พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า
ชินเงินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิจิตร
เมืองพิจิตรหรือเมืองงามเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดีพงศาวดารเหนือกล่าวถึงเมืองนี้ว่าเมื่อ
“พระยาโคตบอง”
สิ้นอำนาจจากกรุงละโว้ก็ได้ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านโกญทัญญาคาม(โพทะเล)
โดยเลี่ยงเมืองนี้ว่า “นครไชยบวร” จนถึงพ.ศ. 1600 กาญจนบุรีซึ่งเป็นโอรสได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่
“หมู่บ้านสระหลวง” และตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “พิจิตร” ตลอดมา พอถึงพ.ศ. 2006
ตรงกับสมัยอยุธยา เมืองพิจิตรได้ชื่อใหม่ว่า “เมืองโอฆบุรี” ในที่สุด “นครไชยบวร”
เมืองพิจิตร,
เมืองสระหลวง, เมืองโอฆบุรีทั้ง 4
เมืองนี้กลับมาใช้ชื่อว่าเมืองพิจิตรเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2424
สมัยรัชกาลที่ 5 เมืองพิจิตรได้ย้ายมาอยู่ตำบลปากทางจนถึงพ.ศ. 2427
ก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านท่าหลวง ตำบลในเมืองอีกครั้ง คือเมืองพิจิตรปัจจุบันนี้
พุทธปฏิมากรรมของขลังที่ปรากฏขึ้นจากกรุเมืองพิจิตรนั้นส่วนมากเป็นพระเครื่องศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยาพระเครื่องเมืองพิจิตรรู้จักกันดีในวงการพระว่า
“จิ๋วแต่แจ๋ว”
มีชื่อเสียงเลื่องลือโด่งดังมานานแล้วที่มีขนาดเล็กจิ๋วคือพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า, พระพิจิตรเขี้ยวงู,
พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า, พระพิจิตรยอดโถ,
พระพิจิตรเกศคด, พระพิจิตรวัดนาคกลาง, พระพิจิตรผงดำ, พระพิจิตรหลังลายผ้าและอื่นๆเป็นต้น
โดยแต่ละกรุ ต่างก็มากแบบสุดพรรณนา
ทั้งนี้ต่างก็เป็นยอดพระเครื่องที่ทรงไว้ซึ่งพุทธคุณในด้านคงกระพันชาตรี
มหาอุดและแคล้วคลาดที่เชื่อถือได้ดีทีเดียว
ขึ้นชื่อว่า
“พระเครื่องเมืองพิจิตร” แล้วไม่ว่าจะเป็นนักเลงพระหรือไม่ก็ตามเป็นต้องร้องอ๋อ
“พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า” ขึ้นมาทันที
นี่ก็ชี้ให้เห็นว่าจะหาพระเล็กจิ๋วฤทธิ์โตแล้วก็ต้องยกให้พระพิจิตรเขา
พระพิจิตรวิชัยจะมีขนาดเล็กจิ๋วไปหมดไม่ พระองค์ตัวโตๆก็มีเหมือนกัน
เรื่องราวกำเนิดพระเครื่องเมืองพิจิตรนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว( 600 กว่าปี)
ศิลปะที่ปรากฏจึงมีทั้งศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ สุโขทัยตะกวน
อู่ทองปลายและศิลปะอยุธยา สำหรับกรุเมืองพิจิตรมีมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
ที่นิยมกันมากได้แก่ คุรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุท่าฉนวน
กรุวัดโพธิ์ประทับช้างและอื่นๆเป็นต้น
พระเครื่องเมืองพิจิตรมีสร้างไว้ทั้งชนิดเนื้อชิน(
นิยมกันมาก) เนื้อชินแข็ง เนื้อชินเขียว
เนื้อดินและชนิดทำเป็นแผ่นทองแผ่นเงินประกบหน้าไว้ก็มีอีกด้วย
ขึ้นชื่อว่าพระเครื่องเมืองพิจิตรแล้วประมาณร้อยละ 75 พระเกศจะคดยาวเป็นเกลียว
ที่แน่ๆถ้าเป็นพระพิจิตรแล้ว ควรเป็นพระบาง หลังลายผ้าลายโต
ที่เป็นเนื้อชินเขียวควรมีไขวัวสีขาวอมเหลืองขึ้นจับหนาไว้แหละดี
และได้มีการทำปลอมกันมานานแล้วเช่นกันควรระวังไว้ให้มาก
พุทธคุณของพระเครื่องเมืองพิจิตรยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี
ซึ่งได้มีประสบการณ์แก่ผู้นำไปบูชาติดตัวกันมากมายหลายรายเป็นที่เชื่อถือได้มาแล้ว
พุทธลักษณะ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเงิน
1)
