พระกำแพงศอก ชินเงิน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
พระกำแพงศอกของสุพรรณบุรี
เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่ที่สุดน่าบูชา ควรได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง เพราะ
ศิลปะงดงามยิ่งนัด ปัจจุบันพระกำแพงศอกผู้คนต่างใฝ่หากันมาก
มีค่านิยมสูงขึ้นทุกวันยากแก่กามีไว้ครอบครองได้ พระกำแพงศอกมีอยู่สามวัดเป็นพิมพ์เดียวกันหมด
คือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดสนามไชยและวัดชุมนุมสงฆ์ ของจังหวัดอื่นก็มีพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นพิมพ์เดียวกัน
เพราะพระนครศรีอยุธยาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสุพรรณบุรีอย่างใกล้ชิดและสนิทสนมกันมาก
ถ้าจะพูดถึงศิลปะกำแพงศอกสุพรรณบุรี
ทำไมจึงเป็นศิลปะสุโขทัยไม่เป็นศิลปะอู่ทองและมาอยู่เมืองสุพรรณบุรีได้อย่างไร
พระกำแพงศอกของวัดทั้งสาม
คือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดสนามไชย
และวัดชุมนุมสงฆ์ จะผิดกันบ้างก็เพียงผิว พิมพ์เหมือนกันแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
ขอบเกลียวเชือกใหญ่ หนัก 1,100 – 1,200 กรัม ขอบเกลียวเชือกเล็กหนัก 900 -1,000
กรัม ขอบเรียบหนัก 800 – 900 กรัม
พุทธลักษณะ
1) ท่วงทีของพระอิริยาบถเยื้องกรายของพระปฏิมา
มีลีลาอ่อนช้อยงดงามมากในลักษณะของตัว “เอส”
ซึ่งเป็นพระอาการที่อ่อนพลิ้วยากที่จะอธิบายได้
ฝรั่งให้ทัศนะถึงพระอาการลีลาพระราชดำเนินไปข้างหน้านั้น
หมายถึงก้าวไปสู่ความเจริญ และหมายถึงพาชาติทั้งชาติไปสู่แต่ความเจริญรุ่งเรือง
2) รูปพระเศียรทรงกลมเอียงไปเบื้องซ้ายเล็กน้อย
พระเกศาขมวดคิ้วลูกจันทร์มีเม็ดพระศกโดยรอบ พระเกศเมาลีรูปดอกบัวตูม
ปลายยอดแหลมยาวจรดซุ้ม พระพักตร์มนรูปไข่ตรงไปข้างกน้า
ขอบไรพระศกเป็นวงเหมือนพระจันทร์เสี้ยว
พระขนงโค้งติดกันรูปนกบินกึ่งกลางพระขนงจรดสันพระนาสิก พระเนตรเหลือบต่ำ
พระนาสิกโด่งพองาม ริมพระโอษฐ์คล้ายคันศร ริมพระโอษฐ์ล่างเหมือนริมฝีปากคนจริง
พระหนุ(คาง) ยื่นน้อยๆ พระปรางค์อวบอิ่ม พระกรรณแนบพระปรางค่อนข้างตรง
งอนส่วนปลายนิดหน่อย ยาวเกือบจรดพระอังสา พระศอเป็นสามปล้อง
3) พระอังสาทั้งสองกลมกลึงงดงาม พระพาหา พระกรและพระหัตถ์ขวาปล่อยลงอย่างอ่อนช้อย
พระอาการลีลาเคลื่อนไหวดุจงวงไอยรา
ในท่วงทีงดงามมากยากจะหาพระปางลีลาอย่างอื่นใดมาเปรียบเทียบได้
ปลายพระดรรชนียาวลงมาระดับพระชานุ พระพาหาซ้ายปล่อยลงข้างลำพระองค์
หักพระกัประยกพระกรขึ้น พระหัตถ์ประทับที่พระอุระ เห็นพระดรรชนียาวงามคล้ายลำเทียนอย่างชัดเจน
4) พระอุระกว้างเป็นเนื้อนูน พระกฤษฎีเรียวคอด
พระอุทรเป็นกล้ามสองลอน พระนาภีบุ๋มลง ครองจีวรแนบเนื้อห่มดองเปิดพระอังสาขวา
ชายพระจีวรเป็นเส้นนูนจากพระอังสาซ้ายโค้งลงพาดกลางพระอุระวกเข้าซอกพระกัจฉะ
พระสังฆาฏิเป็นแผ่นพาดจากพระอังสาซ้ายโค้งลงน้อยๆไปตามพระจีวรลงเหนือพระนาภี
ชายพระสังฆาฏิตัดตรง พระอันตรวาสก(สบง)เป็นเส้นนูนสองเส้น พระโสณี(สะโพก)
ด้านซ้ายโย้ไปข้างหน้า ด้านขวาใหญ่กว่าด้านซ้าย พระชงฆ์ซ้ายเรียวกลม
ประทับยืนบนฐาน พระชงฆ์ขวางอพระชานุปลายพระบาทแตะที่ฐานยกพระปราษณี(ส้นเท้า)ขึ้นลักษณะเขย่ง
