พระพิมพ์ 3 องค์รวมกันเรียกว่า
“พระตรีกาย”เป็นคตินิยมพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ตรีกายนี้หมายถึง
พระพุทธเจ้าคือพระกายมนุษย์ เมื่อตรัสรู้แล้วอันเป็นกายบริสุทธิ์
หนึ่ง
พระธรรมกาย คือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
หนึ่ง
และพระกายมนุษย์มีการเกิดแก่เจ็บตาย หนึ่ง
พุทธลักษณะ พระพุทธองค์กลางปางมารวิชัย
ประทับนั่งบนบัลลังก์ สามชั้นรูปพาน มีเส้นลวดยาวเป็น ผ้าพระสุจหนี่
(ผ้าปูรองนั่ง) องค์พระทรงเครื่องราชาภรณ์ พระเศียรทรงเทริดกลีบบัว พระเมาลี
เป็นต่อม พระเกศารูปดอกบัวตูม พระพักตร์ไม่ปรากฏรายละเอียด
พระกรรณห้อยพระกุณฑลยาวจรดพระอังสา พระศอแคบ พระวรกายอ่อนโยนนุ่มนวล พระอุระกว้าง
ครองจีวรแนบเนื้อห่มเฉียง พระกฤษฎีคอด พระพาหาทั้งสองข้างทอดลงขนานลำพระองค์ หักพระกัประ
พระกรขวายกขึ้น พระหัตถ์วางคว่ำบนพระชานุ พระกรซ้ายโค้งลง พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
พระชงฆ์ขวาหักเข้าในวางราบบนพระชงฆ์ซ้าย
องค์พระประทับนั่งในประภามณฑลซุ้มเรือนแก้ว เป็นเส้นลวดสองเส้นคู่ขนาน
ขยักเป็นสองลอนยอดแหลม ปลายล่างขมวดหัวกนกใบเทศ ตั้งบนหัวเสาสูงรูปพาน
ยอดซุ้มเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ ทรงสูงคล้ายยอดปราสาทนครวัดของขอม ก่อนดัดแปลงมาเป็นพระปรางค์ทรงฝักข้าวโพดแบบไทย
ด้านซ้ายและด้านขวาองค์พระพุทธกลาง
เป็นพระพุทธขนาดย่อส่วนลงครึ่งหนึ่ง ปางสมาธิ
ทรงเครื่องราชาภรณ์เช่นเดียวกับองค์กลาง ประภามณฑลเป็นเส้นลวดเล็กโค้งรอบพระเศียร
ส่วนยอดเป็นดอกบัวตูมสามดอก ดอกกลางใหญ่ ดอกข้างเล็ก
ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบโค้งยอดแหลมรูปปลายใบหอก
ฐานตัด ขอบนอกเป็นเส้นลวดนูนกลมใหญ่ขยักเว้าเข้าในเป็นหัวกนกระดับกึ่งกลางพระพิมพ์
ด้านหลังพระพิมพ์เรียบโค้งอูมนูนน้อยๆ
ลาดลงขอบข้าง ปรากฏลายมือลางๆ กดแต่งอยู่ทั่วไป
ขอบข้างตัดเรียบจากด้านหน้าสอบเข้าด้านหลังด้วยของมีคม
1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วย
ดินเหนียว และแร่ดอกมะขาม ไม่มีกรวด ทราย ใช้ข้าวสุกเป็นกาวประสานยึดเหนี่ยว
นวดผสมเข้ากันให้เหนียว กดพิมพ์แบบ ตากแห้งเผาไฟด้วยอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส
ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดงชมพู เนื้อละเอียดแข็งแกร่ง คราบไคลขี้กรุเป็นรารักสีดำ
เคลือบผิวอยู่ด้านล่าง ส่วนบนเป็นผงฝุ่นดินละเอียดคลุมอยู่บางๆ ด้านหน้าขี้กรุมาก
ด้านหลังน้อย ตามสภาพการวางบรรจุในกรุ
ขนาดองค์พระ กว้างฐาน 4.5 ซม. สูง 5.7 ซม.
ขนาดองค์พระ กว้างฐาน 4.5 ซม. สูง 5.7 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เป็นพระพิมพ์สมัยลพบุรี สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 อายุ 900 ปี
ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกัมพูชา สร้างโดยขอม กัมพูชา
ซึ่งครองเมืองลงประ แล้ว แผ่ขยายอำนาจครอบครองอาณาจักรทวาราวดี สุวรรณภูมิ
พระพุทธศิลป์พระพิมพ์เป็นศิลปะลพบุรี แต่องค์ทรงเครื่อง
คติพุทธศาสนานิกายมหาญาณปนพราหมณ์ผสม ศิลปะขอมสมัยบายน พระพิมพ์ค้นพบที่ลพบุรี
ฝีมือช่างขอมแบะช่างไทยมากถึง 80%
ขุดได้ตามเนินดินเป็นส่วนมาก
พุทธคุณ
แคล้วคลาด, คงกระพัน, มหาอุด และเมตตามหานิยม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น