วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ ปางปฐมเทศนา กรุอู่ทอง อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี

 

พุทธลักษณะ ปางปฐมเทศนา (นั่งเมือง) องค์พระประทับนั่ง ห้อยพระบาทบนรัตนบัลลังก์ยกสูง พระบาทสองข้างวางบนฐานรูปดอกบัวบานชั้นเดียว พระสรีระคล้ายมนุษย์จริง ครองผ้าห่มคลุม กลีบจีวรเป็นริ้ว พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ พระพักตร์แบนกว้าง พระขนงยาว พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีทำเป็นเม็ด ไม่มีพระเกศ ประภามณฑลเป็นวงกลมด้านหลังพระเศียร ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปใบพาย ด้านหลังพระพิมพ์แบนอูมโค้งเล็กน้อย ปรากฏลายนิ้วมืออยู่ทั่วไป

1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์ ส่วนผสมเป็นดินเหนียวบดกรองละเอียด ปราศจากเม็ดกรวดทราย ผสมว่าน นวดให้เหนียว เหมือนทำเครื่องเคลือบเซรามิค เมื่อเผาแล้วได้พระพิมพ์ดินเผาสีพิกุล (แดงคล้ำ) แข็งแกร่งไม่แตกหักบิ่นง่ายๆ ด้วยกาลเวลาอันยาวนาน พระพิมพ์จะเกิดริ้วรอยหดเหี่ยวยับย่นทั่วไปและนุ่มเนียน
คราบไคลขี้กรุ เป็นผงดินละเอียด ติดแน่นตามซอกผิวทั่วไปทั้งด้านหน้าและหลัง
ขนาดฐานบัวกว้าง 2 ซม. สูง 6.5 ซม.

2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พุทธศิลป์เป็นแบบผสมศิลปะอมราวดีของอินเดียกับศิลปะทวาราวดียุคต้น สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 อายุ 1,500 ปี เมื่อชาวอินเดียอพยพเข้ามาอาณาจักรสุวรรณภูมิสมัยนั้น ได้นำเอาศิลปะการสร้างพระพุทธรูปมาเผยแพร่ตั้งแต่ศิลปะ คันธาระ มถุระ อมราวดี คุปตะ ปาละ-เสนา ผู้ปกครอง ได้เลือกเอาศิลปะอมราวดีมาผสมกับศิลปะทวาราวดี  สร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผานี้ขึ้น เพื่อสืบต่อพระศาสนา เป็นพระพิมพ์มีชื่อว่า “พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ”

พุทธคุณ นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น