วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระกลีบบัว หรือพระนางกำแพงกลีบบัว เศียรแฉก เนื้อดินเผา กรุลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) จังหวัดกำแพงเพชร

 

พระกลีบบัว หรือ พระนางกำแพงกลีบบัว เศียรแฉก เนื้อดินเผา กรุลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) จังหวัดกำแพงเพชร

พระพิมพ์ที่ขึ้นชื่อลือชาอีกพิมพ์หนึ่งของเมืองกำแพงเพชรคือ พระนางพญากำแพง หรือที่เรียกสั้นๆง่ายๆว่า “พระนางกำแพง” ด้วยเป็นพระที่ขึ้นจากกรุจำนวนมาก ทั้งในและนอกทุ่งเศรษฐี กระจานมาจนถึงเขตติดต่อ เช่นตากและสวรรคโลกเป็นเอกลักษณ์แห่งคำว่า นางพญาแห่งกรุงสุโขทัย ก่อนที่จะเกิดพระนางพญาสกุลช่างอยุธยา เมืองพิษณุโลกในห้วงเวลาต่อมา
พระนางกำแพงมีทั้งรูปแบบทั่วไปและรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เช่น เม็ดมะลื่น เม็ดมะเคล็ด หรือกลีบบัว สำหรับพระนางกำแพงกลีบบัวนี้ จากอดีตจนถึงปัจจุบันได้รับความนิยมต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่พระนางกำแพงกลีบบัวที่ออกมาจากกรุจำนวนมากมายมหาศาล เมื่อมีการลักลอบขุดกรุเมืองกำแพงเพชรยังเลื่องลือ ทำเป็นจำนวนมหาศาลให้แก่นักขุดจนกลายเป็นเศรษฐีย่อยๆไปตามกัน และมีพระพิมพ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดสะท้อนศิลปะสุโขทัย
พระนางกลีบบัวนั้น รูปทรงกรอบส่วนมากจะตัดเหมือนกลีบดอกบัวบานปลายแหลมและส่วนท้ายที่ติดกับดอกจะมนงดงามจนยากจะบรรยาย และมีจำนวนน้อยกว่าพิมพ์แบบอื่น  ในพิมพ์ทรงอันงดงามนี้ยังมีพระนางกำแพงกลีบบัวที่หายากและเป็นที่เสาะหาของนักเลงพระทั่วไป คือ พระนางกำแพงกลีบบัวเกศแฉกนั่นเอง

พุทธลักษณะ
1.องค์พระประทับนั่งราบปางมารวิชัย พระเศียรโตป้าน พระศกโล้นเรียบ พระเมาลีต้นเห็นลางๆ พระเกศเป็นพุ่มใหญ่สูงยาวแยกเป็นแฉก นั่นคือเกศของพระพุทธรูปสุโขทัย ลักษณะเป็นเปลวเพลิงอันงดงาม  วงพระพักตร์รูปไข่เกลี้ยงเรียบไม่ปรากฏรายละเอียดรวมทั้งพระกรรณด้วย พระศอเป็นร่องตื้น
2.พระอังสากว้างสมส่วน พระอุระนูนอวบเล็กน้อย ครองจีวรแนบเนื้อห่มดองเปิดไหล่ขวา เส้นจีวรเป็นร่องพาดโค้งลงใต้พระถันขวา พระกฤษฎีเรียวคอดไม่มีลอนท้อง พระพาหาทอดลงข้างลำพระองค์ พระกรขวายกขึ้น เฉียงลงแนบพระอุทร พระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
3.ประทับนั่งราบ พระเพลาใหญ่กว้าน พระชงฆ์และพระบาทขวา วางซ้อนบนพระชงฆ์ซ้าย ประทับนั่งบนบัลลังก์ฐานเขียงเป็นเส้นหวายผ่าซีกยาวตลอดใต้พระเพลา
4.องค์พระเป็นประติมากรรมนูนต่ำ ประดิษฐานอยู่ภายในกรอบรูปกลีบดอกบัวบาน ด้านพระปฤษฎางค์ขององค์พระเป็นผนังแบนพื้นเรียบ ไม่มีเครื่องประดับตกแต่ง ด้านหลังพระพิมพ์นูนโค้งเล็กน้อยแบบหลังเต่าผิวเรียบมีรอยกดพิมพ์เป้นคลื่น

