พระขุนแผน พลายคู่ พิมพ์เศียรโต
(ตัดเดี่ยว)
พระขุนแผน พลายคู่ พิมพ์หน้ามงคล
(ตัดเดี่ยว)
พระขุนแผน พลายคู่ พิมพ์หน้ายักษ์
(ตัดเดี่ยว)
พระขุนแผนพลายคู่ กรุวัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์
จังหวัดสุพรรณบุรี
พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย องค์พระประทับนั่งซุ้มเรือนแก้วประดับด้วยกลีบบัวเอกลักษณ์เด่น
แยกเป็นแต่ละพิมพ์
1 วัสดุและทัพสัมภาระการสร้างพระ
พระขุนแผนวัดบ้านกร่าง เป็นเนื้อดินเผาทั้งหมดมีทั้งชนิดละเอียดและชนิดหยาบ
สร้างด้วยดินป่นละเอียดเต็มไปด้วยฝุ่นผงและ แร่ดอกมะขามเป็นหลัก เมื่อเผาแล้วจะได้เนื้อดินสีแดง
การกรองดินมีทั้งละเอียดและหยาบ
จึงมีกรวดแร่อยู่มากทั้งยังมีส่วนผสมของว่านและแกลบ เมื่อเผาแล้วกรวดแร่จะลอยอยู่บนผิวหนาตามาก
อายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี ผิวภายนอกจึงนุ่มเนียนและผุกร่อนรวมทั้งมีดินกรุสีเทาดำเคลือบบนผิวบางๆเป็นหย่อมๆ
2 ยุคสมัยการสร้าง พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง
สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และเป็นศิลปะอยุธยาทั้งหมด มีศิลปะแบบเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ
กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา ที่สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯประมาณพ.ศ.
2137 แต่ขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง สร้างภายหลังเล็กน้อยอายุถึงขณะนี้ประมาณ 400 ปี
การแตกกรุพระขุนแผนดินเผา ถือกำเนิดที่วัดบ้านกร่าง
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีเจดีย์ภายในวัดล้มลงเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2445
มีผู้พบพระอยู่กลาดเกลื่อน เต็มไปด้วยพระขุนแผนพิมพ์ต่างๆจำนวนมากเป็น หมื่นๆองค์
3 ผู้สร้างพระขุนแผนดินเผาพิมพ์ห้าเหลี่ยม กรุวัดบ้านกร่าง
มีศิลปะคล้ายคลึงแบบเดียวกับพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล
จังหวัดอยุธยา ทั้งขนาดและรูปร่างแทบจะถอดแบบมาจากพิมพ์เดียวกัน เมื่อช่างศิลปะต้องการจะสร้างพระบรรจุกรุวัดบ้านกร่าง
และมีแม่พิมพ์ขุนแผนห้าเหลี่ยม แต่ต้องการพระจำนวนมาก มีอยู่พิมพ์เดียวคงไม่พอการใช้งานจึงแกะแม่พิมพ์เพิ่มเติมอีกหลายรูปแบบทั้งแบบเดี่ยวและแบบคู่นับได้มากกว่า
30 พิมพ์ขึ้นไป เมื่อสร้างพระดินเผาเสร็จตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็นำไปบรรจุไว้ในกรุเจดีย์วัดบ้านกร่าง
เพื่อสืบสานต่อพระพุทธศาสนาสืบต่อกันไป
สันนิษฐานว่า ช่างศิลปะผู้สร้าง คงเป็นช่างหลวงชุดเดียวกับที่สร้างพระขุนแผนเคลือบวัดใหญ่จังหวัดอยุธยานั่นเอง
พุทธคุณ ขลังมากด้าน"เสน่ห์" ซึ่งอันที่จริงแล้วกลับยิ่งยง
ด้านแคล้วคลาด คงกระพันมากกว่า
พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น