วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระนางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์ลึก ดินเผาสีแดง กรุวัดพิกุล ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

 


พระนางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์ลึก ดินเผาสีแดง กรุวัดพิกุล ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

กรุวัดพิกุล เป็นวัดหนึ่งอยู่ในอาณาบริเวณทุ่งเศรษฐี เป็นวัดร้าง เป็นวัดเดียวที่มีชื่อมากในเรื่องพระเครื่องสกุลทุ่งเศรษฐี เช่น พระซุ้มกอ, พระเม็ดขนุน, พระว่านหน้าทอง แม้กระทั่งพระนางกำแพง พระเคราองกรุนี้นอกจากจะมีเนื้อนุ่มจัดแล้ว พิมพ์ขององค์พระเท่าที่ปรากฏแต่ละแบบมักอ่อนไหว สมส่วน งามหาที่ติมิได้ แต่ละองค์จะคงไว้ซึ่งศิลปะสุโขทัย เต็มอิ่มและบริสุทธิ์ทีเดียว

พุทธลักษณะ
1.องค์พระปฏิมา ประทับนั่งราบปางมารวิชัย พระเศียรกลม พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นมวยเล็ก พระเกศารูปดอกบัวตูม พระพักตร์ทรงผลมะตูม ปรากฏพระเนตร และพระนาสิกรางๆ พระกรรณเป็นเส้นกลืนหายไปกับพระปราง พระศอเป็นร่อง
2.พระอุระอวบอูมแบบนักกล้าม พระอังสากว้างใหญ่ พระกฤษฎีคอดกิ่ว พระอุทรเป็นลอน พระพาหาทอดลงกางออกเล็กน้อยข้างลำพระองค์ หักพระกัประ พระกรซ้ายโค้งเข้าในหงายพระหัตถ์วางบนพระเพลา
3.ประทับนั่งราบ พระเพลากว้าง พระชงฆ์และพระบาทขวาวางราบบนพระชงฆ์ซ้าย ยกลอยบนอาสนะเป็นเส้นหวายผ่าซีกชั้นเดียวยาวตลอดช่วงพระเพลา
4.องค์พระเป็นประติมากรรมนูนต่ำลอยองค์ ประดิษฐานภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านพระปฤษฎางค์เป็นพื้นผนังแบนเรียบไม่มีเครื่องประดับตกแต่ง ส่วนด้านหลังพระพิมพ์แบบเรียบ ความหนาด้านข้างสัน กรอบพระพิมพ์จัดว่า เป็นพระเครื่องที่บางที่สุด เช่นเดียวกับพระนางกำแพง พิมพ์ตื้น

ยุคสมัยและผู้สร้าง
ตามหลักฐานจากศิลาจารึกนครชุมหลักที่3 ควบคู่กับใบลานเงินที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมนั้น เป็นข้อมูลบ่งชี้ว่า พระเครื่องต่างๆ รวมทั้ง พระนางกำแพงที่พบในกรุ วัดบรมธาตุเมื่อพ.ศ.2392นั้น ในสมัยสุโขทัยช่วงระยะ พ.ศ. 1900 พระมหาธรรมราชาลิไท ได้เสด็จไปสถาปนาวัดพระบรมธาตุ ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ และบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวเกี่ยวกับพระศาสนาไว้ ณ ที่นครชุมอีกเป็นอันมาก
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร สมัยเริ่มแรก พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์อำนวยการสร้าง โดยฝีมือช่างชาวกำแพงเพชร เป็นผู้รังสรรค์ผลงานให้เป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ มีความเรียบง่าย เน้นให้องค์พระปฏิมาโดดเด่นที่สุดและสวยงามที่สุด จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพิมพ์ศิลปะสุโขทัยยุคทองและรุ่งเรืองที่สุดที่เรียกว่า “คลาสสิเคิล สุโขทัย พีเรียด” พระนางกำแพงนี้ หลังจากได้เผยโฉมออกจากกรุปฐมฤกษ์เมื่อ พ.ศ.2392 แล้วนั้น ก็เริ่มได้มีการขุดหาพระเครื่องทางฝั่งนครชุมและฝั่งตะวันออกของจังหวัดกำแพงเพชรเรื่อยมา กรุวัดพิกุลก็เป็นกรุหนึ่งได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดบรมธาตุไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างๆเกือบทุกแบบ เช่นเดียวกับกรุวัดพระบรมธาตุนั่นเอง

