วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระพิมพ์คุปตะ-ทวาราวดี ปางสมาธิ กรุนครปฐม

 

พุทธลักษณะ ปางสมาธิองค์พระประทับนั่งราบขัดสมาธิเพชร บนรัตนบัลลังก์บัวหงายสองชั้น พระสรีระผอมบาง ครองจีวรห่มคลุมบางแนบเนื้อ แขนผอมเรียว พระหัตถ์เรียวเล็ก วางประสานบนหน้าตัก พระบาทใหญ่ พระพักตร์ยาวแบบหน้าชาวอินเดีย พระขนงยาว พระเนตรโปน พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์แบะ พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นต่อมใหญ่ ไม่ปรากฏพระกรรณ ด้านหลังพระเศียร มีประภามณฑลเป็นเม็ดกลม 12 เม็ด เรียงเป็นวงกลมรอบพระเศียรด้านสองข้างรอบองค์พระ ด้านนอกประกอบด้วยแท่นบูชายกสูง มีเสาเป็นปล้องรองรับสองต้น ด้านในชิดองค์พระเป็นฉัตรห้าชั้นมีเสายกสูง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปกลมรี ด้านหลังพระพิมพ์โค้งนูนเรียบมีลายมือตกแต่งพิมพ์โค้งลงขอบพิมพ์โดยรอบ

1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมเป็นดินเหนียว มีกรวดทรายเล็กน้อยบดกรองละเอียดผสมว่าน นวดให้เหนียว พิมพ์แบบ เมื่อเผาแล้ว ได้พระพิมพ์ดินเผาสีน้ำตาล เนื้อแน่นแข็งแกร่ง ไม่มีรอยร้าวหรือหักแตกบิ่น
คราบไคลขี้กรุ เป็นดินโคลน แห้งสนิทจับติดแน่นบนผิวพระพิมพ์ทั้งหน้าและหลัง
ขนาดฐานกว้าง 4 ซม. สูง 5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พุทธศิลป์เป็นแบบผสมศิลปะคุปตะยุคหลังของอินเดีย กับศิลปะทวาราวดียุคต้น สร้างที่เมืองนครปฐม ซึ่งเป็นศูนย์กลางยุคทวาราวดีโบราณต่อจากเมืองอู่ทองสุวรรณภูมิที่ค่อยๆเสื่อมลงราวพุทธศตวรรษที่ 11 อายุ 1,400 ปี ชนชั้นปกครองใช้ศิลปะทวาราวดีสร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผาขึ้น เพื่อสืบต่อพระศาสนา เป็นพระพิมพ์มีชื่อว่า “พระพิมพ์คุปตะ-ทวาราวดี”

พุทธคุณ นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง

2 ความคิดเห็น: