พระกำแพงนิ้ว
พิมพ์สองหน้า
พระกำแพงนิ้ว
พิมพ์หลังแบบ
พระกำแพงนิ้ว
พิมพ์หลังยันต์
พระกำแพงนิ้ว เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนะมหาธาตุ
และวัดสนามไชย จังหวัดสุพรรณบุรี
พระกำแพงนิ้วเป็นพระเครื่องขนาดเล็ก
จำลองย่อขนาดจากพระกำแพงศอกสัดส่วนประมาณ 1 ต่อ 10
เท่าพระกำแพงศอกมีเอกลักษณ์ลีลาไปทางซ้ายส่วนพระกำแพงนิ้วลีลาไปทางขวากลับกัน
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระกำแพงนิ้วที่ช่างได้จินตนาการออก
แบ่งไว้อย่างวิเศษทีเดียว ด้านหลังพระ พิมพ์มี 3 รูปแบบคือ
แบบแรก
พิมพ์สองหน้า ด้านหน้าและด้านหลังเหมือนกัน
แบบที่
2 พิมพ์หลังแบบ ด้านหลังเป็นรูปบุ๋มขององค์พระปฏิมามีความลึกเล็กน้อยสมดุลกับด้านหน้าโดยไม่กระทบกระเทือนเลย
และ
แบบที่
3 พิมพ์หลังยันต์ ด้านหลังมียันต์ตัวอักษร เป็นเส้นนูนเล็กๆ
พุทธลักษณะ
1)
องค์พระปฏิมาประทับก้าวย่าง ปางลีลาท่วงทีของพระอริยาบท เยื้องกรายขององค์พระ
ปฏิมานั้นมีลีลาอ่อนช้อยได้ลักษณะ “ตัวเอส”
เป็นอาการที่อ่อนพริ้วงดงามมากยากที่จะบรรยาย ฝรั่งให้ทัศนะถึงการดำเนินลีลาไปข้างหน้าหมายถึงก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
2)
รูปพระเศียรทรงกลมเวียงไปเบื้องขวาเล็กน้อยพระเกศาขมวดพระศกเป็นเม็ดไข่ปลาเล็กๆพระเมาลีเป็นมวยกลมทรงลูกจันทร์
พระรัศมีรูปดอกบัวตูมยอดสูงจรดใต้ยอดซุ้ม พระพักตร์รูปไข่หันตรงไปข้างหน้า ขอบไรพระศกเป็นวง
พระขนงโก่งโค้งติดกันรูปนกบิน กึ่งกลางพระโขนงเป็นเส้นจรดสันพระนาสิก
พระเนตรเหลือบมองต่ำพระนาสิกโด่งงุ้ม ริมพระโอษฐ์ดังคันศร
เหมือนคนจริงจริงพระหนุ(คาง) ยื่นน้อยๆ พระปางอวบอิ่ม ประกันแนบพระปางค่อนข้างตรง
ปลายงอนยาวเกือบจรดพระอังสา พระศอเป็นลอนสามปล้อง
3)
พระอังสาทั้งสองกลมกลึงงดงาม พระพาหาพระกรและพระหัตถ์ซ้ายปล่อยลงอ่อนช้อย
เคลื่อนไหวดุจงวงไอยรางดงามมากยากที่จะหาพระปางลีลาอื่นใดมาเปรียบเทียบได้
ปลายพระดัชนีเรียวยาวลงมาถึงระดับพระชานุ พระพาหาขวาปล่อยลงข้างลำพระองค์
หักพระกัประยกพระกรขึ้น พฤหัสย้ายออกประทับที่พระอุระ พระดรรชนียาวงามคล้ายลำเทียน
4
) พระอุระกว้างเป็นกล้ามเนื้อนูน พระกฤษฎี เรียวคอด พระอุทรเป็นมัดกล้ามสองลอน
พระนาภีบุ๋ม ครองพระจีวรแนบเนื้อห่มดองเปิดพระอังสาขวา
ชายผ้าจีวรเป็นเส้นนูนจากพระอังสาซ้ายโค้งหลง พาดกลางพระอุระมุกเข้าซอกพระกัจฉะ
พระสังฆาฏิเป็นแผ่นภาพจากพระอังสาซ้ายโค้งน้อยๆตามพระจีวรยาวลงเหนือพระนาภีชายตัดตรง
พระอันตรสาวก(สบง) เป็นเส้นนูนสองเส้น
พระโสภี(สะโพก) ด้านขวายุไปข้างหน้า ด้านซ้ายใหญ่กว่าด้านขวา พระชงฆ์ขวาเรียวกลมประทับยืนตรงบนฐาน
พระชงฆ์ซ้ายงอ พระชานุปลายพระบาทแตะที่ฐาน ยุคพระปราษณี(ส้นเท้า)ขึ้นลักษณะเขย่ง ชายพระจีวรด้านหลังทั้งสองข้างอ่อนพริ้วไหว
ด้านขวาทิ้งชายลงมามาจากพระกัประ ด้านซ้ายแลบออกมาจากพระอุระ
ชายล่างสุดคลุมถึงกลางพระชานุทั้งสอง
5)
องค์พระปฏิมาสร้างเป็นประติมากรรมนูนต่ำปางลีลาภายในซุ้มเรือนแก้วประทับยืนเขย่งก้าวย่างคนฐานหน้ากระดานเป็นเส้นเล็กชิ้นเดียวยาวพอดีกับช่วงพระบาททั้งสอง อยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย
6) รอบพระเศียรเป็นซุ้มโค้งเรือนแก้ว