มวลสารใช้สร้าง
เนื้อดินเผา วัสดุส่วนใหญ่คือดินละเอียด มีแร่ดอกมะขามโดยธรรมชาติ บดกรองเอากรวดแร่ก้อนใหญ่ออกหมด ผสมว่านศักดิ์สิทธิ์ ตามตำราโบราณ สร้างเป็นพระพิมพ์ บรรจุเข้าเตาอบเผาไฟ ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง เนื้อละเอียดนุ่มจัดด้วยแก่ว่านผสมไว้มาก มีแร่ดอกมะขามเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เท่าปลายเข็ม ประดับแต้มลอยเด่นขึ้นบนผิว ขี้กรุเป็นคราบดินบางๆเคลือบบนผิว มีราดำเป็นหย่อมๆประปรายเล็กน้อยด้านหน้า
ขนาด ฐานกว้าง 1.7 ซม. สูง 2.7 ซม. ขอบสันกรอบหนา 0.2 ซม.

พุทธคุณ
เมตตามหานิยม โชคลาภจากทรัพย์สินเงินตรา คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ แคล้วตลาดจากอุบัติภัยทั้งปวง เป็นที่ประจักษ์แล้ว นับว่าใครมีพระนางกำแพงกรุใดก็ตาม นับว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

อาราธนาวิธี
จากตำนานลานเงิน ได้กล่าวถึงอาราธนาวิธี สำหรับพระเมืองกำแพงเพชร ดังนี้
1.ให้ถวายพรพระ แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณฤๅษีที่ทำไว้นั้นเถิด ไว้อุปเท่ห์ ดังนี้
2.แม้อันตราบเท่าใดก็ดี ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
3.ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่ในน้ำหอม เข้าด้วย นวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
4.ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศัตราวุธทั้งปวง เอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ สก 3 ที 7 ที แล้วใส่ขันสำริด อธิษฐานตามความปรารถนาเถิด
5.ถ้าผู้ใดมาคุกคาม เอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลู ทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
6.ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัว เอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวคุณ 7 ที
7.จะค้าขายดี ไปทางบกและทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วย พาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยคุณ อิติปิโสภะกูราติ 7 ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
8.ถ้าจะให้สวัสดีสถาพรทุกวัน ให้เอาดอกไม้ ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใด ก็ได้ทุกอันแล
9.ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดี พระว่านก็ดี พระปรอทก็ดีเหมือนกัน อย่าประมาทเผลอ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
10.ถ้าจะให้ความสูญ เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย 11 เส้น(หมายถึงพระฤๅษี 11 ตน) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนถวายพระ อธิษฐานตามความปรารถนาเถิด
11.ถ้าผู้ใดสระหัว ให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด 
ทะธิวิ ผะมะ อะมะพะ ปะติพะมังคะลัง อะสังวิสุโลปุสะพุภะ  แล้วว่า นะโมไปจนจบ แล้วว่า
พาหุง แล้วว่า อิติปิโสภะกูราติ นะหะเชยมังคะลัง แล้วว่า พระเจ้า 16 พระองค์ เอาทั้งคู่
กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเถ ตามแต่จะเสกเถิด 3 ที 7 ที วิเศษนัก ถ้าผู้ใดรู้คาถานี้แล้ว อย่าได้กลัวอันตรายใดเลย ท่านตีค่าไว้ควรเมือง จะไปรบศึก ก็คุ้มได้สารพัด แล


พระนางกำแพง องค์อื่นๆ


พระนางกำแพง พิมพ์เล็ก กำแพงเพชร วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น