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
เมื่อสิ้นยุคของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท พระราชโอรสองค์โตขึ้นครองราชย์ ในขณะที่สุโขทัยเป็นศูนย์แห่งพระพุทธศาสนาในแผ่นดินตอนเหนือของประเทศไทย ศิลปะสุโขทัยหลั่งไหลเข้าสู่กำแพงเพชร เกิดเป็นสกุลช่างประยุกต์  เป็นศิลปะแห่งพระบูชาและพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เรียกกันติดปากว่า “ศิลปะสุโขทัย ในพระกำแพง” อันเป็นสุดยอดแห่งความงามที่มีความแตกต่างไปจากพุทธศิลป์ของสุโขทัยบริสุทธิ์ พระกรุในเมืองกำแพงเพชรมีมากมายหลากหลายกรุ แต่ละกรุได้สะท้อนภาพของงานศิลปะออกมามากมายตามจินตนาการของช่างศิลปินรังสรรค์ขึ้น พระนางกำแพงกลีบบัวเกศแฉกนี้ก็เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งในจำนวนนี้ด้วย มีอายุถึงปัจจุบันราว 600 กว่าปี

มวลสารใช้สร้าง
เนื้อดินเผา วัสดุสาวนใหญ่เป็นดินละเอียดมีแร่ดอกมะขามปนอยู่โดยธรรมชาติ บดกรองเป็นเม็ดกรวดแร่ก้อนโตออกหมด ผสมว่านพืชมีคุณวิเศษตามตำราโบราณ สร้างเป็นพระพิมพ์รูปกลีบบัว เข้าบรรจุในภาชนะเข้าเตาอบเผาไฟ จนได้พระดินเผาสีแดงเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม มีแร่ดอกมะขามถูกความร้อนละลายเป็นจุดสีแดงเล็กๆในเนื้อดินประแต้มลอยขึ้นบนผิวขี้กรุ เป็นผงดินละเอียดสีเหลืองเทานวล เคลือบติดตามซอกลึกรวมทั้งราดำจุดเล็กๆ งอกขึ้นตามผิวกระจายเป็นหย่อมๆทั่วทั้งองค์ แสดงถึงความมีอายุยาวนานของพระพิมพ์เป็นไปตามธรรมชาติ ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถปลอมแปลงได้
ขนาด ฐานกว้าง 1.8 ซม. สูง 2.0 ซม. หนา 0.6 ซม.

พุทธคุณ

พระเครื่องกำแพงเพชร โดยเฉพาะเนื้อดินเผานั้น เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่า มีอานุภาพยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยม และโชคลาภ


พระกลีบบัว องค์อื่นๆ






วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระนางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์เศียรโต กรุวัดพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร เนื้อดินเผาสีดำ เนื้อชินรัชตาภร

 
พระนางกำแพงสามเหลี่ยม เนื้อดินเผาสีดำ

 
พระนางกำแพงสามเหลี่ยม เนื้อชินรัชตาภร

พระนางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์เศียรโต กรุวัดพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร เนื้อดินเผาสีดำ เนื้อชินรัชตาภร

พุทธลักษณะ
1.องค์พระประทับนั่งราบ ปางสะดุ้งมาร พระเศียรกลมโต พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นมวยเล็ก พระเกศรดอกบัวตูม พระพักตร์รูปไข่ ปรากฏพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระกรรณกลืนหายไปกับพระปราง พระศอเป็นร่องตื้น
2.พระอุระอวบใหญ่แบบนักกล้าม พระอังสากว้าง พระกฤษฎีคอด พระอุทรเป็นลอน พระพาหาทอดลงกางออกเล็กน้อยข้างลำพระองค์ หักพระกัประยกพระกรขวาขึ้น พระหัตถ์วางกุมพระชานุในลักษณะเข่านอก หักพระกัประยกพระกรซ้ายเฉียงลง เข้าในพระหัตถ์วางหงายบนพระเพลา
3.ประทับนั่งราบ พระเพลากว้าง  พระชงฆ์ขวาวางราบหงายพระบาทบนพระชงฆ์ซ้ายบนอาสนะ เป็นเส้นทึบตันชั้นเดียวยาวตลอดช่วงพระเพลา
4.องค์พระเป็นปฏิมากรนูนต่ำ ประดิษฐานภายในรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านพระปฤษฎางค์เป็นพื้นผนังแบนเรียบไร้เครื่องประดับตกแต่ง ส่วนด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ ความหนาของสันกรอบพระพิมพ์ดินเผาบางที่สุด เช่นเดียวกับพระนางกำแพงพิมพ์ตื้น และพระนางกำแพงพิมพ์ลึก

