พุทธลักษณะ ปางประทานอภัย
องค์พระประทับนั่ง ห้อยพระบาทบนรัตนบัลลังก์ยกสูง พระบาทสองข้างวางบนฐานรูปดอกบัวบานชั้นเดียว
ครองจีวรห่มคลุม จีวรบางแนบเนื้อ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ พระหัตถ์ซ้ายวางบนหน้าตัก
พระหัตถ์ขวายกขึ้นหงายฝ่าพระหัตถ์เสมอไหล่ พระพักตร์แบนกว้าง พระขนงยาว พระเนตรโปน
พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวจรดไหล่ พระเกศาและพระเมาลีทำเป็นเม็ด
ไม่มีพระเกศ ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปใบหอก ด้านหลังพระพิมพ์อูมนูน ปรากฏลายมือตกแต่งลู่ลงขอบข้างบางเหมอนคมมีด
1.วัสดุใช้สร้างพระพิมพ์
ส่วนผสมเป็นดินเหนียว ผสมกรวดทราย และว่าน บดกรองละเอียด นวดให้เหนียว เมื่อเผาแล้วได้พระพิมพ์ดินเผาน้ำตาล
เนื้อหยาบเล็กน้อย ด้วยกาลเวลาอันยาวนาน ผิวพระพิมพ์จะหดตัว
มวลสารขนาดเล็กจะหลุดออก เกิดหลุมรูพรุนเข็มหมุดทั่วไป คราบไคลขี้กรุ
เป็นผงดินละเอียดบางๆ เคลือบบนผิวทั้งองค์ ด้านหลังมีฝ้าสีดำรารัก
ขนาด ฐานล่างแนวพระบาทกว้าง 2.7 ซม. สูง 5 ซม.
2.ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง พุทธศิลป์เป็นแบบผสมศิลปะอมราวดีของอินเดียกับศิลปะทวาราวดียุคต้น
สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 10 อายุ 1,500 ปี เมื่อชาวอินเดียอพยพเข้ามายังเมืองอู่ทองโบราณ
ศูนย์กลางอาณาจักรสุวรรณภูมิสมัยนั้น ได้นำเอาศิลปะการสร้างพระพุทธรูปมาเผยแพร่ ตั้งแต่ศิลปะ
คันธาระ มถุระ อมราวดี คุปตะ ปาละ-เสนา ผู้ปกครอง ได้เลือกเอาศิลปะอมราวดีมาผสมกับศิลปะทวาราวดี สร้างเป็นพระพิมพ์ดินเผานี้ขึ้น
เพื่อสืบต่อพระศาสนา เป็นพระพิมพ์มีชื่อว่า “พระพิมพ์อมราวดี-สุวรรณภูมิ”
พุทธคุณ
นิรันตรายภัยพิบัติทั้งปวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น