พระนางกำแพงสามเหลี่ยม
ดินเผา พิมพ์มาตรฐาน
พระนางกำแพงสามเหลี่ยม
ดินเผา พิมพ์จิ๋ว
พระนางกำแพงสามเหลี่ยม เนื้อชินรัชตาภร(ชินเงิน)
พระนางกำแพงสามเหลี่ยม
พิมพ์ตื้น กรุเจดีย์ลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร เนื้อดินเผา
พิมพ์มาตรฐานและพิมพ์จิ๋ว เนื้อชินรัชตาภร
ถ้าเป็นกรุของกำแพงเพชร
กรุใดที่ขุดแล้วไม่มีพระนางกำแพงเห็นจะยาก พระนางกำแพงแต่ละกรุก็มีพิมพ์ของตนเอง
พระนางำแพงพิมพ์มาตรฐาน คือพระนางกำแพงพิมพ์ตื้น รายละเอียดสวยงามมาก
ขนาดเล็กกำลังใช้ ใช้ได้ทั้งชายและหญิง มีเนื้อดินเผาสีแดง สีดำ
สีดำอมเขียวสีนี้เกิดจาการฝังกรุที่มีน้ำซึมผ่านได้ง่าย คราบขี้กรุทำให้เกิดสีเขียวอมดำ
พุทธลักษณะ
1.องค์พระปฏิมากรประทับนั่งราบปางมารวิชัย
พระพักตร์ทรงผลมะตูม พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นมวยเล็ก พระเกศรูปดอกบัวตูม
พระพักตร์เรียบเกลี้ยง ปรากฏเพียงพระเนตรรางๆ ไม่ปรากฏพระกรรณ พระสอเป็นร่องตื้น
2.พระอุระอวบเป็นกล้ามใหญ่
พระอังสากว้าง พระอุทรเรียวคอดเป็นลอน พระพาหาทอดลงกางออกเล็กน้อยข้างลำพระองค์
พระกรขวาหักพระกัประ ยกพระหัตถ์วางกุมพระชานุลักษณะเช่านอก พระกรซ้ายหักพระกัประโค้งเข้าในพระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
3.ประทับนั่งราบ
พระเพลากว้าง พระชงฆ์และพระบาทขวาวางราบเกยบนพระชงฆ์ซ้าย
บนอาสนะยกลอยเป็นเส้นหวายผ่าซีชั้นเดียวยาวตลอดพระเพลา ไม่ปรากฏผ้าปูรองนั่ง
เป็นเพียงร่องตื้นเหนืออาสนะ
4.องค์พระปฏิมากร ออกแบบเป็นประติมากรรมนูนต่ำลอยองค์
ประดิษฐานอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านพระปฤษฎางค์เป็นพื้นผนังแบนเรียบ
ไม่มีเครื่องประดับตกแต่ง เน้นความบริสุทธิ์แห่งองค์พระ ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ
ปรากฏลายนิ้วมือกดพิมพ์เล็กน้อย
ความหนาของพระพิมพ์จัดว่าเป็นพระเครื่องดินเผา ที่บางที่สุด
ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง
ศิลาจารึกนครชุม(ทุ่งเศรษฐี)
และจารึกแผ่นลานเงิน กำหนดารสร้างพระเครื่องของกำแพงเพชรว่า สร้างในปี พ.ศ.1900
อันเป็นปีที่พระมหาธรรมราขาลิไท สถาปนาวัดพระบรมธาตุ นครชุม
ได้จัดสร้างพระเครื่องบรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์ มีอายุการสร้างถึงปัจจุบัน 600
กว่าปี เปิดกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อปีพ.ศ.2392 เป็นครั้งแรก
ต่อจากนั้นได้มีการขุดหาพระกำแพงตามกรุต่างๆ ณ ลานทุ่งเศรษฐี นครชุมเรื่อยมาอย่างกว้างขวาง