ยุคสมัยและผู้สร้าง
พระนางกำแพง เป็นพระพิมพ์สกุลกำแพงเพชร ศิลปะสุโขทัย จัดสร้างราวพุทธศตวรรษที่19 อายุถึงปัจจุบันราว 600 กว่าปี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยช่างปฏิมากรชาวกำแพงเพชร เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ขึ้น เป็นพระเครื่องตระกูลนางกำแพงสามเหลี่ยม บรรจุตามกรุพระเจดีย์วัดต่างๆบริเวณลานทุ่งเศรษฐี เปิดกรุวัดพิกุลหลังจากเปิดกรุวัดพระบรมธาตุไม่กี่ปี พบพระนางกำแพงพิมพ์เศียรโตรวมอยู่กับพระเครื่องพิมพ์อื่นๆด้วย

มวลสารใช้สร้าง
1.เนื้อดินเผาสีดำ เป็นเนื้อดินละเอียดผสมผงว่านพืช สร้างเป็นพระพิมพ์ เผาอุณหภูมิไม่สูง เพียงให้เนื้อดินแค่สุก เป็นสีดำเพื่อรักษาผงว่านไว้มากที่สุด ไม่ให้ถูกเผาเป็นขี้เถ้าหมด ได้พระพิมพ์ดินเผาเนื้อละเอียดเนียนนุ่ม ไม่มีเม็ดกรวดแร่ คราบกรุเป็นดินละเอียดสีเทานวล เคลือบติดบนผิวบางๆ ตามซอกลึก
ขนาดฐานกว้าง 1.6 ซม. สูง 2.4 ซม. หนาสันกรอบ 0.2 ซม.
2.เนื้อชินรัชตาภร (ชินเงิน) เป็นชินโลหะผสมระหว่างตะกั่วกับดีบุกเป็นหลัก หลอมละลายเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียว หล่อเป็นพระพิมพ์ชินแข็ง บรรจุกรุด้วยกาลเวลาอันยาวนาน เกิดสนิมเมจกภัสสร์ เป็นสนิมดำขาบ สีดำคล้ำกร้านๆ ปกคลุมผิวทั้งองค์ รวมทั้งเกิดสนิมวปาภัสสร์  ผิวสนิมขุมที่เป็นหลุมขนมครกทั้งเล็กและใหญ่ เป็นเบ้าลึกลงไปในเนื้อ ในหลุมนั้นมีไขสีขาวนวลบรรจุอยู่ทุกหลุม เหล่านี้เป็นสนิมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับชินรัชตาภร คราบกรุเป็นฝ้าหินปูนสีขาวขึ้นปกคลุมผิวบางๆทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขนาดฐานกว้าง 1.6 ซม. สูง 2 ซม. หนา 0.2 ซม.

พุทธคุณ เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด จากภัยพิบัติทั้งปวง

