศียรทรงเทริด พระเมาลีเป็นลอน
พระเกศมาลาทรงกรวยยอดแหลม มีไรพระศกเป็นเส้นกรอบพระพักตร์ พระพักตร์รูปผลมะตูม
พระนลาฏแคบ พระขนงโก่งโค้ง พระเนตรรูปเมล็ดงา พระนาสิกแบน พระหนุป้านเหมือนคางคน
พระปรางอวบอิ่ม พะกรรณยาวจรดพระอังสา พระสอแคบ พระอุระกว้าง
ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง สังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภี ขอบสบงยกขึ้นเป็นเส้น
พระพาหาทั้งสอง้างทอดลงขนานลำพระองค์ หักพระกัปประพระกรขวายกขึ้น พระหัตถ์คว่ำวางบนพระชานุ
พระกรซ้ายโค้งลง พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา พระชงฆ์ขวาพับเข้าใน
วางราบบนพระชงฆ์ซ้ายที่พับเข้าใน ประทับบนฐานบัวภายในซุ้มเรือนแก้วเส้นนูนใหญ่เป็นประภามณฑล
ตามรูปพระเศียรยอดแหลม ประดับด้วยกลีบบัว หัวซุ้มเป็นกระจังกนก
ตั้งบนเสาสูงระดับพระอังสา
ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบข้างขนานตัดยอดเป็นสามเหลี่ยมตามซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเรียบ
กดแต่งมีลายนิ้วมือรางๆเป็นคลื่น ขอบข้างและใต้ฐานตัดเรียบด้วยของมีคม
1.วัสดุที่ใช้สร้าง
ส่วนผสมประกอบด้วยดินเหนียว กรวดทราย แร่ดอกมะขาม บดกรองละเอียด
ใช้ข้าวสุกเป็นตัวประสานยึดเหนี่ยวเป็นกาว นวดเข้ากันให้เหนียวกดพิมพ์แบบ นำไปตากแห้ง
เผาไฟอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีผิวไผ่รวกแห้งคราบแดง
เนื้อจับตัวแน่นหยาบเล็กน้อย บรรจุในโถแห้งสะอาด จึงมีขี้กรุน้อย
มีเพียงผงฝุ่นละเอียดเคลือบบางๆติดผิว
ขนาดฐานกว้าง 3 ซม. สูง 5.5 ซม. หนาโดยรวม 1ซม.
2.ยุคสมัยศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรีตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 อายุ 600 ปีร่วมสมัยกับยุคสุโขทัยตอนต้น
แต่ยังคงศิลปะลพบุรีอยู่ พุทธศิลป์เป็นศิลปะลพบุรี
ทรงเครื่องสวมพระเศียรคติพุทธศาสนานิกายมหายานปนพราหมณ์ผสมศิลปะขอมโบราณ
สร้างโดยช่างขอมและช่างไทย ขุดพบตามเนินดินที่เป็นอดีตโบราณสถาน ผุพังตามกาลเวลาพ้นสภาพจะสังเกตได้ว่าเป็นกรุบรรจุพระบูชาและพระพิมพ์
พุทธคุณ
แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น