วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระใบปรกโพธิ์หอก เชียงแสน

 

พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ดินเผารูปใบหอก ปางมารวิชัย ครองจีวรแนบเนื้อ เปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดไหล่ซ้าย ปลายสังฆาฏิยาวถึงพระอุระ พระพักตร์อูมนูนคล้ายผลมะตูม ไม่ปรากฏพระกรรณ พระเกศา พระเมาลี เล็กมีเม็ดพระศก พระเกศสั้นเรียวแหลม ประทับนั่งราบบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงายสองชั้น หน้าตักเข่ากว้าง องค์พระผึ่งผายสง่า ไหล่กว้าง แขนขวาทอดเฉียงน้อยๆ พระหัตถ์วางเหนือเข่า แขนซ้ายทอดเฉียงหงายพระหัตถ์บนพระบาท เบื้องหลังพระเศียรมีซุ้มโพธิ์รับ มีใบโพธิ์นูนเด่นอยู่ภายในกรอบประภามณฑลรูปใบโพธิ์  ด้านหลังพระพิมพ์อูมนูนเล็กน้อย ตกแต่งด้วยนิ้วมือ ขอบโค้งมนบรรจบลงขอบข้างโดยรอบ

1. วัสดุการสร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมประกอบด้วยดินเหนียว กรวดทรายกรองละเอียด ผงศิลาแลง เผาแล้วเป็นดินเผาสีแดง คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีดำคล้ำ เคลือบเป็นฝ้าบางๆตามผิวพระพิมพ์

2. ยุคสมัยและศิลปะการสร้าง พระเครื่องสกุลเชียงแสน มีมากมายหลายแบบ อิทธิพลของศิลปะเชียงแสนจะครอบคลุมนครสำคัญของล้านนาในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง และลำพูนยุคหลัง พระปรกโพธิ์พิมพ์ต่างๆนั้นมีมากมายกว่าพิมพ์อื่นๆ
พระพิมพ์สกุลเชียงแสน สร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-21 มีอายุ 500-1,000 ปี สันนิษฐานตามอายุของการสร้างวัด เจดีย์ต่างๆของอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง (เมืองเชียงแสนโบราณ)

3. ผู้สร้าง พระพิมพ์ดินเผาปรกโพธิ์ใบหอกองค์นี้ เป็นฝีมือช่างโบราณชาวบ้าน ผู้สร้างมีเจตนาสร้างไว้เผื่อสืบพระบวรพุทธศาสนาให้ยืนยาวถาวร บรรจุกรุไว้ในพระวิหาร โบสถ์และเจดีย์ เมื่อมีการสมโภชพระเครื่องเหล่านี้ ก็ได้รับการสมโภชปลุกเสกอยู่ตลอดเวลาจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณเช่นกัน


พุทธคุณ พระเครื่องสกุลเชียงแสน มีพุทธคุณสูงด้านอำนวยโชคลาภ และพุทธานุภาพด้านอยู่ยงคงกระพันเป็นมหาอุตม์ แคล้วตลาดดียิ่งนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น