อาราธนาวิธี
จากตำนานลานเงิน ได้กล่าวถึงอาราธนาวิธี สำหรับพระเมืองกำแพงเพชร ดังนี้
1.ให้ถวายพรพระ แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณฤๅษีที่ทำไว้นั้นเถิด ไว้อุปเท่ห์ ดังนี้
2.แม้อันตราบเท่าใดก็ดี ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
3.ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่ในน้ำหอม เข้าด้วย นวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
4.ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศัตราวุธทั้งปวง เอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภะกูราติ สก 3 ที 7 ที แล้วใส่ขันสำริด อธิษฐานตามความปรารถนาเถิด
5.ถ้าผู้ใดมาคุกคาม เอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลู ทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
6.ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัว เอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวคุณ 7 ที
7.จะค้าขายดี ไปทางบกและทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วย พาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยคุณ อิติปิโสภะกูราติ 7 ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
8.ถ้าจะให้สวัสดีสถาพรทุกวัน ให้เอาดอกไม้ ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใด ก็ได้ทุกอันแล
9.ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดี พระว่านก็ดี พระปรอทก็ดีเหมือนกัน อย่าประมาทเผลอ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
10.ถ้าจะให้ความสูญ เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย 11 เส้น(หมายถึงพระฤๅษี 11 ตน) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนถวายพระ อธิษฐานตามความปรารถนาเถิด
11.ถ้าผู้ใดสระหัว ให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด
ทะธิวิ ผะมะ อะมะพะ ปะติพะมังคะลัง อะสังวิสุโลปุสะพุภะ  แล้วว่า นะโมไปจนจบ แล้วว่า
พาหุง แล้วว่า อิติปิโสภะกูราติ นะหะเชยมังคะลัง แล้วว่า พระเจ้า 16 พระองค์ เอาทั้งคู่
กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเถ ตามแต่จะเสกเถิด 3 ที 7 ที วิเศษนัก ถ้าผู้ใดรู้คาถานี้แล้ว อย่าได้กลัวอันตรายใดเลย ท่านตีค่าไว้ควรเมือง จะไปรบศึก ก็คุ้มได้สารพัด แล


พระนางกำแพง องค์อื่นๆ


พระนางกำแพง พิมพ์เล็ก กำแพงเพชร วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระกำแพงท่ามะปราง ทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร เนื้อชินรัชตาภร (ชินเงิน)

 


พระกำแพงท่ามะปราง กำเนิดขึ้นจากกรุต่างฝั่งทุ่งเศรษฐีทุกกรุ และจากกรุต่างๆในตัวจังหวัดกำแพงเพชรหลายกรุด้วยกัน เช่น กรุวัดพระนอน กรุวัดพระสี่อิริยาบถ กรุวัดอาวาสน้อย เป็นต้น 
พระกำแพงท่ามะปรางมีขึ้นจากรุวัดพระบรมธาตุเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2392 ด้วยพระที่มีฝ้ากรุและไขขาวเกาะกันหนามาก และบางวัดก็เป็นพระผิวดำ ต่อมา พ.ศ.2503ก็พบที่กรุวัดพระสี่อิริยาบถเป็นพระเนื้อชินผิวปรอทขาวทั้งหมด ล่าสุดพ.ศ.2512 พบอีกในย่านใกล้ๆวัดสี่อิริยาบถนั่นเอง พระท่ามะปรางเมืองกำแพงเพชรมีสร้างทั้งชนิดเนื้อดินแก่ว่าน และชินเงิน ซึ่งจะมีทั้งผิวดำและผิวปรอทขาว ที่นิยมกันมาก เป็นชนิดเนื้อชินกรุวัดพระบรมธาตุ วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างล้อม เป็นกรุเก่า และกรุวัดพิกุล กรุชายทุ่งทุกกรุจะเป็นพิมพ์เดียวกันคล้ายกัน น่าจะเป็นฝีมือช่างคนเดียวกัน โดยสร้างหลายครั้ง
พระกำแพงท่ามะปราง เป็นพระพิมพ์ลึกสวยงาม ชัดเจนงดงามกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับของจังหวัดพิษณุโลกต้นแบบ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์และสุโขทัย จะมองเห็นถึงความแตกต่างชัดเจน พุทธคุณก็ไม่ด้อยไปกว่าของพิษณุโลก พระท่ามะปรางจัดว่าของจังหวัดกำแพงเพชร เนื้อชินเป็นพระพุทธปฏิมากร โดยฝีมือช่างกำแพงเพชร รอยเว้าด้านข้างขององค์พระเป็นเส้นย่อจำลองซุ้มของพระพุทธชินราช พระพิมพ์นี้ก็คือพระพิมพ์ พระพุทธชินราชจำลองนั่นเอง จึงได้รับการยกย่องว่า มึความงามเป็นเลิศ งามกว่าพระเครื่องปางประทับนั่งทุกพิมพ์ในประเทศไทย และอยู่ในอันดับ 1 ใน 9 ของพระพิมพ์ยอดขุนพล เนื้อชินเงิน

พุทธลักษณะ
1.องค์พระปฏิมาประทับนั่งราบปางมารวิชัย พระเศียรกลมโต พระศกเป็นตาสี่เหลี่ยม พระเมาลีเป็นมวยเล็ก พระเกศรูปดอกบัวตูมค่อนข้างยาว วงพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรแบบตาเนื้อเหมือนตาจริง พระขนงโก่งโค้ง พระนาสิกเป็นสัน ปลายพระนาสิกใหญ่ พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระศอมีเส้นนูนเป็นปล้องสองเส้น พระโอษฐ์ชัดเจนสวยงามเน้นให้เห็นพระหนุ
2.พระอุระอวบได้สัดส่วน ครองจีวรห่มดองแนบเนื้อ เปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นเส้นนูนโค้งตรงใต้พระถันขวา สังฆาฏิเป็นเส้นคู่พาดยาวลงเหนือพระนาภี  พระกฤษฎีคอด พระพาหาทอดลงอ่อนช้อยข้างลำพระองค์ พระกรขวายกโค้งดังงวงไอยรา พระหัตถ์กางพระดรรชนี วางกุมพระชานุลักษณะเข่าใน หักพระกัประพระกรซ้ายโค้งเข้าในพระหัตถ์ วางหงายบนพระเพลา ปลายพระดรรชนีชี้โค้งขึ้นเกือบจรดพระกรขวา
3.ประทับนั่งราบ พระเพลากว้าง พระชงฆ์และพระบาทขวาวางซ้อนบนพระชงฆ์ซ้าย ข้อพระบาททั้งสองปรากเส้นจีวรนูนชัดเจน ประทับบนบัลลังก์รูปดอกบัวบาน ชั้นบนเป็นฝักบัวมีเกสรเรียงรายโดยรอบ ชั้นล่างเป็นกลีบบัวเล็บช้างห้ากลีบใหญ่แซมด้วยกลีบเล็ก
4.องค์พระเป็นพระพุทธปฏิมานูนต่ำ ประดิษฐานภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีรอยหยักด้านข้างตามรูปองค์พระจำลองตามแบบพระพุทธชินราช ด้านหลังพระพิมพ์เป็นแอ่งโค้งท้องกระทะ มีลายผ้าตาละเอียดที่ใช้กดพิมพ์ ความหนาจะบาง ตามมาตรฐานขิงเนื้อชิน

ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระกำแพงท่ามะปราง เป้นพระสกุลกำแพงเพชร อำนวยการสร้างโดย พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์กรุงสุโขทัย เมื่อพระองค์เสด็จมาสถาปนาวัดพระบรมธาตุ ณ ทุ่งเศรษฐี ในปีพ.ศ. 1900 อยู่ในยุคราชอาณาจักรสุโขทัยกำลังรุ่งเรืองและเจริญถึงขีดสุด โดยช่างชาวกำแพงเพชร บรรจุกรุในพระเจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นครั้งแรก ศิลปะสุโขทัยที่งดงามมากพิมพ์หนึ่ง ปัจจุบันเป้นของหายาไปแล้ว อายุถึงปัจจุบันราว 60 กว่าปี

มวลสารใช้สร้าง
เนื้อชินรัชตาภร (ชินเงิน)เป็นโลหะผสมระหว่างตะกั้งกับดีบุเป็นหลัก หลอมละลายเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียว หล่อเป็นพระพิมพ์ชินแข็ง บรรจุกรุในที่สูงพ้นจากการแช่น้ำ พระที่ออกมาจากรุใหม่ๆจะมีผิวขาวทุกองค์เหมือนอาบปรอทไว้ แต่ความจริงแล้วเป็นผิวของโลหะดีบุกมิใช่ปรอท ถ้าถูกจับต้องบ่อยๆผิวจะดำจากน้ำมันและเหงื่อในมือ จะทำให้ขาววาวเหมือนเดิมไม่ได้ ด้วยกาลเวลายาวนาน จะเกิดสนิมเมจกภัสสร์ เป็นสนิมขุมตื้น มีไขขาวสีนวลอยู่ในขุมนั้นประปรายเป็นหย่อมเล็กๆด้านหน้า รวมมีฝ้าขาวบางๆรวมอยู่ด้วย
ขนาด ฐานกว้าง 2.3 ซม. สูง 3.6 ซม. หนา 0.1 ซม.
พระกำแพงท่ามะปราง มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดินอย่างมากมาย ตามกรุต่างทั้งฝั่งทุ่งเศรษฐีและฝั่งศาลากลาง แต่ชนิดเนื้อดินมีจำนวนน้อยกว่าเนื้อชินมาก

