วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์หน้าเทวดา (สิบเอก) สุพรรณบุรี

 

พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์หน้าเทวดา (สิบเอก) สุพรรณบุรี

พุทธลักษณะ ประทับนั่งราบ ปางมารวิชัย ภายในประภามณฑลซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นลวดเส้นเดี่ยวเป็นรัศมีตามรูปองค์พระ ขอบซุ้มส่วนบนประดับด้วยใบระการูปดอกบัวตูม  องค์พระมีพระวรกายผอมเรียว พระเศียรกลม พระเกศาเรียบ พระเมาลีเป็นมวยสองชั้น พระเกศรูปดอกเข็มตูม ไรพระศกเป็นกรอบพระพักตร์ ปรากฏพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ พระกรรณรูปบายศรียาวจรด พระอังสา พระอุระกว้าง พระอุทรคอด ครองจีวรห่มคลุมเปิดไหล่ขวา สังฆาฏิพาดยาวถึงพระนาภี พระพาหา-พระกรขวาทอดลง พระหัตถ์ประคองกุมพระชานุลักษณะเข่าใน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งราบ พระชงฆ์ขวาวางบนพระชงฆ์ซ้ายลักษณะลอยองค์ไม่มีอาสนะ กรอบรูปสามเหลี่ยมกลีบบัว

1.วัสดุใช้สร้าง พระพิมพ์เนื้อละเอียดดินป่นละเอียดเต็มไปด้วยแร่ดอกมะขามเป็นหลัก การกรองดินเป็นชั้นหนึ่งผสมกับว่าน ใส่กาวและน้ำนวดเข้ากันให้อ่อน เหนียวข้นเหมือนดินน้ำมัน ปั้นกดลงแม่พิมพ์แคะออกปาดขอบข้าง ตากให้แห้ง เผาไฟอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ได้พระพิมพ์ดินเผาสีแดง เนื้อละเอียด แข็งแกร่ง ผิวเป็นคลื่นเห็นจะทั่วไป แร่ดอกมะขามเป็นจุดเท่าปลายเข็มกระจายทั่วองค์พระ มีกรวดแร่ลอยบนผิวบางตาไม่มากเหมือนพระเนื้อหยาบ ผิวหนึกนุ่ม คราบไคลขี้กรุเป็นผงดินละเอียดสีเหลืองอ่อนนวลติดตามซอกลึกและเคลือบติดด้านหลังบางๆ ด้านหลังแบนเป็นคลื่นมีรอยเสี้ยนไม้เป็นเส้นยาว กรวดเม็ดเล็กจมผิวเป็นผด
ขนาด กว้างฐาน 3 ซม. สูง 5 ซม. หนาขอบ 6 มม.

2.ยุคสมัยศิลปะและผู้สร้าง เป็นพระพิมพ์สมัยอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 22 อายุราว 400 ปี สร้างในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญที่เสียชีวิตในการศึกสงครามกับทัพพม่า สมัยทำยุทธหัตถีบนหลังช้างกับพระมหาอุปราชาที่ยกทัพเข้ามารุกราน บรรจุกรุ ณ วัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี

พุทธคุณ คงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม


พระขุนแผน (ทุกกรุ) พิมพ์อื่นๆ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น