วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

พระนาคปรกนาดูน พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2

 

พระนาคปรกนาดูน พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 นครจำปาศรีโบราณ กรุอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

พุทธลักษณะ ปางสมาธิ องค์พระประทับนั่งสมาธิ พระชงฆ์ขัดไขว้เป็นเอกลักษณ์ พระพิมพ์นาดูนบนรัตนบัลลังก์ฐานบัวเม็ดสองชั้นทรงสูง พระเศียรองค์พระแบนโค้ง ไม่ปรากฏพระเกศาและพระเกศ พระพักตร์เรียบโค้งแบน ไม่ปรากฏพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ และพระกรรณ พระศอสั้น พระอุระนูนเป็นสันโค้งติดกับอังสา เชื่อมต่อพระพาหาทั้งสองข้าง ทอดลงข้างลำพระองค์ พระกรขวาเป็นเส้นนูนโค้งลงประสานกับพระกรซ้ายหงายพระหัตถ์บนพระเพลา เบื้องพระปฤษฎางค์ พระเศียรมีพระรัศมีประภามณฑลเป็นเส้นนูนโค้งรอบพระเศียร ด้านนอกมีพญานาคเจ็ดเศียรแผ่พังพานปรกอยู่
ทั้งหมดรวมอยู่ในกรอบพิมพ์ยาวรูปใบพาย ด้านหลังขรุขระเป็นคลื่น กดแต่ง เนื้อดินโค้งลงบรรจบกรอบด้านหน้าเป็นขอบสันบาง

1.วัสดุที่ใช้สร้าง ส่วนผสมประกอบด้วยดินเหนียวบดกรองละเอียด กรวดทรายกรองละเอียด และผงศิลาแลงผสมเข้าด้วยกันนวดให้เหนียว พิมพ์แบบ เผาไฟด้วยอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์เป็นดินเผาสีแดงอ่อนเนื้อแน่นแข็งแกร่ง บรรจุในกรุพระเจดีย์ เกิดคราบไคลกรุเป็นผงหินปูนสีขาวติดแน่นบนผิวชั้นแรกตามส่วนลึก ตามด้วยผงฝุ่นสีเทาดำละเอียดปกคลุมผิวบนอีกชั้น ทั้งด้านหน้าและหลัง
ขนาดพระพิมพ์ กว้าง 3 ซม. สูง 8 ซม. หนา 1.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง สร้างยุคสมัยทวาราวดีตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 14-15 อายุประมาณ 1,300 ปี เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะทวาราวดีกับศิลปะลพบุรี ที่สืบทอดมาจากศิลปะของขอมกัมพูชา เป็นปางนาคปรกตามคติพุทธมหายาน จากอักษรที่ปรากฏบนแผ่นพระพิมพ์ดินเผาบางองค์ คำจารึกส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อกุศลผลบุญโดย “พระเจ้ากะลามาแตง” กษัตริย์มอญปกครองอาณาจักรนครจำปาศรีโบราณ ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

พุทธคุณ ทางด้านแคล้วคลาดสูงมาก

1 ความคิดเห็น: