พระปรุหนังเดี่ยวบัวกลีบ แบบขนมต้ม
กรุวัดปราสาท จังหวัดอยุธยา
พุทธลักษณะ องค์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานสำเภาบัวกลีบ
3
ชั้น (สำเภาเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง) ภายในซุ้มเรือนแก้วล้อมรอบองค์พระพร้อมกับประภามณฑลบนยอดซุ้ม
ภายในประภามณฑลเป็นกิ่งและใบโพธิ์ข้างละ 5 ใบ
1. องค์พระปรุหนังเป็นศิลปะ “แบบขนมต้ม” (นิยมเรียกพระพุทธรูปแบบหนึ่ง
กำเนิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช) ศิลปะองค์พระเป็นเอกลักษณ์เฉพาะอีกรูปแบบหนึ่ง
พิมพ์ฉลุโปร่ง แลดูคล้ายหนังตะลุงที่ฉลุด้วยหนังวัวหรือหนังกระบือ
ลายเส้นจะเท่ากันทั้งซ้ายขวา สร้างด้วยชินเงิน สนิมสีเทาผุกร่อน ล่อนออกเป็นชั้น (ควรลงน้ำมันจันทร์รักษาเนื้อไว้
มิฉะนั้นสนิมจะลุกลามกัดกร่อนไปหมดทั้งองค์) มีร่องรอยการปิดทองมาแต่ในกรุ
ด้านหลังองค์พระเครื่องแบนเรียบ มีร่องรอย ระเบิดผุกร่อนเป็นหย่อมๆ
พระปรุหนังเป็นพระบางมาก จึงหาองค์ที่สมบูรณ์ได้น้อยที่ไม่ชำรุด
ใช้แว่นขยายส่องดูมักจะพบรอยร้าวที่ศอองค์พระ พระหล่อด้วยพิมพ์ประกบ เมื่อหล่อเสร็จแล้วแกะออกจากแม่พิมพ์
จะสกัดเนื้อชินตรงชนวน ด้วยของมีคมด้านล่างสุดขององค์พระ ขนาดกว้างฐาน 3 ซม. สูง 5 ซม.
2 ยุคสมัยการสร้าง พระปรุหนัง กรุวัดปราสาทถือกำเนิดสมัยอยุธยายุคกลาง
(ศิลปะแบบอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 19-22) ถึงจะมีการนำเอาศิลปะของเมืองอื่นมาประยุกต์เข้าไว้ก็ตาม
แต่ช่างผู้ให้กำเนิดพระกรุนี้ได้บอกให้รู้ว่า เขาคือศิลปินของชาวอยุธยา นับจนถึงปัจจุบัน
อายุการสร้างราว 600 ปี
3 ผู้สร้าง ช่างศิลปะชาวอยุธยาได้ประยุกต์ศิลปะแบบขนมต้มเป็นต้นแบบในการสร้างพระปรุหนังเดี่ยวบัวกลีบแบบขนมต้มนี้
บรรจุกรุไว้ที่วัดปราสาท
พระพุทธรูปแบบขนมต้ม ถือกำเนิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศิลปินสกุลช่างไชยาชั้นหลังเป็นผู้สร้างแบบไว้ ในสมัยอยุธยายุคต้น และได้ประยุกต์
เอาศิลปะเชียงแสนรวมเข้ากับ ศิลปะอู่ทอง และศิลปะของนครศรีธรรมราชเอง
นับเป็นการผสมผสานของศิลปะ 3 สมัยรวมเข้าไว้ด้วยกัน
เป็นศิลปะแบบขนมต้ม
4 ศิลปะ “แบบขนมต้ม” ของนครศรีธรรมราช
ดูได้จากพระพุทธรูป จะเห็นพูดพุทธลักษณะ อวบอัด ล่ำสัน สังฆาฏิสั้น
และทำชายซ้อนกันถึง 3 แฉก อยู่ข้างพระอุระ ฐานจะปรากฏเป็นแบบขาโต๊ะ ประดับลวดลายก็มี
การประทับนั่ง มักเป็นปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ชายผ้าทิพย์ห้อยอยู่ระหว่างกลางฐาน เกศเป็นแบบเกศตุ้ม
มองดูเผินๆ คล้ายศิลปะเชียงแสน
พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น