พุทธคุณ
มีคุณวิเศษหลายประการดีเยี่ยมด้านแคล้วคลาด และคงกระพัน เป็นเอกทีเดียว มีประสบการณ์มาแล้ว ส่วนความอลังการและลักษณะทั่งไปน่าจะทำให้มีฐานะมั่นคงจากโชคลาภ และมีมหานิยมด้วย

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พระนางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์ลึก ดินเผาสีแดง กรุวัดพิกุล ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

 


พระนางกำแพงสามเหลี่ยม พิมพ์ลึก ดินเผาสีแดง กรุวัดพิกุล ทุ่งเศรษฐี(นครชุม) กำแพงเพชร

กรุวัดพิกุล เป็นวัดหนึ่งอยู่ในอาณาบริเวณทุ่งเศรษฐี เป็นวัดร้าง เป็นวัดเดียวที่มีชื่อมากในเรื่องพระเครื่องสกุลทุ่งเศรษฐี เช่น พระซุ้มกอ, พระเม็ดขนุน, พระว่านหน้าทอง แม้กระทั่งพระนางกำแพง พระเคราองกรุนี้นอกจากจะมีเนื้อนุ่มจัดแล้ว พิมพ์ขององค์พระเท่าที่ปรากฏแต่ละแบบมักอ่อนไหว สมส่วน งามหาที่ติมิได้ แต่ละองค์จะคงไว้ซึ่งศิลปะสุโขทัย เต็มอิ่มและบริสุทธิ์ทีเดียว

พุทธลักษณะ
1.องค์พระปฏิมา ประทับนั่งราบปางมารวิชัย พระเศียรกลม พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นมวยเล็ก พระเกศารูปดอกบัวตูม พระพักตร์ทรงผลมะตูม ปรากฏพระเนตร และพระนาสิกรางๆ พระกรรณเป็นเส้นกลืนหายไปกับพระปราง พระศอเป็นร่อง
2.พระอุระอวบอูมแบบนักกล้าม พระอังสากว้างใหญ่ พระกฤษฎีคอดกิ่ว พระอุทรเป็นลอน พระพาหาทอดลงกางออกเล็กน้อยข้างลำพระองค์ หักพระกัประ พระกรซ้ายโค้งเข้าในหงายพระหัตถ์วางบนพระเพลา
3.ประทับนั่งราบ พระเพลากว้าง พระชงฆ์และพระบาทขวาวางราบบนพระชงฆ์ซ้าย ยกลอยบนอาสนะเป็นเส้นหวายผ่าซีกชั้นเดียวยาวตลอดช่วงพระเพลา
4.องค์พระเป็นประติมากรรมนูนต่ำลอยองค์ ประดิษฐานภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านพระปฤษฎางค์เป็นพื้นผนังแบนเรียบไม่มีเครื่องประดับตกแต่ง ส่วนด้านหลังพระพิมพ์แบบเรียบ ความหนาด้านข้างสัน กรอบพระพิมพ์จัดว่า เป็นพระเครื่องที่บางที่สุด เช่นเดียวกับพระนางกำแพง พิมพ์ตื้น

ยุคสมัยและผู้สร้าง
ตามหลักฐานจากศิลาจารึกนครชุมหลักที่3 ควบคู่กับใบลานเงินที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมนั้น เป็นข้อมูลบ่งชี้ว่า พระเครื่องต่างๆ รวมทั้ง พระนางกำแพงที่พบในกรุ วัดบรมธาตุเมื่อพ.ศ.2392นั้น ในสมัยสุโขทัยช่วงระยะ พ.ศ. 1900 พระมหาธรรมราชาลิไท ได้เสด็จไปสถาปนาวัดพระบรมธาตุ ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ และบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวเกี่ยวกับพระศาสนาไว้ ณ ที่นครชุมอีกเป็นอันมาก
พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร สมัยเริ่มแรก พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์อำนวยการสร้าง โดยฝีมือช่างชาวกำแพงเพชร เป็นผู้รังสรรค์ผลงานให้เป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ มีความเรียบง่าย เน้นให้องค์พระปฏิมาโดดเด่นที่สุดและสวยงามที่สุด จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพิมพ์ศิลปะสุโขทัยยุคทองและรุ่งเรืองที่สุดที่เรียกว่า “คลาสสิเคิล สุโขทัย พีเรียด” พระนางกำแพงนี้ หลังจากได้เผยโฉมออกจากกรุปฐมฤกษ์เมื่อ พ.ศ.2392 แล้วนั้น ก็เริ่มได้มีการขุดหาพระเครื่องทางฝั่งนครชุมและฝั่งตะวันออกของจังหวัดกำแพงเพชรเรื่อยมา กรุวัดพิกุลก็เป็นกรุหนึ่งได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดบรมธาตุไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างๆเกือบทุกแบบ เช่นเดียวกับกรุวัดพระบรมธาตุนั่นเอง