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระขนาดเล็กมากเรียกได้ว่าจิ๋วเลยทีเดียวรายละเอียดของพระปฏิมาจึงไม่เด่นชัดเป็นการจำลองพระบูชาขนาดใหญ่โดยย่อเท่านั้น
ลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งราบปางสมาธิบนอาสนะฐานสามชั้น พระเศียรกลม พระศฎา
(ผมที่เกล้ามวย) ยกสูงขึ้น
ระเกดรัศมียาวรูปเปลวเพลิงเรียนโค้ชไปทางด้านขวาขององค์พระ
2)
พระพักตร์รูปไข่ศิลปะสุโขทัย พระศอเป็นลำตรง พระอังสากว้าง พระอุระนูน
พระพาหาทั้งสองทอดลงข้างลำพระองค์ หักพระกัประยกพระกรทั้งสองพับเข้าใน
พระหัตถ์ประสานการวางเหนือพระเพลา ทรงประทับนั่งราบ
พระชงฆ์ขวาวาฬเกยบนพระชงฆ์ซ้ายลักษณะทรงสมาธิเข้าฌานสมาบัติ
3)
องค์พระปฏิมารวมทั้งพระอาสนะ ฐานที่ประทับสร้างเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำประดิษฐานอยู่ภายในกรอบรูปเม็ดข้าวเม่า
เส้นกรอบข้างเป็นเส้นลวดนูนเล็กๆล้อมรอบพอดีกับองค์พระ โดยไม่ต้องตัดกรอบ
มีเนื้อเกินเพียงเล็กน้อยแสดงถึงฝีมือช่างชั้นสูงที่ยอดเยี่ยมกลุ่มหนึ่งเลยทีเดียว
ด้านหลังพระพิมพ์แบนแอ่น เป็นท้องกระทะมีลายผ้าปรากฏตามกรรมวิธีการผลิต
ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระเครื่องสร้างในยุคสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีมีกษัตริย์ปกครองในพุทธศตวรรษที่
18 ตั้งแต่ พ.ศ. 1800 ถึง 1921
เมืองพิจิตรเป็นเมืองอยู่ในปกครองของราชอาณาจักรสุโขทัยจึงได้รับการถ่ายทอดศิลปะสุโขทัยโดยอัตโนมัติพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าจึงถูกสร้างขึ้นเป็นศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ผู้สร้างก็คือนายช่างปฏิมากรรมชาวเมืองพิจิตรนั่นเอง
และประยุกต์ให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเองโดยสร้างให้มีขนาดเล็กจิ๋วเป็นการประหยัดวัสดุที่หายากในสมัยนั้นเพื่อให้ได้พระเครื่องจำนวนมากนับเป็นความฉลาดของช่างเมืองพิจิตรที่สร้างพระเครื่องเหล่านี้โดยที่ช่างสร้างพระเครื่องเมืองอื่นคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว
นำไปบรรจุกรุตามพระเจดีย์สืบต่อพระศาสนาในรูปองค์พระพุทธให้อนุชนรุ่นหลังได้สำนึกได้ว่า
ณ ดินแดนแห่งนี้คือสถานที่พระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ในอดีตกาลจวบจนปัจจุบัน
มวลสารที่ใช้สร้าง
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเนื้อชินเงินสร้างด้วยโลหะ
2 ชนิดเป็นหลักคือตะกั่วกับดีบุกหลอมละลายเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียว
ขณะเป็นของเหลวก็หยอดลงในเบ้าแม่พิมพ์กดประคบด้านหลังขณะอยู่ในพิมพ์ด้วยตุ้มผ้าลายหยาบ
เมื่อโลหะแข็งตัวแล้วแกะออกจากแม่พิมพ์ ได้พระพิมพ์เล็กจิ๋ว
นำมาเก็บรวบรวมไว้ตามจำนวนที่ต้องการ พระพิมพ์ เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ
ผิวภายนอกองค์พระแต่ละองค์จะมีสีขาววาววับดั่งเงินยวง
นำมาเข้าพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญาเสร็จแล้วนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์และสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาสืบไป
เวลาผ่านไป
ต่อมาเมื่อมีการเปิดกรุได้พบเจอพระเครื่องเหล่านี้อยู่ในกรุเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี
สภาพภายในกรุทำให้พระเครื่องเหล่านี้เกิดสนิมขึ้นตามผิวมีสีเทาดำเป็นสนิมตีนกา
รวมทั้งมีไขขาวเป็นฝ้าแทรกขึ้นมาด้วย เหล่านี้เป็นคุณสมบัติของชินเงิน
เมื่ออยู่ในกรุก็ต้องมีขี้กรุเป็นผงดินละเอียด สีนวลเหลืองอ่อนๆ
ติดตามซอกลึกบนผิวบางๆแลดูเป็นธรรมชาติ
พุทธคุณ
คงกระพันชาตรี
แคล้วคลาด มหาอุตม์