วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

พระนาคปรกซุ้มเรือนแก้ว กรุลพบุรี

 

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนวัชรอาสน์บัวหงายบัวคว่ำ และบัวขีดสองชั้น พระวรกายรูปสามเหลี่ยม พระเศียรทรงเทริดแบบชีโบ ไรพระศกเป็นเส้นกรอบพระพักตร์  พระเกศมาลาเป็นต่อมกรวยสั้น พระพักตร์เสี่ยมเล็กเรียบไม่ปรากฏละเอียด พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระศอสั้นแคบ  พระอุระกว้าง ครองจีวรแนบเนื้อห่มคลุม ขอบสบงยกขึ้นเป็นเส้น พระพาหาทั้งสองข้างทอดลงขนานลำพระองค์ หักพระกัประ พระกรโค้งเข้าหากัน พระหัตถ์ขวาประสานวางบนพระหัตถ์ซ้าย หงายบนพระเพลา พระชงฆ์ขวาหักเข้าในวางบนพระชงฆ์ซ้าย องค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เส้นลวดสามเส้นขนานซ้อนกันขยักโค้งเข้าหากลางซุ้ม มีพญานาคห้าเศียรอ้าปากแผ่พังพานปรกด้านพระปฤษฎางค์พระเศียร ขอบโดยรอบซุ้มประภามณฑล ประดับด้วยกลีบบัวรูปกนกใบเทศ ส่วนยอดเป็นบัวตูมขยายกลีบด้านข้าง ฐานซุ้มเรือนแก้วตั้งบนเสาสูง หัวเสาเป็นกลีบบัวหงาย ตั้งบนเส้นขีดสองเส้น ฐานล่างเสาเป็นบัวคว่ำ ทั้งหมดอยู่ในกรอบโค้ง ยอดแหลมฐานตัด รูปปลายใบหอก
ด้านหลังพระพิมพ์อูมนูนเหมือนไข่ผ่าซีก มีลายนิ้วมือกดแต่งรางๆ โค้งลงบรรจบกรอบด้านหน้า ฐานหนาปลายเรียว ไม่มีการตัดขอบโดยรอบ

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วยดินเหนียว กรวด ทราย แร่ดอกมะขาม ข้าวสุกเป็นตัวประสานยึดเหนี่ยวเหมือนกาว ผสมนวดเข้ากันให้เหนียว กดพิมพ์แบบ ตากแห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงอมชมพู เนื้อละเอียดแข็งแกร่ง คราบไคลขี้กรุ ชั้นล่างเป็นรารักสีดำ เคลือบผิวอยู่ ชั้นบนเป็นผงดินละเอียดคลุมเฉพาะด้านหน้าตามสภาพการวางบรรจุในกรุ
ขนาดกว้างฐาน 4 ซม. สูง 6 ซม. หนา 0.5-1 ซม.

2. ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรีตอนต้น สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 900 ปีร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่7 แห่งกัมพูชา สร้างโดยขอมกัมพูชา ซึ่งครองเมืองลงประ แล้วแผ่ขยายอำนาจเข้าครอบครองอาณาจักรทวาราวดี สุวรรณภูมิเดิม พุทธศิลป์พระพิมพ์เป็นศิลปะลพบุรีแต่งองค์ทรงเครื่อง คติพุทธศาสนานิกายมหายานปนพราหมณ์ผสมศิลปะขอมสมัยบายน พระพิมพ์ค้นพบที่ลพบุรี ฝีมือช่างขอมและช่างไทยมากถึง 80% ขุดได้ตามเนื้อดินเป็นส่วนมาก

พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุดและเมตตามหานิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น