ปีพ.ศ.2470 การขุดค้นพระเครื่องเป็นไปอย่างจริงจัง จนปีพ.ศ.2520
พระเครื่องกรุทุ่งเศรษฐี ได้เริ่มมีผู้สนใจเสาะหากันมากยิ่งขึ้น
พระพิมพ์นางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์ตื้นนี้ เป็นพระพิมพ์สกุลกำแพงเพชร
ศิลปะสุโขทัยคลาสสิกยุคกลางมีศิลปะเชียงแสนคลาสสิกเกศรูปดอกบัวตูม
ป้อมสั้นเข้ามาผสมอยู่ด้วย ทำให้พระนางกำแพงนั้น คือพุทธศิลป์
ยอดปฏิมากรรมโบราณอันสูงค่าซึ่งศิลปินแห่งสกุลช่างกำแพงเพชรได้จินตนาการผนึกไว้ในพระพิมพ์นี้ด้วยศิลปะ”สุโขทัย”
ไว้อย่างยอดเยี่ยมงดงามยิ่ง
มวลสารและวัสดุใช้สร้าง
เนื้อดินเผา วัสดุส่วนใหญ่คือดินละเอียด
มีแร่ดอกมะขามปนอยู่ด้วย บดและกรองเอาเม็ดกรวดแร่ออกหมด
ผสมว่านพืชที่มีคุณวิเศษตามตำราโบราณ สร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผาสีแดง
เนื้อละเอียดนุ่มจัดเป็นด้วยแก่ว่านผสมไว้มากจึงดูนุ่มนวลกว่าพระพิมพ์แบบอื่น
ปรากฏแร่ดอกมะขามเป็นจุดแดงเล็กๆลอยขึ้นบนผิว
ขี้กรุเป็นคราบดินสีเทานวลฉาบติดบนผิวตามซอกลึก
พิมพ์มาตรฐาน ฐานกว้าง
1.8 ซม. สูง 2.6 ซม. หนา 0.3 ซม.
พิมพ์จิ๋ว ฐานกว้าง 1.3
ซม. สูง 1.7 ซม. หนา .3 ซม.
เนื้อชินรัชตาภร
คือชินเงิน เป็นส่วนผสมของตะกั่วกับดีบุก
หลอมรวมเข้าด้วยกันสร้างพระพิมพ์รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
พุทธลักษณะเหมือนกับเนื้อดินเผา มีสนิมกาฬภัสสร์บนผิว
เป็นสนิมตีนกามีวรรณะสีดำเข้มจัดเป็นเงามัน ปกคลุมด้วยสนิมวปาภัสสร์ เกิดจากหินปูนในดินผสมเข้ากับสนิมของเนื้อชิน
จับตัวแน่นหลายชั้นหนาติดกันเป็นพืด กลายเป็นสนิมมีไขแข็งแกร่ง
ยาแก่การทำความสะอาดขูดแคะออก
ขนาด ฐานกว้าง 1.8 ซม.
สูง 2.6 ซม. หนา 0.4 ซม.
พุทธคุณ
กฤตยาคมอันกึกก้องจากของขลังในลานทุ่งเศรษฐีนี้ทั้งหมด 80%
ประสบการณ์ปรากฏแก่ผู้ใช้ มักได้รับแต่ในด้านเมตตามหานิยม
เรื่องโชคลาภจากทรัพย์สินเงินตรา นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องน่าแปลใจคือ
พระนางกำแพงได้เคยมีผู้ประสบอุบัติเหตุมาแล้ว ถึงขนาดรถคว่ำมีผู้คนตายเกลื่อนกลาด
แต่ผู้ที่ห้อยพระนางกำแพงกลับมิได้รับลาดแผลแต่ประการใดเลย
จึงนับว่าคุณวิเศษของพระนางกำแพงมิใช่มีดีเฉพาะทางมหานิยมโชคลาภเท่านั้น
แม้การปกป้องชีวิตท่าน ก็สามารถช่วยเราได้ด้วยเช่นกัน
พระนางกำแพง องค์อื่นๆ
พระนางกำแพง พิมพ์ใหญ่ ดินเผา
กรุวัดเจดีย์กลางทุ่ง(นครชุม) กำแพงเพชร วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
พระนางกำแพง
พิมพ์เล็ก กำแพงเพชร วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น