พระนางกำแพงอู่ทอง พิมพ์อู่ทอง กรุลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร
กำแพงเพชรกับเมืองอู่ทองมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมากและคุณวิเศษด้านโชคลาภ ด้านเงินทอง
ก็เป็นคุณวิเศษของพระเครื่องทุ่งเศรษฐี
การพิจารณาเรียกว่าทรงอู่ทองหรือศิลปะอู่ทองควรจะมีลักษณะดังนี้
ก.พระพักตร์ ควรจะยาวสักหน่อย
การเปรียบเทียบระหว่างพระองค์เล็กหารายละเอียดแบบพระพุทธรูปยาก
ข.องค์พระ มีส่วนสูงชะลูดมากกว่าศิลปะแบบอื่น
ค.องค์พระ จะแบนไม่นูน
ง.ส่วนท้อง ไม่นูนเป็นลอน
จ.หน้าตัก จะเว้ากลาง
ฉ.ลำขา
ส่วนมากเท่าที่เห็นมีขนาดใหญ่คล้ายศิลปะเชียงแสน
ช.พระพิมพ์มีกรอบนอกเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วฐานแคบ
พุทธลักษณะ
1. องค์พระประทับนั่งราบ ปางมารวิชัย
พระเศียรเล็กกลม พระศกเรียบ พระเมาลีเป็นมวยเล็กสามชั้น พระเกศรูปดอกบัวตูม
พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์และพระกรรณรางๆ พระศอเป็นร่องตื้น
2. พระอังสากว้างสมส่วน พระอุระแนบนูนเล็กน้อย
ครองจีวรแนบเนื้อ ห่มดองเปิดไหล่ขวา เส้นจีวรเป็นร่องพาดโค้งลงใต้พระถันขวา
พระกฤษฎีเรียวคอดไม่มีลอนท้อง พระพาหาทอดลงข้างลงลำพระองค์ พระกรขวายกขึ้น
พระหัตถ์วางคว่ำกุมพระชานุ ลักษณะเข่านอก พระกรซ้ายยกขึ้นเฉียงลงแนบพระอุทร
พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
3. ประทับนั่งราบ พระเพลาใหญ่
พระชงฆ์และพระบาทขวาวางซ้อนบนพระชงฆ์ซ้ายบนรัตนบัลลังก์เป็นแท่นยาวตลอดพระเพลา
4. องค์พระเป็นประติมากรรมนูนต่ำ
ประดิษฐานภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เส้นกรอบตัดชิดองค์พระ
ด้านหลังพระพิมพ์เป็นแผ่นเรียบ ความหนาของพระพิมพ์ที่สันกรอบจัดว่าบาง
เช่นเดียวกับพระนางกำแพงสามเหลี่ยมพิมพ์ตื้น
ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระนางกำแพงเป็นพระเครื่องที่กำเนิดขึ้นโดยพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย
เป็นผู้สร้างไว้แต่อดีตกาล มีพุทธศิลปะเป็นยอดประติมากรรมอันสูงค่า ซึ่งศิลปินแห่งช่างกำแพงเพชรได้จินตนาการผนึกไว้ในพระพิมพ์นี้ด้วย
ศิลปะสุโขทัยไว้อย่างงดงามยิ่ง
พระนางกำแพง มีปัญหาในดารเรียกชื่อมากที่สุด
เพราะผู้สร้างไม่ยึดหลักเกณฑ์ที่แน่นอน พระแบบเดียวกันตัดปีกก็มี ไม่ตัดปีกก็มี
นักขุดจึงไม่สามารถตั้งชื่อได้ครบทุกพิมพ์ อย่างไรก็ดี นักขุดยังกำหนดความแตกต่างของแบบพระไว้คร่าวๆ
อาศัยรูปพระส่วนใหญ่ให้เป็นที่สังเกต
กำแพงเพชรเป็นที่รวมของศิลปะพระเครื่องหลายสมัย ตั้งแต่สุโขทัย เชียงแสน อู่ทอง
และกำแพงเพชรเอง พระนางกำแพงอู่ทองก็เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่รวมเอาศิลปะสุโขทัย
กำแพงเพชร กับศิลปะอู่ทองเข้าด้วยกัน แล้วจัดเข้าเป้นพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร
ศิลปะอู่ทองนั้นมักจะสร้างกันเฉพาะพระบูชาเท่านั้น
ศิลปะสมัยอื่นมักจะประยุกต์เอาศิลปะอู่ทองเข้ามาผสม
และการตั้งชื่อพระพิมพ์มักจะมีคำว่า “อู่ทอง” กำกับไว้ด้วย
มวลสารที่ใช้สร้าง
เนื้อดินเผา วัสดุส่วนใหญ่คือดินละเอียดมีแร่ดอกมะขามปนอยู่ด้วย
บดกรองเม็ดกรวดออกหมด ผสมด้วยว่านพืชสร้างเป็นพระพิมพ์รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
เข้าเตาอบเผาไฟ ได้พระดินเผาสีผิวไผ่แห้ง เนื้อละเอียดหนึกนุ่ม
มีแร่ดอกมะขามถูกความร้อนละลายเป็นจุดสีแดงเล็กๆลอยขึ้นบนผิว รวมทั้งราคาจุดเล็กๆ
งอกขึ้นบนผิวทั้งหน้าและหลังเป็นไปตามธรรมชาติ ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถปลอมแปลงได้
ขนาดฐานกว้าง 1.5 ซม. สูง 2.5 ซม. ขนาดสันกรอบ
0.2 ซม.
พุทธคุณ
พระพิมพ์กำแพงเพชรโดยเฉพาะ เนื้อดินเผานั้น
เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่า มีอานุภาพยอดเยี่ยมทางด้านโชคลาภ และเมตตามหานิยม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น