เพราะเหตุนี้ชาวสุพรรณจึงเรียก “พระกำแพงเขย่ง” กันแทบทั้งนั้น
ชายพระจีวรทั้งสองข้างอ่อนพริ้วไหว ด้านซ้ายคลุมกลางพระกร ทิ้งชายลงมาพับเข้าใน
ด้านขวาแลบออกมาจากพระอุรุชายล่างสุด คลุมพาดพระชานุทั้งสองเหนือข้อพระบาท
5) องค์พระปฏิมาสร้างเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำปางลีลา
อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ประทับยืนเขย่งก้าวย่างบนฐานหน้ากระดานขนาดเล็กยาวพอดีช่วงปลายพระบาททั้งสอง
รองรับด้วยฐานหน้ากระดานขนาดใหญ่สองชั้นยาวจรดขอบพิมพ์
ด้านข้างริมขอบทั้งสองข้างบนฐานชั้นบนมีแจกันข้างละหนึ่งใบตั้งไว้ปักด้วยดอกบัวตูมและดอกบัวบานเป็นพุ่มสูงระดับพระชานุ
พุ่มบนสูงระดับพระกัประตั้งอยู่ด้านหน้าแนบเสา หัวเสาเป็นชั้นมี 2-3
ชั้นคล้ายพานรัฐธรรมนูญ
บนหัวเสาประดับด้วยกนกหัวเสารูปคล้ายผลมะม่วงปักด้วยดอกทานตะวันบานข้างละดอกลอยเด่นเหนือยอดซุ้ม
ซุ้มเรือนแก้วเป็นเส้นลวดนูนใหญ่รูปโค้งซุ้มประตูแบบศิลปะกอธิกของฝรั่ง
รอบซุ้มทั้งภายนอกและภายในเป็นตัวกนกใบเทศประดับลดหลั่นกันไปงดงามมาก
ส่วนปลายล่างของซุ้มเรือนแก้วตวัดงออกเล็กน้อยเชื่อมติดกนกหัวเสา
ยอดซุ้มเรือนแก้วเป็นฉัตรสองชั้น ชั้นบนเล็ก ชั้นล่างใหญ่ ใต้ฉัตรมีสายระโยงระยางติดต่อกัน
สายระโยงใต้ฉัตรชั้นล่างโยงผูกลูกบอลลูนคล้ายผลชมพู่
ภายในมีลวดลายกนกใบผักกูดปะติดกับส่วนกลางยอดโค้งของซุ้มเรือนแก้ว
ทั้งหมดเหล่านี้ประดิษฐานอยู่ภายในกรอบคู่ขนาน ส่วนยอดโค้งบรรจบกันเป็นมุมแหลม กรอบล่างใต้ฐานตัดตรง
ขอบข้างของพระพิมพ์มี 3 ประเภทคือ
ขอบเกลียวเชือกใหญ่, ขอบเกลียวเชือกเล็ก และขอบเรียบไม่มีเกลียวเชือก
ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ และเป็นรูปบุ๋มของพุทธปฏิมาลึกพอสมควร
สมดุลกับองค์พระด้านหน้า ซึ่งไม่กระทบกับลวดลายต่างๆเลย
ยุคสมัย ศิลปะและผู้สร้าง
พระกำแพงศอกสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 สมัยสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาลิไทย พระร่วงองค์ที่ 5ขึ้นครองราชย์เมื่อพ.ศ. 1890
ด้านการพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดกว่ารัชกาลใดๆทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้เองประติมากรรมรูปเคารพและของขลังที่พบจากรุต่างๆจึงงดงาม
และแออัดไปด้วย”ศิลปะแบบสุโขทัยและตะกวน”
ดังนั้นพระกำแพงศอกจึงเป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะสุโขทัยที่คลาสสิกงดงามอลังการประดับตกแต่งด้วยซุ้มเรือนแก้วลักษณะแบบกอธิกของฝรั่ง
โดยพระมหาธรรมราชาลิไททรงมีพระราชโองการให้จัดสร้างขึ้นโดยช่างปฏิมากรในปกครองกรุงสุโขทัย
ไม่ว่าจะเป็นช่างชาวสุโขทัยหรือช่างชาวกำแพงเพชร เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เก็บรวบรวมไว้เพื่อนำไปบรรจุกรุในองค์พระสถูปต่อไป
ในปีพ.ศ.1870 เมืองมอญผลัดแผ่นดินใหม่
ประกาศตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย พระเจ้าเลอไท พระร่วงองค์ที่4
ยกกองทัพไปปราบแต่พ่ายแพ้กลับมา ขณะเดียวกันเมืองอู่ทอง
สุพรรณบุรีอันมีพระเจ้าอู่ทองครองเมืองอยู่มีกำลังทหารเข้มแข็งขึ้น จนถึงพ.ศ.1878