ภายนอกและภายในซุ้มโค้งประดับด้วยกนกใบเทศเล็กๆ เรียงซ้อนกันขึ้นไป ยอดซุ้มเป็นตาสองชั้น
ชั้นบนเล็ก ชั้นล่างใหญ่ มีสายโยงติดกัน สายโยงล่างโยงกับกึ่งกลางยอดซุ้มรูปหยดน้ำ
เนื้อบนไหล่ซุ้มทั้งสองประดับด้วยดอกทานตะวันบานข้างละดอก
มีก้านดอกยาวเอาลงมาติดกับส่วนยอดหัวเสา เหมือนผลมะม่วง ตั้งบนหัวเสารูปพานฐานสูง
รองรับด้วยเสายาวเรียวลงไปจนถึงฐานล่าง
ด้านหน้าโคนเสาประดับด้วยแจกัน เปิดด้วยพุ่มดอกบัวตูม
ทั้งหมดประดิษฐานอยู่ภายในกรอบคู่ขนานสูงยาว ส่วนยอดโค้งบรรจบกันปลายแหลมเล็กน้อย
กรอบล่างใต้ฐานตัดตรง
7)
พระกำแพงนิ้วพิมพ์นี้ สร้างขึ้นมีจำนวนน้อยมาก
มีตำนานกล่าวถึงว่าบรรจุร่วมกรุกับพระกำแพงศอก ในวงการพระเครื่องพบเจอเลย
จะเรียกว่าหายสาบสูญไปเลยก็ย่อมได้
บัดนี้พระกำแพงนิ้วได้ปรากฏขึ้นในยุคชาวศิวิไลซ์ ที่เริ่มต้นในรัชสมัยรัชกาลที่
10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จาก
“พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ซุ้มปรกโพธิ์ได้ปรากฏวงขึ้นแล้วก่อนนี้
ยุคสมัย
ศิลปะและผู้สร้าง
ลานทองจารึกว่า
“ศุภมัสดุ 1269” คำนี้เป็นมหาศักราช
เทียบปีกับพุทธศักราชแล้วตรงกับ พ.ศ. 1890
อันเป็นปีสุดท้ายของพระเจ้าเลอไทย และเป็นปีของพระเจ้าลิไท
ขึ้นครองราชย์กรุงสุโขทัย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5
2 พระองค์นี้ใดพระองค์หนึ่ง เป็นผู้สร้างแล้วนำมาบรรจุกรุที่สุพรรณบุรี
มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
เปิดกรุพบพระกำแพงศอก มีพระกำแพงนิ้วรวมอยู่ด้วย และวัดสนามไชย สุพรรณบุรี
เปิดกรุพบพระกำแพงศอก มีพระกำแพงนิ้วรวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
วัดกำแพงนิ้วสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 19 โดยพระมหาธรรมราชาลิไท
ศิลปะสุโขทัยเมื่อสร้างเสร็จแล้วนำไปบรรจุกรุอังกาบพระกำแพงศอกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุและวัดสนามไชย
จังหวัดสุพรรณบุรี อายุถึงปัจจุบัน 750 ปี
วัสดุใช้สร้าง
พระกำแพงนิ้วเป็นพระเครื่องขนาดเล็กกะทัดรัด
เนื้อชินเงิน ส่วนผสมหลัก คือโลหะตะกั่วกับโลหะดีบุก
หลอมละลายเข้าด้วยกันเนื้อเดียว สร้างเป็นพระพิมพ์
เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆผิวจะมีสีเงินยวงของดีบุก
รวบรวมใส่ภาชนะเช่นโถดินเผานำไปบรรจุกรุ ในองค์พระปรางค์หรือพระเจดีย์
สภาพภายในกรุมีความร้อนเย็นและความชื้นเกิดขึ้นฤดูกาลธรรมชาติ
เมื่อกาลเวลาผ่านหลายร้อยปี สนิมจะเกิดกับเนื้อโลหะทุกชนิดยกเว้นทองคำ
พระกำแพงนิ้วก็เช่นกัน เดิมมีผิวจะเป็นสีเงินยวง
เมื่อเกิดสนิมสีเงินจะค่อยๆจางหายไป เกิดสนิมสีเทาและกลายเป็นสีดำในที่สุด
มันคือสนิมตีนกา และจะมีไขสีขาวบางๆแทรกขึ้นมาด้วยมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชื้นในกรุหรือนอกกรุก็ตาม
กรุใดมีพระกำแพงศอกก็มักจะพบพระกำแพงนิ้วร่วมกรุด้วยเสมอ
ขนาด
ฐานกว้าง 1.3 ซม. สูง 3.7 ซม. หนา 0.2 ซม.
พุทธคุณ
มีชื่อเสียงมาก
เรื่อง “ป้องกันไฟไหม้ได้วิเศษยิ่งนัก”
พระกำแพงศอก พระกำแพงนิ้ว พิมพ์อื่นๆ
พระกำแพงศอก (กำแพงห้าร้อย) เนื้อดิน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น