วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระถ้ำเสือ จังหวัดสุพรรณบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระถ้ำเสือ จังหวัดสุพรรณบุรี
พุทธลักษณะพระถ้ำเสือ พุทธลักษณะเป็นศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-17
พระเกศเป็นปม, เม็ดพระศกกลุ่มใหญ่, พระนลาฏแคบ
พระโขนง (คิ้วลากติดกันเป็นปีกกา, พระเนตรเนื้อ)
หลังพระเนตรนูน พระนาสิกป้าน ริมพระโอษฐ์หนา
จีวรมีทั้งคลุมและเปิดไหล่ สังฆาฏิพาดผ่านหน้าอกยาวถึงสะดือ
ลำพระองค์ผอมบาง, ผนังด้านหลังแบนราบ
พระถ้ำเสือเป็นพระดินเผา มีหลายขนาด ปางมารวิชัย ลอยองค์ ไม่มีอาสนะรองรับ พระบาทขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวา วางพาดที่พระเพลา เห็นนิ้วพระหัตถ์ยาว 4 นิ้ว ชัดเจน ไม่เห็นหัวแม่มือ พระหัตถ์ซ้าย วางหงายที่หน้าตัก
ด้านหลัง อูมนูนโค้งมนเรียบแบบเปลือกไข่ ปรากฏลายมือกดแต่งลางๆ ไม่มีการตัดขอบข้าง จึงมีปีกรอบองค์พระตามธรรมชาติ

1. วัสดุและทัพสัมภาระการสร้างพระ พระถ้ำเสือเป็นพระดินเผา เนื้อหยาบ เนื้อละเอียดมีน้อย ประกอบด้วย เนื้อดินละเอียด มีเม็ดแร่-กรวดมาก ผสมผง เนื้อดินฟ่ามกว่าพระดินดิบ มีลักษณะกร่อน ผุเป็นรูพรุน ภายในมีความแกร่งพอควร ผิวพระเหี่ยวย่น มีฝ้าขาวแทรกอยู่ในร่องผิว ประปรายทั้งด้านหน้า-หลัง มีดินฝุ่น เป็นผงละเอียดปกคลุมอยู่ ผิวภายนอกจึงมีสีเข้ม ขณะที่สีเนื้อในเป็นสีแดงอิฐ
ขนาดองค์พระ มีหลายขนาด ใหญ่กลางเล็ก

2. ยุคสมัยการสร้าง สันนิษฐานว่า เป็นศิลปะทวารวดียุคปลายระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 15-17 อายุถึงปัจจุบันราว 900 ถึง 1,100 ปีมีอายุมากกว่า พระคง พระเปิม ของลำพูน

3. การค้นพบกรุพระ พระถ้ำเสือเป็นพระเครื่องสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-17 มีอายุมากกว่าพระเครื่องทุกกรุ มีเอกลักษณ์ ของตนเองโดยเฉพาะมี 2 ปาง ส่วนมากเป็นปางมารวิชัย พบในถ้ำ ของภูเขาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2487 เด็กหนุ่มชาวบ้าน เนินพลับพลา อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี มีอาชีพ หาของป่าไปหามูลค้างคาว ในถ้ำของ “เขาคอก” บังเอิญพบเสือในถ้ำทั้งคนทั้งเสือ วิ่งกันไปคนละทาง เมื่อเสือไปแล้ว ต่อมาเด็กหนุ่มก็เข้าไปหามูลค้างคาวในถ้ำอีก พบพระดินเผา ปนอยู่กับมูลค้างคาวองค์เล็กๆ 6-7 องค์ ก็เก็บมาบ้าน ไว้บนหิ้งพระ และไม่ได้สนใจ ในที่สุด พระเครื่องก็อันตรธาน หายไป
พ.ศ. 2493 เด็กหนุ่มคนเดิมไปหามูลค้างคาวในถ้ำนี้อีก พบพระดินเผาเหมือนครั้งแรก ร้อยกว่าองค์ ก็เก็บเอาไว้ในบ้าน ต่อมามีถนนตัดผ่านจังหวัดนครปฐม มาอำเภออู่ทอง เลยเข้าจังหวัดสุพรรณบุรีในปี 2500 จนแล้วเสร็จปี 2509 เด็กหนุ่มก็เอาพระออกไปขายที่ตลาดอู่ทอง ในปี 2505 คนชื้อถามว่า ไปเอามาจากไหน ก็ตอบว่า ได้มาจากถ้ำที่มีเสืออยู่ ต่อมาจึงเรียกกันว่า “พระถ้ำเสือ” พระพิมพ์ ทรงดังกล่าว นี้มีการพบอีกหลายกรุ หลายถ้ำ ติดต่อกันมานับ 10 ถ้ำ เป็นเวลากว่า 20 ปี และเรียกกันว่า “พระถ้ำเสือ” เหมือนกันหมด ไม่แยกเป็นกรุเก่า กรุใหม่ เพราะมีอายุเท่ากัน
พระถ้ำเสือแตกกรุ เท่าที่รู้มีดังนี้ (ที่ไม่รู้ยังมีอีกมาก)
1. เขาดีสลัก พบประปราย หน้าถ้ำละมุด ปี 2500
2. วัดหลวง พบที่พื้นดินราบ สิงหาคม-กันยายน 2512
3.วัดหลวง พบครั้งที่ 2, กันยายน 2512
4 วัดเขาดีสลัก พบประปราย จากเจดีย์ยอดเขาพังทลาย สิงหาคม 2516
5 เขาดีสลัก พบประปรายพิมพ์จิ๋ว 2517
6 เขาวง พบ มิถุนายน-กรกฎาคม 2518
7 เขาดีสลัก พบจำนวนมากในถ้ำละมุด สิงหาคม 2535
8 วัดเขาทับทิม 2543
   ฯลฯ
พระถ้ำเสือ เป็นพระที่มีพิมพ์ทรงมากที่สุดของพระเครื่อง แต่ละองค์มีพระพักตร์ต่างๆกัน เคร่งเครียด ดุดัน ปวดร้าว ผิดหวัง สงสัย อิ่มเอิบ ยิ้มแย้มแจ่มใส ฯลฯ

4 ผู้สร้าง พระฤาษีผู้บำเพ็ญภาวนาสมาธิ ได้ฌานสมาธิอภิญญาทรงฤทธิ์ เป็นผู้สร้างบรรจุไว้ในถ้ำต่างๆ ในละแวกอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น