พระเจ้าอู่ทององค์ที่4 ของราชวงศ์อู่ทองขึ้นครองราชย์
เมื่อกรุงสุโขทัยอยู่ในภาวะเสื่อมทางอำนาจ
จำเป็นเหลือเกินที่กรุงสุโขทัยจะต้องเอาอกเอาใจเมืองอู่ทองอยู่บ้าง
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จึงได้นำเอาพระกำแพงศอกที่สร้างเก็บรวบรวมไว้ทั้งหมด
โดยยังไม่ได้บรรจุกรุแต่อย่างใด
นำไปฝากบรรจุกรุในองค์พระปรางค์และสถูปอื่นๆในเมองอู่ทอง สุพรรณภูมิ
เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปะ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ไมตรีอีกทางหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่พบพระกำแพงศอกในกรุใดๆของกรุงสุโขทัยและเมืองในปกครอง
วัสดุใช้สร้าง
พระกำแพงศอก เป็นพระพิมพ์ขนาดใหญ่เนื้อชินเงิน
ส่วนผสมหลักคือโลหะตะกั่วกับโลหะดีบุก
หลอมละลายเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวสร้างเป็นพระพิมพ์ เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ
จะมีผิวเป็นคราบสีเงินของดีบุก เมื่อนำไปบรรจุกรุ
สภาพภายในกรุแต่ละกรุไม่เหมือนกันทั้งความร้อน-เย็นและความชื้น
เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี จะมีสนิมเกิดขึ้นกับเนื้อโลหะ มีสภาพเปลี่ยนไปจากเดิม
ทำให้พระพิมพ์แต่ละกรุมีทั้งผิวเป็นคราบสีเงินของดีบุก ผิวสีดำอมเทา
เนื้อผุกร่อนมีทั้งระเบิดและไม่ระเบิด ตลอดจนมีการปิดทองล่องชาดมาแต่ในกรุอีกด้วย
ที่นิยมกันมาก “ขอบข้างต้องเป็นเกลียวเชือก” (ขอบข้างมีรอยหยักเว้า)
1) กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
ผิวสีขาวหม่น แห้งเชียวอมน้ำตาลน้อยๆ ผิวคราบสีเงินของดีบุกไม่สดใสมีน้อย
อมสีน้ำตาลอ่อนหากจับต้องหรือใช้นานคราบสีเงินนี้จะหมองและหายไป
เกิดสีดำของสนิมตะกั่วขึ้นแทน เนื้อในจะขาวสีเงินยวง ไม่มีการปิดทอง เนื้อแข็งส่วนมากไม่ระเบิด
บางองค์ระเบิดแตกปริ สร้างพร้อมกับกรุวัดสนามไชย
2) กรุวัดสนามไชย สุพรรณบุรี
มีผิวสีคล้ำกว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ คราบสีเงินของดีบุกหายไปหมด ไม่เหลืออยู่เลย ผิวดำคล้ำทั้งๆที่ยังไม่ได้ใช้
เนื้อแข็งผุกร่อน ระเบิดแตกปริ
3) กรุวัดชุมนุมสงฆ์ สุพรรณบุรี ผิวมีคราบสีเงินของดีบุก
ขาวผ่องคล้ายพระกำแพงศอกของวัดราชบูรณะ จังหวัดอยุธยา
บางองค์ปิดทองล่องชาดมาแต่ในกรุ เนื้อแข็งแทบไม่ระเบิดเลย กรุนี้สร้างในสมัยอยุธยา
4) กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา
ผิวมีคราบสีเงินของดีบุกขาวผ่อง เนื้อแข็งไม่ระเบิด กรุนี้สร้างในสมัยอยุธยา
กรุนี้มีพระกำแพงศอกเนื้อดินด้วย
พระกำแพงศอกสร้างครั้งแรกในสมัยสุโขทัยตอนปลาย
โดยพระมหาธรรมราชาลิไท และสร้างสืบต่อมาในสมัยอยุธยาโดยช่างปฏิมากรชาวกำแพงเพชร
นำบรรจุกรุวัดชุมนุมสงฆ์และวัดราชบูรณะ
ภายหลังเมื่อกรุงศรีอยุธยาได้สถาปนาเป็นเมืองหลวงแทนเมืองอู่ทอง
สุพรรณภูมิในสมัยต่อมา
ขนาดฐานกว้าง 10.5 ซม. สูง 32 ซม. หนา 0.5 ซม.
พุทธคุณ
มีชื่อเสียงมาก เรื่อง
“ป้องกันไฟไหม้บ้านได้วิเศษยิ่งนัก”
พระกำแพงศอก พระกำแพงนิ้ว พิมพ์อื่นๆ
พระกำแพงศอก (กำแพงห้าร้อย) เนื้อดิน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น