มวลสารใช้สร้าง
เนื้อดินเผา วัสดุส่วนใหญ่คือดินละเอียด มีแร่ดอกมะขามโดยธรรมชาติ บดกรองเอากรวดแร่ก้อนใหญ่ออกหมด ผสมว่านศักดิ์สิทธิ์ ตามตำราโบราณ สร้างเป็นพระพิมพ์ บรรจุเข้าเตาอบเผาไฟ ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง เนื้อละเอียดนุ่มจัดด้วยแก่ว่านผสมไว้มาก มีแร่ดอกมะขามเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เท่าปลายเข็ม ประดับแต้มลอยเด่นขึ้นบนผิว ขี้กรุเป็นคราบดินบางๆเคลือบบนผิว มีราดำเป็นหย่อมๆประปรายเล็กน้อยด้านหน้า
ขนาด ฐานกว้าง 1.7 ซม. สูง 2.7 ซม. ขอบสันกรอบหนา 0.2 ซม.

พุทธคุณ
เมตตามหานิยม โชคลาภจากทรัพย์สินเงินตรา คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ แคล้วตลาดจากอุบัติภัยทั้งปวง เป็นที่ประจักษ์แล้ว นับว่าใครมีพระนางกำแพงกรุใดก็ตาม นับว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

อาราธนาวิธี
จากตำนานลานเงิน ได้กล่าวถึงอาราธนาวิธี สำหรับพระเมืองกำแพงเพชร ดังนี้
1.ให้ถวายพรพระ แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณฤๅษีที่ทำไว้นั้นเถิด ไว้อุปเท่ห์ ดังนี้
2.แม้อันตราบเท่าใดก็ดี ให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
3.ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงคราม ให้เอาพระใส่ในน้ำหอม เข้าด้วย นวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
4.ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศัตราวุธทั้งปวง เอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ สก 3 ที 7 ที แล้วใส่ขันสำริด อธิษฐานตามความปรารถนาเถิด
5.ถ้าผู้ใดมาคุกคาม เอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลู ทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
6.ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัว เอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวคุณ 7 ที
7.จะค้าขายดี ไปทางบกและทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วย พาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยคุณ อิติปิโสภะกูราติ 7 ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
8.ถ้าจะให้สวัสดีสถาพรทุกวัน ให้เอาดอกไม้ ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใด ก็ได้ทุกอันแล
9.ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดี พระว่านก็ดี พระปรอทก็ดีเหมือนกัน อย่าประมาทเผลอ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
10.ถ้าจะให้ความสูญ เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย 11 เส้น(หมายถึงพระฤๅษี 11 ตน) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนถวายพระ อธิษฐานตามความปรารถนาเถิด
11.ถ้าผู้ใดสระหัว ให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด 
ทะธิวิ ผะมะ อะมะพะ ปะติพะมังคะลัง อะสังวิสุโลปุสะพุภะ  แล้วว่า นะโมไปจนจบ แล้วว่า
พาหุง แล้วว่า อิติปิโสภะกูราติ นะหะเชยมังคะลัง แล้วว่า พระเจ้า 16 พระองค์ เอาทั้งคู่
กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเถ ตามแต่จะเสกเถิด 3 ที 7 ที วิเศษนัก ถ้าผู้ใดรู้คาถานี้แล้ว อย่าได้กลัวอันตรายใดเลย ท่านตีค่าไว้ควรเมือง จะไปรบศึก ก็คุ้มได้สารพัด แล


พระนางกำแพง องค์อื่นๆ


พระนางกำแพง พิมพ์เล็ก กำแพงเพชร วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560